พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,624 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15107/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อค้างชำระ vs ค่าขาดประโยชน์ และการแก้ไขคำพิพากษา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระมาแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ คงเรียกได้เพียง ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อในระหว่างที่ยังมิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนเท่านั้น แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14.2 กำหนดว่า "ก่อนวันที่สัญญาเลิกกัน หากผู้เช่าติดค้างชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ถึงกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระ ผู้เช่าซื้อสัญญาว่าจะต้องชำระแก่เจ้าของจนครบถ้วน และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นการลบล้างสิทธิของเจ้าของบรรดาที่มีอยู่ก่อนวันเลิกสัญญา" ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตั้งแต่งวดที่ 10 ถึงงวดที่ 18 เป็นเงิน 133,386 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14861/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาไม่ครบถ้วน ศาลมิอาจสั่งให้โอนกรรมสิทธิ์ได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระบุราคาทรัพย์สินเป็นเงิน 399,000 บาท ผู้ร้องอ้างว่าชำระราคาให้จำเลยครบตั้งแต่ปี 2543 โดยมีสำเนาใบเสร็จรับเงินมาแสดงเป็นหลักฐาน แต่เอกสารดังกล่าวมีรายการชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 27 กันยายน 2541 และมียอดเงินที่ชำระเพียง 64,000 บาท ส่วนที่ผู้ร้องนำสืบว่า ผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทตั้งแต่ปี 2541 ก็เป็นการเข้าครอบครองทรัพย์สินก่อนเวลาที่ผู้ร้องอ้างว่าชำระราคาเสร็จสิ้นเมื่อปี 2543 จึงมิใช่พฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ร้องเคยเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท พยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ผู้ร้องชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่จำเลยครบตามสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผู้ร้องยังไม่ชำระหนี้ของตนจึงไม่มีสิทธิขอให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้ตอบแทนด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทตามสัญญา ทั้งกรณีตามคำร้องเป็นการขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายอันเป็นการโอนทรัพย์สินโดยทางนิติกรรม คดีจึงไม่มีประเด็นว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยการครอบครอง ที่ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14721/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาที่ขัดต่อข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองจากการรับมรดกตามพินัยกรรมของ ว. ขณะโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยทั้งสองเข้าไปบุกรุกที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิหรือชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ จ. บิดาของจำเลยที่ 2 เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ย. มารดาจำเลยที่ 2 ได้โอนที่ดินพิพาทให้ ว. ซึ่งมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกโดยชอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินมาจาก ว. จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงไม่มีข้อต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแน่ชัดที่จะแสดงว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยพินัยกรรมจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองและศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14411/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองหลังการขายทอดตลาด แม้เคยถูกยกคำร้องก่อนหน้า
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งอีกสำนวนของศาลชั้นต้น และเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยที่ 2 ในทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และกรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือร้องซ้ำ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองมาก่อนและศาลชั้นต้นยกคำร้องไปแล้วก็ตาม ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองอีก และเมื่อปรากฏว่าในการบังคับคดีนี้ยังมีเงินเหลืออยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14411/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง แม้เคยยื่นคำร้องไปแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นการร้องซ้ำ
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของจำเลยทั้งสองในคดีหมายเลขแดงที่ 10058/2548 ของศาลชั้นต้น และเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยที่ 2 ในทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำมาตรา 144 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และกรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือร้องซ้ำ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองมาก่อนและศาลชั้นต้นยกคำร้องไปแล้วก็ตาม ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองอีก และเมื่อปรากฏว่าในการบังคับคดีนี้ยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14001/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรวมสำนวนคดีและการบังคับคดีข้ามสำนวน ต้องมีคำสั่งรวมกันตามกฎหมาย
