คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 58

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมและอำนาจฟ้องในคดีมรดก
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ที่สาธารณสมบัติ, การต่อสู้คดีด้วยข้อเท็จจริง, ข้อจำกัดการฎีกา, การห้ามฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่เป็นการกล่าวแก้ ข้อพิพาทด้วย กรรมสิทธิ์ แม้จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทเป็นของตน กับ ก. สามีก็ตามแต่ จำเลยร่วมขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(2)ซึ่ง ตาม มาตรา 58 วรรคสอง ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดใช้ สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่ง ตน เข้าร่วม และห้ามมิให้ใช้ สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิมดังนั้น จำเลยร่วมจึงต่อสู้ คดีด้วย ข้อต่อสู้ของจำเลย คือต่อสู้ ว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงมิได้กล่าวแก้ เป็น ข้อพิพาทด้วย กรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตาม สำนวนจะไม่ปรากฏว่า ที่ พิพาทอาจให้เช่า ในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือน ละ 5,000 บาทหรือไม่ แต่ที่ พิพาทมิได้ตั้ง อยู่ในทำเลการค้าและจำเลยใช้ ที่ พิพาทปลูกบ้านมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่พิพาทจึงอาจให้เช่า ในขณะยื่นคำฟ้องได้ ไม่เกินเดือน ละ 5,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นคดีจึงต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินสาธารณสมบัติ การต่อสู้คดีของจำเลยร่วม และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยจึงไม่เป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ว่าจำเลยร่วมจะได้ยื่นคำร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมกับสามีก็ตาม แต่จำเลยร่วมขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งตามมาตรา 58 วรรคสอง ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิมดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องต่อสู้คดีด้วยข้อต่อสู้ของจำเลย ที่ว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นข้อต่อสู้ที่มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนจะไม่ปรากฏว่าที่พิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ 5,000 บาทหรือไม่ แต่ที่พิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้าอันจะทำให้ค่าเช่าที่ดินสูงเป็นพิเศษ และจำเลยใช้ที่พิพาทปลูกบ้านอยู่อาศัยมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่พิพาทจึงอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การนับระยะเวลาจากวันที่ทราบผลอุทธรณ์
บ.ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทน โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน คณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529ดังนี้ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเองถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานต้องภายใน 30 วันนับจากวันที่ทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานหลังพ้น 30 วันจากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทำให้ขาดอายุความ
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการจากการกระทำละเมิดของข้าราชการ และการฟ้องคดีเกินอายุความ
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของส่วนราชการต่อละเมิดของข้าราชการ และอายุความฟ้องคดีละเมิด
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน และสิทธิเรียกร้องจากบริษัทประกันภัย
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่เบิกความว่าในการสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าขับรถกลับจากไปรับจ้างบรรทุกดิน ใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ขณะนำรถกลับมาไว้ที่อู่ก็เกิดเหตุขึ้นแม้จะเป็นพยานบอกเล่าแต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่เป็นคำรับของคู่ความ รับฟังได้ การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยแทนจำเลยที่ 2 เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้วจะต้องเริ่มต้นสืบพยานกันใหม่ และแม้ศาลไม่เรียกบริษัทดังกล่าวเข้าเป็นจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องจากบริษัทดังกล่าวได้อยู่แล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเรียกบริษัทดังกล่าวเข้ามาเป็นจำเลยร่วม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการไม่อาจเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหลังสืบพยานเสร็จ
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่เบิกความว่าในการสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าขับรถกลับจากไปรับจ้างบรรทุกดินในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ขณะนำรถกลับมาไว้ที่อู่ก็เกิดเหตุขึ้นแม้จะเป็นพยานบอกเล่าแต่ก็เป็นคำบอกเล่าที่เป็นคำรับของคู่ความรับฟังได้
การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยแทนจำเลยที่ 2 เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นแล้วจะต้องเริ่มต้นสืบพยานกันใหม่ และแม้ศาลไม่เรียกบริษัทดังกล่าวเข้าเป็นจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องจากบริษัทดังกล่าวได้อยู่แล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเรียกบริษัทดังกล่าวเข้ามาเป็นจำเลยร่วม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 13