พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายต้องทำ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
การปิดหมาย เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งต้องปิดหมายไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การที่ผู้ส่งหมายเพียงแต่วางหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่โต๊ะของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณชั้นล่างของอาคารที่จำเลยมีสำนักงานอยู่ที่ชั้น 5 จึงไม่ชอบ กระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและภายหลังแต่นั้นมาย่อมไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15324/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่: การส่งหมายที่ไม่ชอบและกรอบเวลาการยื่นคำขอจากพฤติการณ์นอกเหนือควบคุม
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่า ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 74 (2) ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้พิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เป็นที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2555 พนักงานเดินหมายได้นำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2557 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่า จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น แต่มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงเพราะจำเลยพักอาศัยอยู่ที่ราชอาณาจักรเดนมาร์กตลอดมาไม่เคยเดินทางกลับประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ป. น้าจำเลยโทรศัพท์บอกว่าคนดูแลบ้านของจำเลยเห็นโจทก์กับพวกเข้าไปในบ้านจำเลย หลังจากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าบ้านและที่ดินถูกยึด จำเลยติดต่อทนายความจึงทราบว่าถูกโจทก์เป็นคดีนี้ อันเป็นกล่าวอ้างว่ากรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยจะต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงหรือไม่ แต่ในคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จำเลยได้แต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนเพื่อยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงต้องถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดอย่างช้าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 แล้ว แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2555 พนักงานเดินหมายได้นำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2557 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่า จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น แต่มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงเพราะจำเลยพักอาศัยอยู่ที่ราชอาณาจักรเดนมาร์กตลอดมาไม่เคยเดินทางกลับประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ป. น้าจำเลยโทรศัพท์บอกว่าคนดูแลบ้านของจำเลยเห็นโจทก์กับพวกเข้าไปในบ้านจำเลย หลังจากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าบ้านและที่ดินถูกยึด จำเลยติดต่อทนายความจึงทราบว่าถูกโจทก์เป็นคดีนี้ อันเป็นกล่าวอ้างว่ากรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยจะต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงหรือไม่ แต่ในคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จำเลยได้แต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนเพื่อยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงต้องถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดอย่างช้าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 แล้ว แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14216/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆะเนื่องจากผู้เอาประกันภัยแสดงเจตนาไม่ตรงกัน
จำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์สืบพยานไปบ้างแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าการขาดนัดเป็นไปโดยไม่จงใจให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โจทก์โต้แย้งคำสั่งไว้ หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีเป็นเรื่องการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสาม ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาไว้ หาใช่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลมีคำสั่งชี้ขาดให้จำเลยแพ้คดีโดยการขาดนัดพิจารณา ตามมาตรา 199 ตรี และมาตรา 207 อันเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ ไม่ โจทก์จึงฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ได้
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา นอกจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ยังมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง หมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยไม่ได้มาศาลหรือลงชื่อทราบวันนัดของศาลแต่อย่างใด และแม้ทนายจำเลยเคยระบุไว้ในคำแถลงวันที่ 5 เมษายน 2544 ว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เวลา 13.30 นาฬิกา ก็ตาม แต่ปรากฏตามคำร้องลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ของทนายจำเลยที่ขอให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อนจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวมและรอไว้สั่งในวันนัด" ที่หัวกระดาษบนด้านขวาเหนือตราประทับของแผนกเก็บสำนวนคดีดำเขียนว่า "24 พค 44" นอกจากนั้นบัญชีพยานจำเลยลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 หัวกระดาษตอนบนมีข้อความระบุว่า "นัดวันที่ 24 พค 44 13.30 น" เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ทนายจำเลยมาศาลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 และยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันนั้นโดยระบุชัดแจ้งถึงเหตุที่มาศาลในวันนั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คดีนี้และเหตุที่ไม่ได้มาศาลในวันนัด พร้อมสำเนาหลักฐานสมุดนัดความของทนายจำเลยซึ่งสอดคล้องกับเอกสารสำนวนศาล พฤติการณ์ตามข้ออ้างของทนายจำเลยจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยสำคัญผิดในวันนัดและไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ จ. แต่อ้างว่าผู้แสดงเจตนาขอเอาประกันภัยไม่ใช่ จ. ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าสัญญาประกันภัยบังคับได้หรือไม่ เพียงใด จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์นั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งที่มีเวลาเพียงพอโจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา นอกจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ยังมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง หมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยไม่ได้มาศาลหรือลงชื่อทราบวันนัดของศาลแต่อย่างใด และแม้ทนายจำเลยเคยระบุไว้ในคำแถลงวันที่ 5 เมษายน 2544 ว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เวลา 13.30 นาฬิกา ก็ตาม แต่ปรากฏตามคำร้องลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ของทนายจำเลยที่ขอให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อนจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวมและรอไว้สั่งในวันนัด" ที่หัวกระดาษบนด้านขวาเหนือตราประทับของแผนกเก็บสำนวนคดีดำเขียนว่า "24 พค 44" นอกจากนั้นบัญชีพยานจำเลยลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 หัวกระดาษตอนบนมีข้อความระบุว่า "นัดวันที่ 24 พค 44 13.30 น" เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ทนายจำเลยมาศาลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 และยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันนั้นโดยระบุชัดแจ้งถึงเหตุที่มาศาลในวันนั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คดีนี้และเหตุที่ไม่ได้มาศาลในวันนัด พร้อมสำเนาหลักฐานสมุดนัดความของทนายจำเลยซึ่งสอดคล้องกับเอกสารสำนวนศาล พฤติการณ์ตามข้ออ้างของทนายจำเลยจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยสำคัญผิดในวันนัดและไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ จ. แต่อ้างว่าผู้แสดงเจตนาขอเอาประกันภัยไม่ใช่ จ. ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าสัญญาประกันภัยบังคับได้หรือไม่ เพียงใด จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์นั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งที่มีเวลาเพียงพอโจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12501/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในคดีหย่าเมื่อคำพิพากษาเดิมถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อการสมรสใหม่
