คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 58

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่อาจอุทธรณ์เรื่องคำฟ้องเคลือบคลุม หากไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นต้น
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมดังเช่นจำเลยร่วมจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้เพราะเป็นข้ออุทธรณ์ที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยร่วมที่เข้ามาตามมาตรา 57: การต่อสู้คดีเรื่องอำนาจฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้หมายเรียกบริษัท อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก) เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต บริษัท อ.จึงเข้ามาในคดีโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ซึ่งตามมาตรา58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้ามาตามมาตราดังกล่าวมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ บริษัท อ.จำเลยร่วมจึงให้การต่อสู้คดีได้ทั้งโจทก์และจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 177 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น จำเลยร่วมจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของจำเลยร่วมที่ถูกเรียกเข้ามาในคดีตามมาตรา 57(3)(ก) และสิทธิในการต่อสู้คดี
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้หมายเรียกบริษัท อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(3)(ก)เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตบริษัท อ.จึงเข้ามาในคดีโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สามซึ่งตามมาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้ร้องสอดที่เข้ามาตามมาตราดังกล่าวมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่บริษัท อ.จำเลยร่วมจึงให้การต่อสู้คดีได้ทั้งโจทก์และจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา177วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนั้นจำเลยร่วมจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ในเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา คำให้การต่อสู้เรื่องอายุความชอบด้วยกฎหมาย การนับอายุความเริ่มจากวันที่จำเลยไม่ชำระเงิน
จำเลยร่วมให้การว่าอายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด2ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2ธันวาคม2528โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าวฟ้องโจทก์ขาดอายุความดังนี้คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ2ปีและอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดเพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายคำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วเมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้านจะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่คดีมีประเด็นเรื่องอายุความการที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ถมทรายงวดที่4ที่5เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาโจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่1ธันวาคม2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน3วันนับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญาแต่วันครบกำหนดคือวันที่4ธันวาคม2526เป็นวันอาทิตย์วันที่5เป็นวันหยุดราชการจำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่6ธันวาคม2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระโจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่7ธันวาคม2526เป็นต้นไปเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่17มกราคม2529จึงเกิน2ปีคดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญา: การนับอายุความเริ่มจากวันเกิดสิทธิเรียกร้อง และผลของการให้การต่อสู้เรื่องอายุความ
จำเลยร่วมให้การว่า อายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด 2 ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี และอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมาย คำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว เมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้าน จะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่ คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ถมทรายงวดที่ 4 ที่ 5 เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา โจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่ 1 ธันวาคม 2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่วันครบกำหนดคือวันที่ 4 ธันวาคม 2526 เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 5เป็นวันหยุดราชการ จำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระ โจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่ 17 มกราคม 2529 จึงเกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยร่วม: การยื่นคำให้การก่อนครบกำหนดเวลา และผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยเดิม
จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมพร้อมยื่นคำให้การมาก่อนที่จะครบกำหนดเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมได้ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิของจำเลยที่มีอยู่ในขณะที่ตนร้องสอด ไม่อาจถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ขณะที่ร้องสอดเข้ามาเมื่อปรากฎต่อมาว่าจำเลยมิได้ยื่นคำให้การ จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยร่วมเป็นไปในทางที่ขัดสิทธิของจำเลยเดิม ดังนั้นการยื่นคำให้การของจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่ขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 วรรคสอง ศาลต้องรับคำให้การของจำเลยร่วมไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำร้องสอดและการพิจารณาคดีใหม่เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้รับคำร้องสอด
ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้แล้วผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความทั้งสามฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกามีอำนาจสั่งยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้ ในกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) นั้น ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาที่เสียมาทั้งหมดให้แก่คู่ความ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเช็คพิพาท: ศาลวินิจฉัยตามความเป็นจริง แม้ชื่อผู้รับเงินในเช็คเป็นของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าการที่จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ส. เพราะทำตามคำสั่งของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ผู้ร้องสอดร้องสอดว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ดังนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาท ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก. ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุนผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก. ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก. จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเช็คที่แท้จริง: แม้ชื่อผู้รับเงินในเช็คเป็นของโจทก์ แต่หากผู้ร้องสอดเป็นผู้ลงทุนและรับเงินจริง การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าการที่จำเลยนำเงินตามเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของ ส. เพราะทำตามคำสั่งของ ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด ผู้ร้องสอดร้องสอดว่า เงินตามเช็คพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดดังนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่า ใครเป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คพิพาท ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ว่าโจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นผู้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวกับ ก.ก็ตาม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดยืมชื่อโจทก์มาใช้ในการยื่นซองประกวดราคาและทำสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนการลงทุนก่อสร้างอาคารเรียน ผู้ร้องสอดแต่ผู้เดียวเป็นผู้ลงทุน ผู้ร้องสอดมีหลักฐานการรับเงินค่าตอบแทนของโจทก์หลักฐานการจ่ายค่าจ้างให้แก่ภริยาจำเลยในการรับจ้างก่อสร้าง และยังมีพยานบุคคลมาสืบว่าได้รับจ้างผู้ร้องสอดก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อฟังประกอบกับการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ก.ทั้งหมดแทน พฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าโจทก์เป็นเพียงตัวแทนเชิดของผู้ร้องสอด ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนกับ ก. ดังนั้นแม้ ก.จะจ่ายค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารเรียนเป็นเช็คระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อมระบุให้เข้าบัญชีของผู้รับเท่านั้นก็ตาม เช็คดังกล่าวก็เป็นของผู้ร้องสอด จำเลยนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของเงินตามเช็คที่แท้จริงและโจทก์ตกลงให้กระทำได้นั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดีมรดก และขอบเขตการพิพากษาตามคำขอ
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
of 13