คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 199 เบญจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: สิทธิของโจทก์และสถานะของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด แม้ต่อมาก่อนวันนัดพิจารณาคำร้อง โจทก์ขอถอนคำขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตแล้ว โจทก์ยังคงเป็นคู่ความในคดีและมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ต่อไป ทั้งการพิจารณาคำร้องของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์และจำเลยที่ 4 ส่วนเจ้าหนี้มิใช่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในชั้นนี้ เมื่อวันนัดพิจารณาคำร้อง โจทก์ไม่คัดค้านการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลล้มละลายกลางจึงชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 พิจารณาคดีใหม่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้วางค่าธรรมเนียม
การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่นั้น หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมพิพากษาให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยตามคำร้องลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยตามคำร้องลงวันที่ 23 สิงหาคม 2544 และวันที่ 9 มกราคม 2546 ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาของคำร้องทั้งสองฉบับแล้วว่าไม่ครบหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสองและมาตรา 199 เบญจ วรรคสอง การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง ดังนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาเป็นประการใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุด ตามมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตพิจารณาคดีใหม่เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว จึงเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในข้อที่โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์นี้แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ฎีกาภายหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ภายหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19)ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม คดีนี้จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาถึงที่สุด ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ศาลต้องพิจารณาเหตุจงใจขาดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว การพิจารณาคำขอดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเป็นลำดับ คือ ศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207และ 208 หรือไม่ แล้วพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ ตามมาตรา 209 วรรคหนึ่ง การที่คู่ความจงใจขาดนัดก็เป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเองเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้และยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงเท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ
of 2