พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,624 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13599/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้จริง การปรับปรุงคำพิพากษาเรื่องเบี้ยปรับและดอกเบี้ย, และการชำระหนี้ตามสัดส่วน
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 13 ที่ 15 ที่ 17 ถึงที่ 30 และที่ 35 ถึงที่ 37 ซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ โดยให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ร่วมรับผิดตามเช็คเฉพาะฉบับที่ตนลงลายมือชื่อสลักหลังในฐานะผู้ประกัน (อาวัล) จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย และให้จำเลยที่ 6 รับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับที่ 38 ซึ่งเป็นเช็คระบุชื่อ โดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 7 และที่ 8 ร่วมรับผิดตามเช็คฉบับที่ 38 ในฐานะผู้สลักหลัง ดังนั้น ในส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในตอนต้นว่า ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 8 ร่วมกันชำระเงิน 15,870,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินรวมทั้งหมดตามเช็คดังกล่าวแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13598/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ บสท. ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและการขายทอดตลาด ไม่ขัดเจตนารมณ์กฎหมาย แม้มีการสวมสิทธิ
จำเลยที่ 1 เป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้ของสถาบัน การเงินด้วยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนำมาบริหารจัดการตามวิธีการที่กำหนดใน พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 การที่จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองแปลงอันเป็นทรัพย์จำนองของโจทก์ตามบทบัญญัติมาตรา 76 ที่บัญญัติว่า ในการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้ บสท. ดำเนินการโดยวิธีการขายทอดตลาด แต่ถ้า บสท. เห็นว่าการจำหน่ายโดยวิธีอื่นจะเป็นประโยชน์กับ บสท. และลูกหนี้มากกว่า ก็ให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นได้ หรือจะรับโอนทรัพย์สินนั้นไว้ในราคาไม่น้อยกว่าราคาที่จะพึงได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่ายก็ได้ และมาตรา 82 บัญญัติว่า การเพิกถอนการจำหน่ายทรัพย์สินตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 76 จะกระทำมิได้ จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองแปลงตามมาตรา 76 อันเป็นการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามที่ พ.ร.ก. นี้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการขายทอดตลาด ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นกล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าวบัญญัติให้จำเลยที่ 1 เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน หรือในกรณีศาลมีคำพิพากษาบังคับคดีแล้ว ให้จำเลยที่ 1 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นเพียงการให้อำนาจจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะคู่ความหรือดำเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ด้วย ไม่ใช่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.ก. นี้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้มากกว่าการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. จึงหาใช่บทบังคับว่าเมื่อจำเลยที่ 1 เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. เท่านั้น จำเลยที่ 1 มีอำนาจขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธีอื่นตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ตามมาตรา 74 และ 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13476-13482/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต้องอยู่ภายในวัตถุประสงค์การจดทะเบียนและได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำหรับที่ดินของรัฐ
ป.พ.พ. มาตรา 65 บัญญัติว่า "นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น" มาตรา 66 บัญญัติว่า "นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง" เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลอันเป็นบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย การยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐจึงต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นกิจการที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ด้วย เมื่อหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทของโจทก์ โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนให้มีวัตถุประสงค์ในการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งแปดและบริวารออกจากที่ดินพิพาทตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นต่อสู้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13476-13482/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต้องอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของบริษัท และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่หากเป็นการครอบครองที่ดินของรัฐ
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลอันเป็นบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย การยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐจึงต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องเป็นกิจการที่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ด้วย โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนให้มีวัตถุประสงค์ในการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งแปดและบริวารออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13450/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินปฏิรูปที่ดินโอนสิทธิมิได้ นิติกรรมระหว่างโจทก์-จำเลยตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 บัญญัติว่า ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร ฯลฯ ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้จะมีการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 กันจริง หรือจำเลยทั้งสามจะได้รับที่ดินพิพาทมาไม่ว่าด้วยนิติกรรมใด ๆ นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 หรือนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 3 กับผู้ที่ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินก็เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และถึงแม้ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 แปลงที่ 5 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินออกให้แก่ จ. ส่วนแปลงที่ 2 และที่ 6 มีชื่อของจำเลยที่ 3 หลังจากที่โจทก์สอบถามแล้ว จ. และจำเลยที่ 3 ยินยอมไปเพิกถอนก็ตาม เมื่อ จ. และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรละทิ้งการครอบครองไป การครอบครองจะตกมาเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกครั้ง ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดสรรให้เกษตรกรที่เหมาะสมต่อไป ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13385/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ศาลฎีกายกประเด็นได้แม้จำเลยไม่ยก
โจทก์อ้างสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง สัญญาเช่าซื้อมีลักษณะเป็นตราสาร จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แต่ปรากฏว่า สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามบทบัญญัติ ป.รัษฎากร มาตรา 118 ที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้หรือยกปัญหาในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารที่เกิดจากกลฉ้อฉลของโจทก์เพราะในการกรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จำเลยทั้งสามเสนอต่อโจทก์ เมื่อไม่อาจรับฟังสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานได้ พยานหลักฐานอื่นของโจทก์ไม่มีน้ำหนักดีไปกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสาม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารที่เกิดจากกลฉ้อฉลของโจทก์เพราะในการกรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จำเลยทั้งสามเสนอต่อโจทก์ เมื่อไม่อาจรับฟังสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานได้ พยานหลักฐานอื่นของโจทก์ไม่มีน้ำหนักดีไปกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสาม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13316/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบฉันทะขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.ทนายความ
การที่ ศ. ทำคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยลงชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนโดยอาศัยใบมอบฉันทะของจำเลยที่ 2 ที่ระบุไว้ให้ทำคำร้องได้นั้น เป็นกิจการอื่นนอกจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติไว้ และเป็นกิจการสำคัญที่คู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง ไม่อาจแต่งตั้งให้บุคคลทำการแทนได้ ทั้งการมอบฉันทะดังกล่าวไม่ทำให้ ศ. อยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) เมื่อ ศ. มิใช่ผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และมิได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น การเรียงคำร้องอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่จำเลยที่ 2 ของ ศ. ดังกล่าวจึงขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ดังนั้น คำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13316/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล และการมอบฉันทะที่ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ทนายความ
ในการขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลในครั้งที่สองแต่อย่างใด คงมีเพียง ศ. ผู้รับมอบฉันทะจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีก 30 วัน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติให้คู่ความหรือทนายความอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นทำการแทนในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือกำหนดวันนั่งพิจารณาหรือวันสืบพยานหรือวันฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล มาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาแห่งคำให้การ คำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 และ 72 และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น ส่วนกิจการอื่นนอกจากนี้ต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่าเป็นกิจการสำคัญซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่ การที่ ศ. ทำคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลลงชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนโดยอาศัยใบมอบฉันทะของจำเลยที่ 2 ที่ระบุไว้ให้ทำคำร้องได้นั้น เห็นได้ว่าเป็นกิจการอื่นนอกจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติไว้ และเป็นกิจการสำคัญที่คู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง ไม่อาจแต่งตั้งให้บุคคลทำการแทนได้ ทั้งการมอบฉันทะดังกล่าวไม่ทำให้ ศ. อยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) เมื่อ ศ. มิใช่ผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความและมิได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น การเรียงคำร้องอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่จำเลยที่ 2 ของ ศ. ดังกล่าวจึงขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ดังนั้น คำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติให้คู่ความหรือทนายความอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นทำการแทนในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือกำหนดวันนั่งพิจารณาหรือวันสืบพยานหรือวันฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล มาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาแห่งคำให้การ คำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 และ 72 และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น ส่วนกิจการอื่นนอกจากนี้ต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่าเป็นกิจการสำคัญซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่ การที่ ศ. ทำคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลลงชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนโดยอาศัยใบมอบฉันทะของจำเลยที่ 2 ที่ระบุไว้ให้ทำคำร้องได้นั้น เห็นได้ว่าเป็นกิจการอื่นนอกจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติไว้ และเป็นกิจการสำคัญที่คู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง ไม่อาจแต่งตั้งให้บุคคลทำการแทนได้ ทั้งการมอบฉันทะดังกล่าวไม่ทำให้ ศ. อยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) เมื่อ ศ. มิใช่ผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความและมิได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น การเรียงคำร้องอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่จำเลยที่ 2 ของ ศ. ดังกล่าวจึงขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ดังนั้น คำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13287/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมติดไปกับสามยทรัพย์ แม้มีการโอนสิทธิ ผู้รับโอนใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องขอศาลรับรอง
ป.พ.พ. มาตรา 1393 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระจำยอมไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่งได้จำหน่ายหรือตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น ซึ่งหมายความว่า ภาระจำยอมย่อมตกติดไปกับสามยทรัพย์เสมอ ไม่ว่าจะโอนสามยทรัพย์ให้ผู้ใด เว้นแต่กรณีภาระจำยอมได้มาโดยนิติกรรมและนิติกรรมที่ก่อตั้งภาระจำยอมได้จำกัดไว้ว่าให้ภาระจำยอมระงับไปเมื่อมีการโอนสามยทรัพย์ไปยังบุคคลอื่น ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงนั้น
ผู้ร้องได้รับโอนที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 22177 และ 20634 มาจากโจทก์ที่ 1 โดยมิใช่เป็นนิติกรรมอำพราง ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยย่อมติดไปกับที่ดินสามยทรัพย์ที่โอนด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมได้ ในกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่เปิดช่องให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสามยทรัพย์ สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลให้รับรองสิทธิในภาระจำยอมได้ เพราะการเสนอคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้น ต้องมีกฎหมายสนับสนุนด้วย ปัญหาเรื่องอำนาจในการเสนอคำร้องขอเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ผู้ร้องได้รับโอนที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 22177 และ 20634 มาจากโจทก์ที่ 1 โดยมิใช่เป็นนิติกรรมอำพราง ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยย่อมติดไปกับที่ดินสามยทรัพย์ที่โอนด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมได้ ในกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่เปิดช่องให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสามยทรัพย์ สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลให้รับรองสิทธิในภาระจำยอมได้ เพราะการเสนอคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้น ต้องมีกฎหมายสนับสนุนด้วย ปัญหาเรื่องอำนาจในการเสนอคำร้องขอเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13283/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้สัญญาวงเงินสินเชื่อและสัญญากู้ยืมเงิน การขาดอายุความทำให้คดีล้มละลายไม่สมควร
สิทธิเรียกร้องในหนี้ตามสัญญาวงเงินสินเชื่อ กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 2.1 กำหนดให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนไม่น้อยกว่าเดือนละ 433,840 บาท กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (2) เมื่อเจ้าหนี้เดิมได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อทั้งสองวงเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดแก่เจ้าหนี้เดิมแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยในวงเงินตามตั๋วเงินบางส่วนเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 และชำระดอกเบี้ยในวงเงินกู้ยืมเพียงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2540 ยังคงมีต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชำระเป็นต้นมา เจ้าหนี้เดิมทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หลายครั้งแล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัด แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันดังกล่าวหรืออย่างช้าสำหรับหนี้วงเงินสินเชื่อในวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคือ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 ส่วนวันที่ 18 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยตามรายงานภาระหนี้ก็เป็นเพียงวันที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาภายหลังจากมีการบังคับรับโอนทรัพย์หลักประกันแล้วเท่านั้น หาใช่เป็นวันที่ผิดนัดไม่ ลำพังที่โจทก์บังคับรับโอนทรัพย์หลักประกันฝ่ายเดียวเพื่อนำเงินมาหักชำระหนี้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่ลูกหนี้ที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องวันที่ 31 มีนาคม 2553 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้วงเงินสินเชื่อ และหนี้เงินกู้พ้นระยะเวลา 10 ปี และ 5 ปี ตามลำดับแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่การพิจารณาคดีล้มละลายตามกฎหมายล้มละลาย ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ว่าคดีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ เมื่อหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 94 (1) ถือได้ว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายตามมาตรา 14 ตอนท้าย ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่การพิจารณาคดีล้มละลายตามกฎหมายล้มละลาย ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ว่าคดีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ เมื่อหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 94 (1) ถือได้ว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายตามมาตรา 14 ตอนท้าย ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28