แม้คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ต่างเป็นสำนวนของศาลชั้นต้นเดียวกัน แม้คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นบุคคลเดียวกัน และพิพาทกันในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขาย ฉบับเดียวกันก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็เพียงแต่มีคำสั่งให้นำสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 มาผูกรวมกับสำนวนคดีนี้ โดยมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านี้รวมกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด ทั้งสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ศาลฎีกาก็ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดไปก่อนในลักษณะวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ต่างสำนวนกันกับคดีนี้ จึงไม่อาจจะถือว่าสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 เป็นส่วนหนึ่งของคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นคดีนี้จะมีคำสั่งข้ามสำนวนไปเพิกถอนการบังคับคดี ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 นั้นได้ และปัญหาเกี่ยวด้วยอำนาจศาลในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่เมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13888/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีออกจากราชการเหตุความสามารถไม่เหมาะสม แม้เรียกค่าเสียหายต่างกัน ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีก่อนและคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือเรื่องที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานหลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบกำหนดแล้ว โดยอ้างว่าโจทก์มีความประพฤติ ความรู้และความสามารถไม่เหมาะสม เพียงแต่ค่าเสียหายที่เรียกร้องในแต่ละคดีโจทก์กล่าวเรียกชื่อต่างกัน ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถเรียกร้องได้ในคดีก่อนแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากที่คดีก่อนถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13810/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทเรียกร้องค่าใช้จ่ายจากบริษัท กรณีจัดสรรที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ ธ. พ. จำเลยที่ 1 ก. จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงร่วมลงทุนซื้อที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรขาย โดยมีหลักการและข้อตกลงว่า ที่ดินที่ร่วมจัดสรรทั้งหมดมีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ การค้าที่ดินต้องขออนุญาตจัดสรรจากราชการให้ถูกต้อง โดยต้องจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินการ... หลังจากนั้นได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท อ. และบริษัท ม. ขึ้น และโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า โจทก์ จำเลยที่ 1 ก. จำเลยที่ 3 และที่ 4 ธ. กับ พ. ร่วมลงทุนจัดสรรที่ดินจำหน่าย โดยโจทก์ ธ. และ พ. ลงทุนด้วยเงิน ส่วนจำเลยที่ 1 และ ก. ลงทุนด้วยที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ก. เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ที่ดินที่ ก. ทำสัญญาจะซื้อจะขายจาก ป. และ ท. เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ กับที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ อ. กับ ว. บุตรชายถือกรรมสิทธิ์แทน สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ลงหุ้นด้วยที่ดิน ในการนี้ผู้ถือหุ้นทุกคนเห็นว่าการดำเนินการต้องทำในรูปนิติบุคคลตามระเบียบราชการ จึงจะจัดตั้งบริษัทขึ้น 2 บริษัท เพื่อดำเนินกิจการจัดสรรที่ดิน แบ่งเป็นบริษัทละไม่เกิน 500 แปลง จากคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า การตกลงกันระหว่างโจทก์กับผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ ในการจัดสรรที่ดินจำหน่ายตามฟ้องนี้ มีลักษณะเป็นการตกลงกันของผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท หาใช่มีเจตนาร่วมกันประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไม่ เพราะผู้ถือหุ้นทุกคนมีเจตนามาแต่แรกที่จะจัดตั้งบริษัทขึ้นเพื่อดำเนินกิจการจัดสรรที่ดิน การทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จะนำมาจัดสรรแปลงต่างๆ จึงเป็นไปเพื่อกิจการของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นมา ดังนั้นเมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทในเวลาต่อมาตามที่ผู้เริ่มก่อการตกลงกันแล้ว บรรดานิติกรรมสัญญาต่างๆ ที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ออกไปในการเริ่มก่อตั้งบริษัท เมื่อได้ให้สัตยาบันในการประชุมตั้งบริษัทแล้วย่อมผูกพันบริษัท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1108 (2) ผู้เริ่มก่อการคนใดออกค่าใช้จ่ายไปย่อมต้องไปว่ากล่าวเอาจากบริษัทที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามที่ตกลงกัน
ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนตั้งบริษัท อ. และบริษัท ม. โจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทได้จ่ายเงินเป็นค่าที่ดิน ทั้งปรากฏต่อมาว่า บริษัท ม. ขออนุญาตค้าที่ดินแปลงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย จึงน่าเชื่อว่ามีการให้สัตยาบันในเรื่องนี้ในที่ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ดังนี้ บรรดาค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ผู้เริ่มก่อการทำไว้ เมื่อบริษัทถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ที่ออกเงินค่าใช้จ่ายย่อมต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บริษัททั้งสองเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการด้วยคนหนึ่งให้คืนเงินแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนตั้งบริษัท อ. และบริษัท ม. โจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทได้จ่ายเงินเป็นค่าที่ดิน ทั้งปรากฏต่อมาว่า บริษัท ม. ขออนุญาตค้าที่ดินแปลงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย จึงน่าเชื่อว่ามีการให้สัตยาบันในเรื่องนี้ในที่ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ดังนี้ บรรดาค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ผู้เริ่มก่อการทำไว้ เมื่อบริษัทถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ที่ออกเงินค่าใช้จ่ายย่อมต้องไปว่ากล่าวเอาแก่บริษัททั้งสองเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการด้วยคนหนึ่งให้คืนเงินแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13652/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ: ผู้พิทักษ์ต้องได้รับมอบอำนาจหรือมีคำสั่งศาล
การที่ศาลมีคำสั่งให้ บ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของ อ. มีผลเพียง บ. ไม่สามารถที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ด้วยตนเอง เพราะต้องได้รับความยินยอมของ อ. ผู้พิทักษ์ก่อน ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 34 บัญญัติไว้เท่านั้น แต่มิได้มีผลทำให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้ที่มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนคนเสมือนไร้ความสามารถ ดังเช่นในกรณีของคนไร้ความสามารถที่ต้องให้ผู้อนุบาลกระทำการแทน ซึ่งการเสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ถือเป็นการอย่างหนึ่งอย่างใดที่คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 (10) หากเป็นในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม และคำสั่งของศาลดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคสามและวรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โดยมี อ. เป็นผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย แต่ อ. เป็นผู้ลงชื่อแต่งทนายความ และทนายความลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้มาเบิกความต่อศาลโดย อ. เป็นผู้มาเบิกความแทน จึงเท่ากับผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถโดยไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คนเสมือนไร้ความสามารถฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หรือศาลมีคำสั่งให้ผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถเสนอคดีต่อศาลได้ด้วยตนเอง ตามเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 34 ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์และบกพร่องในเรื่องความสามารถของผู้ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้แก้ไขเพื่อให้คำฟ้องสมบูรณ์เสียแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจนคดีล่วงเลยมาสู่ศาลฎีกาเช่นนี้แล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โดยมี อ. เป็นผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย แต่ อ. เป็นผู้ลงชื่อแต่งทนายความ และทนายความลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้มาเบิกความต่อศาลโดย อ. เป็นผู้มาเบิกความแทน จึงเท่ากับผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถโดยไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คนเสมือนไร้ความสามารถฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หรือศาลมีคำสั่งให้ผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถเสนอคดีต่อศาลได้ด้วยตนเอง ตามเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 34 ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์และบกพร่องในเรื่องความสามารถของผู้ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้แก้ไขเพื่อให้คำฟ้องสมบูรณ์เสียแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจนคดีล่วงเลยมาสู่ศาลฎีกาเช่นนี้แล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13602/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สัญญาอนุญาโตตุลาการ, การพิจารณาคดีใหม่, และคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ และศาลชั้นต้นมีอำนาจรับและไต่สวนคำขอพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ แล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ เพื่อให้โจทก์จำเลยไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับอุทธรณ์คำสั่งเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ คำสั่งที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ จึงไม่รับ โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จึงถึงที่สุดตามคำสั่งศาลชั้นต้น และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นยกฟ้องโจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กลับพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นยกฟ้องโจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กลับพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247