พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิได้ตามมาตรา 95 หรือ 96 หากใช้สิทธิแล้วสิทธิเดิมสิ้นสุด
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 และ 96 แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น ดังนี้ กำหนดเวลาให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 จึงไม่มี และหากบังคับชำระหนี้เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย วิธีที่สอง โดยเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายใต้เงื่อนไขมาตรา 96 ซึ่งมีอยู่ 4 ประการในประการใดประการหนึ่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินมายังไม่พอชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ และการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และ 96 แยกให้เห็นข้อแตกต่างในวิธีการขอรับชำระหนี้และข้อแตกต่างในผลของการใช้สิทธิมาตราใดมาตราหนึ่ง เจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่ ดังนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในคดีนี้ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้องแม้จะกลับมามีคำสั่งใหม่เป็นว่า ไม่อนุญาตในภายหลังซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คำสั่งของผู้คัดค้านในครั้งก่อนและในครั้งหลังจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมาย เพราะไม่ทำให้ผู้ร้องได้สิทธิหรือเสียสิทธิ เมื่อผู้ร้องได้ใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามมาตรา 96 แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินมายังไม่พอชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ และการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และ 96 แยกให้เห็นข้อแตกต่างในวิธีการขอรับชำระหนี้และข้อแตกต่างในผลของการใช้สิทธิมาตราใดมาตราหนึ่ง เจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่ ดังนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในคดีนี้ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้องแม้จะกลับมามีคำสั่งใหม่เป็นว่า ไม่อนุญาตในภายหลังซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คำสั่งของผู้คัดค้านในครั้งก่อนและในครั้งหลังจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมาย เพราะไม่ทำให้ผู้ร้องได้สิทธิหรือเสียสิทธิ เมื่อผู้ร้องได้ใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามมาตรา 96 แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิได้ระหว่างมาตรา 95 (สิทธิเหนือทรัพย์สิน) หรือมาตรา 96 (ขอรับชำระหนี้) แต่ใช้สิทธิแล้วสิทธิเดิมสิ้นสุด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น และหากบังคับชำระหนี้เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นวิธีที่สอง เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใต้เงื่อนไข 4 ประการ ประการใดประการหนึ่งตามมาตรา 96ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 และในคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ได้ ซึ่งเจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95อีกต่อไป
การใช้สิทธิตามมาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันผู้เลือกใช้สิทธิตามมาตรา 95 ได้รับชำระหนี้หรือไม่ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้อง
การใช้สิทธิตามมาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันผู้เลือกใช้สิทธิตามมาตรา 95 ได้รับชำระหนี้หรือไม่ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า, การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์, และสิทธิของเจ้าหนี้จำนอง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาท้ายทะเบียนการหย่า เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1532 ย่อมมีผลบังคับผูกพันสามีภริยานับแต่นายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าแล้ว หากจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นภริยาผิดสัญญา ผู้ร้องในฐานะคู่สัญญาซึ่งเป็นสามีย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่เมื่อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสและเป็นอสังหาริมทรัพย์ดังนี้ การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นยังไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นสินสมรสของจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ตกเป็นของผู้ร้อง การที่จำเลยที่ 2 กับผู้ร้องได้กู้เงินจากธนาคาร ท.โดยผู้ร้องได้ขอให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมบ้านพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้จำเลยที่ 2 และผู้ร้องในฐานะเจ้าของรวมย่อมต้องผูกพันในหนี้จำนองดังกล่าวต่อธนาคาร ท.ด้วย ผู้ร้องหาอาจอ้างเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาให้เป็นที่เสื่อมเสียสิทธิของผู้รับจำนองโดยสุจริตได้ไม่และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด ธนาคาร ท.ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทอันเป็นหลักประกันออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จำนองได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินเป็นสัญญาจำนอง และสิทธิการรับชำระหนี้คงเหลือ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้ง คิดเป็นเงิน2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นจำนอง และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ที่เหลือ
เมื่อระหว่างปี2522ถึงปี2524เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยาม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม7ครั้งคิดเป็นเงิน2,093,300บาทโดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี2528เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเองหาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมเพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิมหนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่านอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง980,000บาทเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ร่วมและการจำนองประกันหนี้: การไถ่ถอนจำนองไม่ทำให้หนี้ระงับ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม.กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้งคิดเป็นเงิน 2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน และต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามป.พ.พ.มาตรา 298 เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่ การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่มีประกันเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้น ก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเอง เมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งผู้คัดค้านเกี่ยวกับการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองถึงที่สุด ผู้ร้องมิอาจโต้แย้งได้อีก
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแม้จะกล่าวถึงมูลหนี้ว่าลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องในวงเงิน300,000บาทโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงินดังกล่าวหลังจากนั้นมีการเดินสะพัดทางบัญชีและต่อมาผู้ร้องได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซึ่งณวันที่14มกราคม2534ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องจำนวน546,895.54บาทผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองหลักประกันตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยก่อนเจ้าหนี้อื่นและวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆนับตั้งแต่วันที่2กันยายน2531เป็นต้นไปก็ตามแต่เมื่อที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายในต้นเงิน300,000บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่2กันยายน2531จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซึ่งไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นก็จะแปลว่าคำสั่งของผู้คัดค้านมีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นหาได้ไม่หากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างใดชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิคัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146เมื่อผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวคำสั่งของผู้คัดค้านย่อมถึงที่สุดผู้ร้องจะคัดค้านอีกหาได้ไม่และเมื่อตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินผู้คัดค้านได้คำนวณให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งของผู้คัดค้านบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินของผู้คัดค้านจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง: คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้น, และผลของการไม่คัดค้าน
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน แม้จะกล่าวถึงมูลหนี้ว่า ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องในวงเงิน 300,000 บาทโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงินดังกล่าว หลังจากนั้นมีการเดินสะพัดทางบัญชีและต่อมาผู้ร้องได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซึ่ง ณ วันที่14 มกราคม 2534 ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องจำนวน 546,895.54 บาท ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองหลักประกันตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยก่อนเจ้าหนี้อื่น และวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราต่าง ๆนับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 เป็นต้นไปก็ตาม แต่เมื่อที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายในต้นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซึ่งไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ก็จะแปลว่าคำสั่งของผู้คัดค้านมีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นมาได้ไม่ หากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างใด ชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิคัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 เมื่อผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว คำสั่งของผู้คัดค้านย่อมถึงที่สุด ผู้ร้องจะคัดค้านอีกหาได้ไม่และเมื่อตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ผู้คัดค้านได้คำนวณให้ผู้ร้องมีสิทธิไดรับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งของผู้คัดค้าน บัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินของผู้คัดค้านจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากทรัพย์จำนองในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันสิทธิในการได้รับชำระหนี้บางส่วน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน2,528,918.34 บาท กรณีย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 27, 95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุจกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,528,918.34 บาทแล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีล้มละลาย ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน 2,528,918.34 บาทกรณีย่อมต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27,95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุลกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1เป็นเงิน 2,528,918.34 บาท แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698