คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 58

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมหลังสืบพยานเสร็จสิ้น ไม่อาจใช้สิทธิเกินกว่าจำเลยเดิม
เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จแล้ว ระหว่างนัดสืบพยานจำเลยบิดาจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมดังนี้ ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องสอดที่จะเข้ามาในคดี เพราะไม่อาจใช้สิทธิใดๆ ในการดำเนินคดีนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่เมื่อตนร้องสอด ทั้งจำเลยก็มิได้ร้องขอให้ศาลเรียกผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีตั้งแต่แรกเพื่อผลแห่งคดีที่จะต้องรับผิดร่วมกัน จึงไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นจำเลยร่วมในคดีขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิผู้ร้องต้องไม่ขัดกับจำเลยเดิม
โจทก์ยื่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกจากตึกรายพิพาท จำเลยมิได้ยื่นคำให้การและศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้วภริยาจำเลยจะร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) หาได้ไม่ เพราะการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความดังกล่าวนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 บัญญัติว่าผู้ร้องจะใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าร่วมหรือในทางที่ขัดกับสิทธิของจำเลยเดิมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นจำเลยร่วมและการใช้สิทธิในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์ยื่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกจากตึกรายพิพาท จำเลยมิได้ยื่นคำให้การและศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้วภริยา จำเลยจะร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยอ้างว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) หาได้ไม่ เพราะการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความดังกล่าวนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 บัญญัติว่าผู้ร้องจะใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าร่วมหรือในทางที่ขัดกับสิทธิของจำเลยเดิมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในคดีละเมิดและอสังหาริมทรัพย์ที่กระทบสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไถคราดและขุดดินถมเหมืองน้ำสาธารณะทำให้โจทก์และบุคคลอื่นซึ่งมีนาอยู่บริเวณนั้น ไม่มีทางระบายน้ำหรือทดน้ำเข้านาได้ โจทก์ห้าม จำเลยเถียงว่าเหมืองน้ำผ่านกลางที่นาของจำเลย จำเลยมีสิทธิกลบถมได้ ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย และพิพากษาแสดงว่าทำนบพิพาท เหมืองน้ำพิพาทและคลองเป็นสาธารณะ คำฟ้องเช่นนี้เป็นทั้งคดีละเมิดและคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
ในระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดร้องขอเข้าเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตน โดยอ้างว่านาที่โจทก์อ้างว่าเหมืองน้ำผ่านเป็นของผู้ร้องสอด จำเลยทำไปโดยอาศัยสิทธิและความเห็นชอบของผู้ร้องสอด ดังนี้ เป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อได้ยื่นคำร้องขอมาถูกต้อง คือ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้
การร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)นั้นแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็หาหมดสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำซึ่งจำเลยขุดดินถมให้มีสภาพเดิม เมื่อผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของนา ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยขุดเหมืองน้ำ ย่อมเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวถึงนาที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของ การที่ผู้ร้องสอดร้องเข้ามาจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของผู้ร้องสอด แล้วพิจารณาคดีไปโดยจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความได้ จะพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับคำร้องสอดไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียด้วยนั้น ยังไม่บริบูรณ์เพราะถ้าหากคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีอยู่ ย่อมไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาด้วย และศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่แล้ว ซึ่งมีผลถึงผู้ร้องสอดด้วย ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิคุ้มครองสิทธิของตน
การร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 นั้น อาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทก็ได้ไม่จำเป็นต้องฟ้องร้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
หากมีการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดหรือทั้งหมด ซึ่งมีส่วนได้เสียในผลของการประชุมใหญ่นั้น ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้หาใช่มีสิทธิเฉพาะบริษัทซึ่งมีการประชุมใหญ่เท่านั้นไม่
เมื่อโจทก์มิได้เริ่มต้นคดีด้วยการร้องขออย่างคดีไม่มีพิพาทแต่กลับฟ้องบริษัทเป็นจำเลย ทางที่ผู้มีส่วนได้เสียจะเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามาด้วยการร้องสอด
