พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มุ่งเน้นการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาแต่ประการใด ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงใหม่ โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์เลยนั้นจึงมิชอบและแม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้มาก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างได้โดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแขวงวินิจฉัย และหลักการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องและอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงวินิจฉัยมาแล้วเป็นหลักในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่เพียงพอ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังเป็นยุติมาแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยที่มิชอบแม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างอิง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและเป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225, 208(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ในคดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง
คดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องและอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงวินิจฉัยมาแล้วเป็นหลักในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่เพียงพอ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใดๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังเป็นยุติมาแล้ว. จึงเป็นการวินิจฉัยที่มิชอบแม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างอิง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและเป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225,208(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์: ความถูกต้องของคำสั่งศาล
ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายในคดีอาญา
ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์ โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริงศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้น หาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับศาลชั้นต้นในคดีอาญา ทำให้การอุทธรณ์ไม่ชอบ
ในคดีที่จำเลยถูกฟ้องในข้อหายักยอกนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ หรือจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ไว้เป็นของตนโดยทุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายไว้พิจารณา การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตจะเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ไว้เป็นของตนโดยทุจริต จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายไว้พิจารณา การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตจะเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ไว้เป็นของตนโดยทุจริต จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อหาเรื่องวัตถุระเบิดได้ แม้โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่มโทษฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานทำร้ายร่างกายและมีวัตถุระเบิดไว้โดยผิดกฎหมาย แล้วโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขว้างวัตถุระเบิด หากเป็นการกระทำของผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจยกข้อหาเรื่องจำเลยมีวัตถุระเบิดขึ้นวินิจฉัยว่าเป็นความจริงหรือไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีทำร้ายร่างกายและวัตถุระเบิด: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยมิได้ลงมือเอง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานทำร้ายร่างกายและมีวัตถุระเบิดไว้โดยผิดกฎหมาย. แล้วโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานนั้น. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขว้างวัตถุระเบิด. หากเป็นการกระทำของผู้อื่น. ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจยกข้อหาเรื่องจำเลยมีวัตถุระเบิดขึ้นวินิจฉัยว่าเป็นความจริงหรือไม่ได้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานมีวัตถุระเบิดเมื่อข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าจำเลยเป็นผู้กระทำเอง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานทำร้ายร่างกายและมีวัตถุระเบิดไว้โดยผิดกฎหมาย แล้วโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขว้างวัตถุระเบิด หากเป็นการกระทำของผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจยกข้อหาเรื่องจำเลยมีวัตถุระเบิดขึ้นวินิจฉัยว่าเป็นความจริงหรือไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์: เจ้าของทรัพย์ต้องเป็นผู้ร้องทุกข์ หรือได้รับมอบอำนาจ หากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ครอบครองไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำเลยตัดฟันต้นมะขามเทศในที่ดินของมารดา เมื่อมารดาไม่ร้องทุกข์ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์กับจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของทรัพย์ได้
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะ ผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะ ผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย