คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 593

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยปริยายและการจ่ายค่าแรงงานแทนลูกจ้างเดิม
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 11 คูหาโจทก์ได้ก่อสร้างมาระยะหนึ่งก็หยุดไม่ทำต่อไป เมื่อโจทก์ทิ้งงานแล้ว จำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุแสดงเจตนาไว้ว่าไม่ให้โจทก์มาเกี่ยวข้อง ในการก่อสร้างต่อไป และจำเลยได้สอบถามคนงานว่าสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ หัวหน้าคนงานของโจทก์ก็ตอบว่าสามารถทำงานต่อไปได้แม้จะไม่มีโจทก์ก็ตามและได้ทำงานต่อไปจนเสร็จโดยจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้แก่คนงานดังกล่าว การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานให้จำเลยโดยทิ้งงานไป จำเลยก็แสดงเจตนาที่ไม่ต้องการให้โจทก์ทำงานตามสัญญาต่อไปอีก สัญญาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์จำเลย เป็นอันเลิกกันโดยปริยาย หลังจากโจทก์ทิ้งงานแล้ว คนงานอื่น ๆ ของโจทก์อีกประมาณ80 คน ก็ทำงานต่อในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย เช่นนี้คนงานของโจทก์ที่ทำงานต่อไปจึงทำในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยมิใช่ในฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่ทำงานหลังจากโจทก์ทิ้งงานต่อไปจนเสร็จดังกล่าวหาใช่เป็นการจ่ายแทนโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าแรงงานในส่วนนี้จากโจทก์ตามฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง: การรับมอบงานโดยปริยาย, การชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวด, และการไม่ถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญ
นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ทำงานถึงปีเศษแต่ยังไม่เสร็จสิ้นแล้วโจทก์ก็ละทิ้งงาน จำเลยจึงหาช่างมาดำเนินการต่อ ดังนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรับมอบงานในส่วนที่โจทก์ทำไปแล้วโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างในการก่อสร้างในส่วนดังกล่าว และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนที่จะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ตรงตามระยะเวลาในสัญญา เมื่อปรากฏตามสัญญาว่าจ้างว่าจำเลยจะต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์งวดละ 200,000 บาทงวดสุดท้ายชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด แต่จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์เฉพาะในงวดที่ 3,4 และ 5 งวดละ 100,000 บาทโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างไม่ครบตามรายการสัญญาและแม้เป็นความจริงว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบรายการตามสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาคงทำงานให้จำเลยต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ตามสัญญาจ้างมิได้ระบุวันเริ่มต้นทำการงานกันไว้คงระบุเพียงให้แล้วเสร็จภายใน 160 วัน แต่โจทก์ทำงานไม่เสร็จในระยะดังกล่าว และจำเลยยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาทำงานให้เสร็จเป็นสำคัญจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินค่าจ้างจากการก่อสร้าง แม้จะยังไม่เสร็จ และการไม่ถือว่าผิดสัญญา แม้เลยกำหนด
นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ทำงานถึงปีเศษแต่ยังไม่เสร็จสิ้น แล้วโจทก์ก็ละทิ้งงาน จำเลยจึงหาช่างมาดำเนินการต่อ ดังนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรับมอบงานในส่วนที่โจทก์ทำไปแล้วโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างในการก่อสร้างในส่วนดังกล่าว และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนที่จะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ตรงตามระยะเวลาในสัญญา เมื่อปรากฏตามสัญญาว่าจ้างว่าจำเลยจะต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์งวดละ 200,000 บาท งวดสุดท้ายชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด แต่จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์เฉพาะในงวดที่ 3, 4 และ 5 งวดละ 100,000 บาทโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างไม่ครบตามรายการสัญญา และแม้เป็นความจริงว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบรายการตามสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาคงทำงานให้จำเลยต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
ตามสัญญาจ้างมิได้ระบุวันเริ่มต้นทำการงานกันไว้ คงระบุเพียงให้แล้วเสร็จภายใน 160 วัน แต่โจทก์ทำงานไม่เสร็จในระยะดังกล่าว และจำเลยยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาทำงานให้เสร็จเป็นสำคัญ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาจ้างก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับตามหลักความเป็นธรรม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดงวดงานในสัญญาจ้างโดยผิดนัดตั้งแต่ งวดที่ 2ถึงงวดที่ 4 และได้เสียค่าปรับให้โจทก์ไปแล้ว 110 วันวันละ 797 บาท สำหรับงวดที่ 5 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ลงมือก่อสร้างเลย ตามพฤติการณ์การทำงานของจำเลยโจทก์น่าจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในกำหนดและคงทิ้งงานงวดสุดท้าย ซึ่งโจทก์ควรจะใช้สิทธิยกเลิกสัญญาเสียภายในหนึ่งถึงสองเดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่โจทก์กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลย ไปกว่า 6 เดือน จึงบอกเลิกสัญญา เป็นความล่าช้าในการ ดำเนินงานของโจทก์เองด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับจำเลยได้ชำระ ค่าปรับแก่โจทก์ไปแล้วถึง 110 วัน วันละ 797 บาท ทั้งโจทก์ ก็ไม่ได้นำสืบว่าการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทำงาน งวดสุดท้ายทำให้โจทก์เสียหายมากเพียงใด ดังนี้พิเคราะห์ ทางได้เสียของโจทก์แล้ว ค่าปรับ 196 วัน วันละ 797 บาท ตามข้อตกลงในสัญญานั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 การที่ ศาลลดค่าปรับลงเหลือวันละ 500 บาท เป็นเวลา 196 วัน เป็นเงิน 98,000 บาท นั้นเป็นการเหมาะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา งานไม่ถูกต้อง/ไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ผู้ควบคุมงานร่วมรับผิด
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ทำการก่อสร้างโดยมีข้อสัญญาว่า ถ้าทำไม่เสร็จภายในกำหนดหรือทำไม่ถูกต้องตามแบบจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ทำถนนไม่ถูกต้องตามแบบในสัญญา ถึงแม้จะยังไม่ครบกำหนดในสัญญา แต่เป็นที่เห็นได้ว่างานที่ยังค้างอยู่นั้นไม่อาจจะทำให้เสร็จได้ตามกำหนดในสัญญาแล้ว จำเลยก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามข้อสัญญา โดยไม่ต้องบอกให้แก้ไขการงานที่ไม่ถูกต้องนั้นเสียก่อน หรือรอให้ครบกำหนดตามสัญญาส่วนค่าจ้างสำหรับการงานที่ทำไปแล้วนั้น เมื่อการงานที่ทำไปแล้วนั้นไม่ได้เกิดประโยชน์แก่จำเลย และจำเลยมิได้รับมอบการงานนั้นไว้ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างส่วนนี้ให้
การที่จำเลยจ้างโจทก์ที่ 1 ทำการก่อสร้างโดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ควบคุมดูแลแทนจำเลย และเป็นผู้รายงานผลงานในการที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างตามสัญญา เมื่อโจทก์ที่ 2 รู้อยู่แล้วว่า การงานที่ทำนั้นไม่ถูกต้องตามสัญญาและ มีข้อชำรุดบกพร่องมาก แต่ได้รายงานจำเลยว่างานถูกต้องตามสัญญา จนจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 1ไปตามงวดในสัญญาเช่นนี้ โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับโจทก์ที่ 1 ในความเสียหายที่จำเลยจะต้องใช้จ่ายในการแก้ไขข้อบกพร่องสำหรับการงานที่จำเลยรับมอบไปโดยหลงผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005-3006/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา การบอกเลิกสัญญา ความรับผิดในค่าเสียหาย และสิทธิในการริบของ
กรมราชทัณฑ์จำเลยจ้างเหมาโจทก์ให้ก่อสร้างตึกโรงพิมพ์ แม้จะปรากฏว่าในการก่อสร้างรายนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการของกรมโยธาเทศบาลเข้าร่วมเป็นกรรมการอำนวยการสร้าง กรรมการเปิดซองประกวดราคา และกรรมการอื่นอีกหลายคณะ แต่ก็เป็นกรรมการเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งแต่งตั้งของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้งานก่อสร้างของทางราชการดำเนินไปโดยเรียบร้อย หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมอบหมายหรือแต่งตั้งให้ข้าราชการกรมโยธาเทศบาลหรือกรมโยธาเทศบาลเป็นตัวแทนของจำเลย หรือเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยไม่การที่คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคา โดย ธ. หัวหน้ากองก่อสร้างกรมโยธาเทศบาลขอให้โจทก์ลดเวลาก่อสร้างลง ซึ่งโจทก์ยินยอมโดยขอให้กองก่อสร้างอำนวยความสะดวกในการจัดซื้อวัสดุในการก่อสร้างบางอย่างให้นั้น จึงหาใช่เงื่อนไขอันหนึ่งซึ่งเสมือนสัญญาที่จะผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามไม่
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญา และจำเลยได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ตามสัญญาให้อำนาจจำเลยริบการงานที่ทำไว้แล้วได้รวมทั้งจัดให้ผู้อื่นเข้าทำการงานนั้นต่อไป โดยผู้รับจ้างเหมายอมใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้น ดังนั้นบรรดาสัมภาระและวัสดุที่เหลืออยู่ในที่ก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่โจทก์ทำค้างไว้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะริบได้ ส่วนเครื่องผสมคอนกรีตมิใช่การงานที่ได้ทำไว้ แต่เป็นเครื่องใช้หรือเครื่องมือในการประกอบการงานของโจทก์เท่านั้น จำเลยหาอาจริบได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005-3006/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้าง การเลิกสัญญา ค่าปรับ และค่าเสียหาย
กรมราชทัณฑ์จำเลยจ้างเหมาโจทก์ให้ก่อสร้างตึกโรงพิมพ์แม้จะปรากฏว่าในการก่อสร้างรายนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการของกรมโยธาเทศบาลเข้าร่วมเป็นกรรมการอำนวยการสร้าง กรรมการเปิดซองประกวดราคา และกรรมการอื่นอีกหลายคณะ แต่ก็เป็นกรรมการเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งแต่งตั้งของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้งานก่อสร้างของทางราชการดำเนินไปโดยเรียบร้อยหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมอบหมายหรือแต่งตั้งให้ข้าราชการกรมโยธาเทศบาลหรือกรมโยธาเทศบาลเป็นตัวแทนของจำเลย หรือเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยไม่การที่คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคา โดย ธ. หัวหน้ากองก่อสร้างกรมโยธาเทศบาลขอให้โจทก์ลดเวลาก่อสร้างลง ซึ่งโจทก์ยินยอมโดยขอให้กองก่อสร้างอำนวยความสะดวกในการจัดซื้อวัสดุในการก่อสร้างบางอย่างให้นั้น จึงหาใช่เงื่อนไขอันหนึ่งซึ่งเสมือนสัญญาที่จะผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามไม่
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญา และจำเลยได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ตามสัญญาให้อำนาจจำเลยริบการงานที่ทำไว้แล้วได้รวมทั้งจัดให้ผู้อื่นเข้าทำการงานนั้นต่อไป โดยผู้รับจ้างเหมายอมใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้น ดังนั้นบรรดาสัมภาระและวัสดุที่เหลืออยู่ในที่ก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่โจทก์ทำค้างไว้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะริบได้ ส่วนเครื่องผสมคอนกรีตมิใช่การงานที่ได้ทำไว้ แต่เป็นเครื่องใช้หรือเครื่องมือในการประกอบการงานของโจทก์เท่านั้น จำเลยหาอาจริบได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต: จำเลยคืนเงินล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย, โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาลถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อนข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารไม่เหตุนี้การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิไดัรับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้างเพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้างแต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้องมิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาลจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลยจำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาที่ไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า, ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การผิดนัด, และความรับผิดของหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารน ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้
of 3