คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 58

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดิน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะรับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
จ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ป. แล้วร้องขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยในนามของ ป. หลังจากนั้น จ. นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรขายในนามของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงทุนปลูกบ้านลงในที่ดินแต่ละแปลงเป็นการแสดงออกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายทั่วไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมด้วยบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระเงินครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบกุญแจบ้านที่โจทก์ซื้อแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
จำเลยที่ 2 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้จำเลยที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่ ส. ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 3 ในคดีนี้พิพาทกันอยู่ โจทก์ในคดีนี้ได้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและได้ร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมาพิจารณาพิพากษารวมกับคดีนี้ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 ดังนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 คดีนี้หรือไม่จำเลยที่ 2 คดีนี้มีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 3 คดีนี้หรือไม่จึงไม่ได้รับการพิจารณาในคดีดังกล่าว ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าว ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะรับโอนโดยมีค่าตอบแทนและสุจริต
จ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ป. แล้วร้องขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยในนามของ ป. หลังจากนั้นจ. นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรขายในนามของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงทุนปลูกบ้านลงในที่ดินแต่ละแปลงเป็นการแสดงออกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายทั่วไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมด้วยบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระเงินครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบกุญแจบ้านที่โจทก์ซื้อแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
จำเลยที่ 2 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้จำเลยที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่2 จำเลยที่ 3 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่ ส. ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 3ในคดีนี้พิพาทกันอยู่ โจทก์ในคดีนี้ได้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและได้ร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมาพิจารณาพิพากษารวมกับคดีนี้ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 ดังนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 คดีนี้หรือไม่จำเลยที่ 2คดีนี้มีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 3 คดีนี้หรือไม่จึงไม่ได้รับการพิจารณาในคดีดังกล่าว ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าว ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ อันมีค่าเช่าเดือนละห้าร้อยบาท จำเลยให้การว่าบ้านพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของนางล้อมนางล้อมมอบให้จำเลยดูแลแทน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์แม้ต่อมาศาลชั้นต้นให้เรียกนางล้อมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำขอของโจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยร่วมไม่ฎีกา ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีขับไล่ที่จำเลยร่วมไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ อันมีค่าเช่าเดือนละห้าร้อยบาท จำเลยให้การว่าบ้านพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของนางล้อมนางล้อมมอบให้จำเลยดูแลแทน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์แม้ต่อมาศาลชั้นต้นให้เรียกนางล้อมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำขอของโจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยร่วมไม่ฎีกา ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิผู้ร้องสอด และดุลพินิจศาลรวมพิจารณาคดี
ตามคำร้องสอดและคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมเข้ามาในคดีในฐานะเป็นจำเลยร่วม ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 วรรคสอง ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอดดังนั้นเมื่อคดีเดิมมิได้มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านตามฟ้องโดยสุจริตหรือไม่จำเลยร่วมจึงไม่อาจใช้สิทธิตั้งประเด็นข้อนี้ขึ้นใหม่ในคำร้องสอดเพื่อให้ศาลวินิจฉัยในคดีนี้ได้
การสั่งรวมพิจารณาคดีหลายเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาลถ้าจะต้องเลื่อนการพิจารณาไปทำให้ล่าช้าศาลไม่รวมพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะและค่าปลงศพกรณีบุตรนอกสมรส & การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของมารดาผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีหน้าที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตายไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดี – การเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสิทธิ – มาตรา 57(1) vs 57(2) และข้อห้ามตามมาตรา 58
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงขอเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสงวนสิทธิของผู้ร้องโดยจะยื่นคำให้การภายใน 8 วัน นับแต่ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 58 ที่จะใช้สิทธิในทางขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิม ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานศาลย่อมรับคำร้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดี: สิทธิในการต่อสู้คดีเพื่อรักษาสิทธิของตน และการรับคำร้องสอดเมื่อยังไม่มีการสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทเป็นของผู้ร้องจึงขอเข้าเป็นจำเลยเพื่อรักษาสงวนสิทธิของผู้ร้องโดยจะยื่นคำให้การภายใน 8 วัน นับแต่ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 58 ที่จะใช้สิทธิในทางขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิมดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้เมื่อคดียังไม่มีการสืบพยานศาลย่อมรับคำร้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นจำเลยร่วมและสิทธิในที่ดินที่ได้มาจากการซื้อ
จำเลยให้การในคดีฟ้องขับไล่ว่าได้อยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิจาก ก.ก.ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมศาลอนุญาต แม้ศาลไม่รับคำให้การของ ก. จำเลยร่วม ก. ก็นำสืบตามข้อที่จำเลยเดิมให้การไว้ว่า ก. ซื้อที่ดินจาก ต.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นจำเลยร่วมหลังสืบพยานเสร็จสิ้น: ศาลไม่อนุญาตหากไม่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินคดีและไม่มีส่วนได้เสียเพิ่มเติม
เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ระหว่างนัดสืบพยานจำเลย บิดาจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ดังนี้ ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องสอดที่จะเข้ามาในดคี เพราะไม่อาจใช้สิทธิใด ๆ ในการดำเนินคดีนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่เมื่อตนร้องสอด ทั้งจำเลยก็มิได้ร้องขอให้ศาลเรียกผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีตั้งแต่แรก เพื่อผลแห่งคดีที่จะต้องรับผิดร่วมกัน จึงไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาในคดี
of 13