ผู้ร้องสอดเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเข้ามาในคดีเพื่อขอความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตนได้ โดยการร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) บริษัทจำเลยจะต่อสู้คดีหรือยอมรับตามคำฟ้องหรือขาดนัดไม่ต่อสู้คดีประการใดก็หาเป็นการตัดสิทธิผู้ร้องสอดไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(2) ไม่อาจใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องสอดจะร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นจำเลยร่วมหรือแทนที่จำเลยตามมาตรา 57(2) ย่อมหาประโยชน์มิได้ เพราะไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งขาดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้น/กรรมการร้องสอดคดีเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ แม้จำเลยขาดนัด
การร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 นั้น อาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทก็ได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องร้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
หากมีการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดหรือทั้งหมด ซึ่งมีส่วนได้เสียในผลของการประชุมใหญ่นั้นย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้ หาใช่มีสิทธิเฉพาะบริษัทซึ่งมีการประชุมใหญ่เท่านั้นไม่
เมื่อโจทก์มิได้เริ่มต้นคดีด้วยการร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทแต่กลับฟ้องบริษัทเป็นจำเลย ทางที่ผู้มีส่วนได้เสียจะเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามาด้วยการร้องสอด
ผู้ร้องสอดเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเข้ามาในคดีเพื่อขอความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตนได้โดยการร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) บริษัทจำเลยจะต่อสู้คดีหรือยอมรับตามคำฟ้องหรือขาดนัดไม่ต่อสู้คดีประการใด ก็หาเป็นการตัดสิทธิผู้ร้องสอดไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(2) ไม่อาจใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องสอดจะร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นจำเลยร่วมหรือแทนที่จำเลยตามมาตรา 57(2) ย่อมหาประโยชน์มิได้เพราะไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งขาดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่อินกับค่าเสียหายจากสัญญาระหว่างโจทก์-จำเลยหลัก แม้ร่วมถูกฟ้อง
โจทก์จ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างคานเรือโดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญาจ้างเหมา โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้ค่าเสียหายตามสัญญาค้ำประกัน และศาลเรียกจำเลยที่ 2 เข้ามาในคดีด้วย ตามคำขอของจำเลยที่ 1 มีผู้อื่นขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยโดยอ้างว่าเป็นผู้รับเหมางานช่วงจากจำเลยที่ 2 อาจถูกไล่เบี้ยได้ ศาลอนุญาต ดังนี้เมื่อฝ่ายจำเลยแพ้คดี ศาลจะพิพากษาให้จำเลยร่วมพลอยต้องร่วมใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยหาได้ไม่ แต่จำเลยร่วมอาจต้องร่วมใช้ค่าธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
ค่าทนายความอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีรับผิดชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่ชนะหรือไม่เพียงใด ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีที่โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีพนักงานอัยการเป็นทนายให้ เมื่อชนะคดี ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าทนายให้ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่อาจต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายจากนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และ 2 โดยตรง ศาลมีดุลพินิจเรื่องค่าทนาย
โจทก์จ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างคานเรือโดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญาจ้างเหมา โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้ค่าเสียหายตามสัญญาค้ำประกัน และศาลเรียกจำเลยที่ 2 เข้ามาในคดีด้วยตามคำขอของจำเลยที่ 1 มีผู้อื่นขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยโดยอ้างว่าเป็นผู้รับเหมางานช่วงจากจำเลยที่ 2 อาจถูกไล่เบี้ยได้ ศาลอนุญาต ดังนี้เมื่อฝ่ายจำเลยแพ้คดี ศาลจะพิพากษาให้จำเลยร่วมพลอยต้องร่วมใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2ด้วยหาได้ไม่ แต่จำเลยร่วมอาจต้องร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
ค่าทนายความอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีรับผิดชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่ชนะหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีที่โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีพนักงานอัยการเป็นทนายให้ เมื่อชนะคดี ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าทนายให้ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดอายุความย่อมสะดุดหยุดอายุความ แม้จะขอเพิ่มทายาทอื่น
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง เป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดสะดุดอายุความ แม้เรียกทายาทอื่นร่วมภายหลัง
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งเป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
of 13