พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายในกำหนด หากมีเหตุสุดวิสัยต้องแจ้งเหตุโดยละเอียดและระบุวันที่ทราบคำบังคับ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 (เดิม) (ปัจจุบัน มาตรา 199 จัตวา, 207) คำขอให้พิจารณาใหม่ ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากาษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย ถ้าคู่ความที่ขาดนัดไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าว โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้าต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 ด้วยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2540 ซึ่งการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้วันที่ 22 ธันวาคม 2540 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 1 มีนาคม 2544 จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาแก่จำเลยที่ 1 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกคนร้ายยิงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2520 จนร่างกายพิการต้องหลบหนีไปอาศัยอยู่ตามวัดแถบภาคอีสานเป็นเวลาหลายปี จำเลยที่ 1 เพิ่งทราบเรื่องที่ถูกฟ้องและทราบว่าศาลออกคำบังคับแล้ว อันเป็นการอ้างเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับเพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับตั้งแต่วันที่เท่าใด เพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วัน ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นได้ ถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้น คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ. เฉพาะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งที่กระทบคำพิพากษาเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ให้ยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่กระทบคำพิพากษาไม่ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยร่วมได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมเพียงแต่กล่าวอ้างว่ามีพยานบุคคลและพยานหลักฐานซึ่งหากนำเข้าสู่การพิจารณาจะทำให้พยานหลักฐานของจำเลยร่วมมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า หากพิจารณาคดีใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องของจำเลยร่วมจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยร่วมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ อุทธรณ์ของจำเลยร่วมดังกล่าวหากศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมและไต่สวนพยานของจำเลยร่วมแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีว่าจะอนุญาตให้จำเลยร่วมพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยร่วมในชั้นนี้จึงไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยร่วมจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านคำพิพากษาชัดเจน มิใช่เพียงกล่าวอ้างว่าเสียเปรียบ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนโดยเห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าผู้รับมอบฉันทะของทนายจำเลยจดวัดนัดผิดพลาดฟังไม่ขึ้น ทั้งคำร้องของจำเลยมิได้แสดงข้อคัดค้านโดยชัดแจ้งซึ่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 207 ให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยเพียงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าไต่สวนโดยไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากจำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าสืบหลังจากโจทก์สืบพยานเสร็จแล้วย่อมมีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป มิได้กล่าวว่าจำเลยมีพยานหลักฐานอย่างใดที่จะนำมาหักพยานโจทก์อันจะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ จึงเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบมาตรา 207 ถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากจำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าสืบหลังจากโจทก์สืบพยานเสร็จแล้วย่อมมีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป มิได้กล่าวว่าจำเลยมีพยานหลักฐานอย่างใดที่จะนำมาหักพยานโจทก์อันจะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ จึงเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบมาตรา 207 ถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการวางเงินค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่กระทบคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบสลากออมสินพิเศษและจดทะเบียนแก้ชื่อผู้มีสิทธิและ/หรือผู้เป็นเจ้าของให้มีชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิและได้รับสิทธิประโยชน์ในสลากออมสินพิเศษเพียงผู้เดียวแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในชั้นนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน และกรอบเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าว และขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด จึงล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงานและการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน กำหนดเวลา 7 วัน
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งเหตุให้ศาลแรงงานกลางทราบ และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ แต่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด ย่อมล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ศาลแรงงานกลางจึงชอบจะมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8374/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดคดีแรงงาน: การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เกินกำหนด 7 วัน ทำให้คำร้องไม่เป็นผล
ศาลแรงงานกลางได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งจดแจ้งรายการแห่งข้อหาและคำขอบังคับให้จำเลยทราบ และคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งให้จำเลยมาศาลในการพิจารณาคดีในวันที่ 8 เมษายน 2546 เวลา 13.00 นาฬิการ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการส่งหมายเรียกกำหนดเวลาในการนัดพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางให้จำเลย และจำเลยได้รับไว้โดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว จำเลยไม่มาตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งเหตุที่ไม่มาให้ศาลทราบ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันนัดพิจารณาคดีว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยประสงค์จะให้มีการพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องมาแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 41 ศาลแรงงานกลางจึงจะมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นของจำเลยที่ไม่อาจมาศาลได้ แต่จำเลยมายื่นคำร้องต่อศาลแรงงานเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2546 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันดังกล่าวแล้ว กรณีนี้เป็นกรณีขาดนัดตามมาตรา 40 วรรคสอง ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ได้บัญญัติถึงกรณีดังกล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ชัดเจนและข้อคัดค้านคำพิพากษาที่ชัดแจ้ง
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยอ้างเหตุแห่งการขาดนัดว่าโจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 138 ไม่ได้เพราะบ้านของจำเลยรื้อถอนไปแล้ว โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 168/11 โจทก์กลับส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและคำบังคับโดยประกาศหนังสือพิมพ์ จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและไม่ได้จงใจขาดนัด เช่นนี้ แม้ข้อกล่าวอ้างของจำเลยจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยื่นคำขอภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ส่วนข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างว่า หากจำเลยเข้าต่อสู้คดีแล้วจำเลยชนะโจทก์อย่างแน่แท้ และศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์ ผลของคำพิพากษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะมูลหนี้ตามฟ้องไม่ใช่มูลหนี้ที่แท้จริง เป็นเพียงการชี้แจงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบมิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนใด ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด ทั้งเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า หากศาลอนุญาตให้มีการพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิจารณาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม และเป็นผลให้จำเลยชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง (เดิม)
ส่วนข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างว่า หากจำเลยเข้าต่อสู้คดีแล้วจำเลยชนะโจทก์อย่างแน่แท้ และศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์ ผลของคำพิพากษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะมูลหนี้ตามฟ้องไม่ใช่มูลหนี้ที่แท้จริง เป็นเพียงการชี้แจงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบมิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนใด ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด ทั้งเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า หากศาลอนุญาตให้มีการพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิจารณาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม และเป็นผลให้จำเลยชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเนื่องจากองค์คณะไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาขอให้รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ทำการไต่สวนต่อไป แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนี้เนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาไม่ครบองค์คณะและให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ดังกล่าว