แม้คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะมีผลให้ถือว่าคำพิพากษาเดิมที่พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกันเป็นอันเพิกถอนไปในตัว แต่คำพิพากษาที่ถูกเพิกถอนนั้น ก็มีผลผูกพันเฉพาะโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดี หามีผลต่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีที่อ้างว่า ถูกกระทบสิทธิเนื่องจากเป็นผู้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์หลังจากศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วไม่ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12501/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องสอดของบุคคลภายนอกในคดีหย่าและการสิ้นสุดของสมรส
แม้คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะมีผลให้ถือว่าคำพิพากษาเดิมที่พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกันเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม แต่คำพิพากษาที่ถูกเพิกถอนนั้นก็มีผลผูกพันเฉพาะโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดี หามีผลต่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีที่อ้างว่าถูกกระทบสิทธิเนื่องจากเป็นผู้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หลังจากศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วไม่ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12436/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุที่อาจชนะคดี มิได้แค่เหตุขาดนัด
ศาลชั้นต้นไต่สวนและวินิจฉัยคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของโจทก์ว่า คำขอของโจทก์บรรยายเพียงเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา แต่มิได้บรรยายข้อคัดค้านว่า หากศาลพิจารณาคดีใหม่แล้วโจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดี ถือว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ของโจทก์มิได้บรรยายให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ดังนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีคำพิพากษาเป็นประการใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอีกต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246, 142 (5) ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ย่อมไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย & เหตุขอพิจารณาคดีใหม่: การหลบหนีคดีอาญาไม่อาจอ้างเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์อ้างส่งหนังสือรับรอง ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ส. และเคยเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนและประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 2 ไม่มีพยานหลักฐานมาหักล้างในเรื่องความเกี่ยวพันของจำเลยที่ 2 กับบริษัทดังกล่าวจนถึงวันฟ้องคดีนี้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 ยังคงมีความเกี่ยวพันกับบริษัทดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงประกอบกิจการด้วยตนเองในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าการขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขอมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักรในวันที่ 16 พฤษภาคม 2539 ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2539 แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปีแสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เองจะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพื่อขอให้พิจารณาคดีในสำนวนของจำเลยที่ 2 ใหม่หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าการขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขอมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักรในวันที่ 16 พฤษภาคม 2539 ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2539 แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปีแสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เองจะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพื่อขอให้พิจารณาคดีในสำนวนของจำเลยที่ 2 ใหม่หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายและการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด โดยมีเจตนาหลบหนีคดี
โจทก์อ้างส่งสำเนาหนังสือรับรอง ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ส. จำกัด และเคยเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนและประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 2 ไม่มีพยานหลักฐานมาหักล้างในเรื่องความเกี่ยวพันของจำเลยที่ 2 กับบริษัทดังกล่าวจนถึงวันฟ้องคดีนี้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 ยังคงมีความเกี่ยวพันกับบริษัทดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงประกอบกิจการด้วยตนเองหรือตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า การขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางการประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักร ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปี แสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง จะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพื่อขอให้พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ใหม่ หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า การขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางการประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักร ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปี แสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง จะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพื่อขอให้พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ใหม่ หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกคดีมโนสาเร่ด้วยวิธีปิดหมายต้องรอ 15 วันก่อนมีคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยยื่นคำร้องว่า การส่งหมายของพนักงานเดินหมายด้วยวิธีปิดหมาย กฎหมายกำหนดให้ระยะเวลามากขึ้นเพิ่มเติมออกไปอีก 15 วัน เมื่อเจ้าพนักงานส่งหมายเรียกคดีมโนสาเร่ให้แก่จำเลยโดยวิธีการปิดหมายวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 กรณีจึงต้องให้ระยะเวลาแก่จำเลยสามารถยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2556 แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 ตามที่ระบุในหมายเรียก ศาลมีคำสั่งให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยให้โจทก์นำพยานเข้าสืบไปฝ่ายเดียว และรอฟังคำพิพากษาในวันดังกล่าว เท่ากับจำเลยอ้างว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการส่งคำคู่ความ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 มิใช่คำร้องเพื่อขอใช้สิทธิ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 ตรี จัตวา และเบญจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10877/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนหมายบังคับคดีเมื่อศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ แม้การยึดทรัพย์สินเป็นการกระทำโดยชอบ
คดีนี้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยเนื่องจากเดิมศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา ดังนั้น การที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาจึงเป็นการกระทำโดยชอบ แม้ต่อมาการยึดที่ดินพิพาทต้องถูกเพิกถอนไปเนื่องจากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ นั้นเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิได้เกิดจากข้อบกพร่องของโจทก์ในการบังคับคดี อย่างไรก็ตามเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยต่อไปได้ เพียงแต่การบังคับคดีที่โจทก์ได้ดำเนินการผ่านเจ้าพนักงานบังคับคดีมาแล้ว ถือได้ว่ามีเหตุสมควรและ มีความสุจริตในการบังคับคดี จึงไม่สมควรที่โจทก์จะต้องรับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายจากผลของการที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำร้องของจำเลย