พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3328/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเฉพาะบางฐานความผิด คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) (7) 339 วรรคท้าย เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) (6) (7) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ริบของกลาง โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นด้วยเฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (6) (7) 339 วรรคท้าย และโทษที่ลงแก่จำเลย แต่ไม่เห็นพ้องด้วยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนทุกฐานความผิด คดีเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองแล้ว จำเลยย่อมฎีกาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุน vs. ตัวการร่วม: ความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 2 ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 1 และ ส. มาก่อนเกิดเหตุเพื่อที่จะมากระทำความผิด แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 และ ส. กระทำความผิดเอาทรัพย์ของผู้ตายไป จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์แยกทางออกไปก่อน ไม่ได้รออยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุที่จะมีเวลาเพียงพอที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และ ส. ในขณะกระทำความผิดได้ จึงไม่ใช่เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำอันจะเป็นตัวการในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และ ส. ได้ จำเลยที่ 2 คงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเท่านั้น หาใช่ร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป อันจะเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายืนโทษจำคุกตลอดชีวิต และวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องการเพิ่มโทษ
จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่ ป.อ. มาตรา 340 ตรี บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 โดยใช้อาวุธปืน ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ จะนำ ป.อ. มาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี เพื่อระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ จึงนำ ป.อ. มาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6317/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง, การเพิ่มโทษ, และการลงโทษกรรมต่างกันในคดีชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
อาวุธปืนพกของกลางและกระสุนปืนของกลางเป็นของผู้ตาย ส่วนเสื้อยืดของกลางเป็นของจำเลยที่ 2 แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบและมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 จึงไม่อาจริบได้
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำความผิด ต้องตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี แต่มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 339 วรรคท้าย กรณีไม่มีทางที่จะวางโทษกึ่งหนึ่งตามที่มาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ จึงนำมาตรา 340 ตรี มาบัญญัติด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 339 วรรคท้ายเท่านั้น
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ป.อ. มาตรา 91 ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ต้องเพิ่มโทษทุกกระทงของความผิด เว้นแต่ในความผิดฐานใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ที่ศาลชั้นต้นยกคำขอเพิ่มโทษ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212, 225
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำความผิด ต้องตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี แต่มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 339 วรรคท้าย กรณีไม่มีทางที่จะวางโทษกึ่งหนึ่งตามที่มาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ จึงนำมาตรา 340 ตรี มาบัญญัติด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 339 วรรคท้ายเท่านั้น
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ป.อ. มาตรา 91 ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ต้องเพิ่มโทษทุกกระทงของความผิด เว้นแต่ในความผิดฐานใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ที่ศาลชั้นต้นยกคำขอเพิ่มโทษ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาบาดแผลและการเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ
จำเลยชิงทรัพย์ผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้าย แพทย์ตรวจบาดแผลในชั้นแรกระบุว่ามีบาดแผลที่หางคิ้ว ศีรษะด้านหน้า โคนลิ้นด้านล่างแขนซ้ายบวมช้ำแดง สมองได้รับการกระทบกระเทือนเล็กน้อย รักษาตัวในโรงพยาบาล 37 วัน แล้วถึงแก่ความตาย ระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้รับอุบัติเหตุเพิ่มเติม แพทย์ตรวจชันสูตรพลิกศพพบว่าซี่โครงหัก 6 ซี่ มีน้ำในช่องปอดระบุว่าผู้ตายถูกทำร้ายได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง และลำตัวบอบช้ำมากเชื่อได้ว่าเกิดจากการทำร้ายของจำเลย ประกอบกับชราภาพอาการบาดเจ็บทรุดหนักทำการรักษาลำบาก หากชราภาพและไม่ได้รับการกระทบกระเทือนก็จะไม่ตาย ดังนี้เห็นได้ว่าการตายเป็นผลจากการประทุษร้ายของจำเลยซึ่งเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 63 จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษชิงทรัพย์จนผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้ไขโทษโดยไม่นำมาตรา 340 ตรี มาปรับใช้
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยโดยเห็นว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่า หรือหนักขึ้นกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ได้อีก จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสุดท้าย เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีฆ่าและชิงทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 และฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้คนตายตามมาตรา 339 วรรคท้าย ประกอบกับมาตรา 340 ตรี แล้วให้ลงโทษตามมาตรา 288 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะความผิดตามมาตรา 339 วรรคท้ายประกอบกับมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษสูงกว่าความผิดตามมาตรา 288ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียว แต่ต้องลงโทษบทหนัก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขวางบทลงโทษให้ถูกต้องโดยไม่ลงโทษสูงกว่าเดิมได้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 และที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปโดยผิดกฎหมายลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง จำคุก 1 ปี และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371ปรับ 100 บาท นั้นก็ยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงแก่จำเลยทั้งสอง คือ พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเสียด้วย และเหตุดังกล่าวข้างต้นอยู่ในส่วนลักษณะคดีให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าเพื่อชิงทรัพย์: การพิจารณาความผิดฐานฆ่าเพื่อประประโยชน์ทางทรัพย์สิน
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์ผู้ตาย และในการชิงทรัพย์นี้จำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิง จำเลยที่ 2 ใช้มีดฟันผู้ตาย แม้จำเลยทั้งสองจะกระทำไปโดยประสงค์จะชิงทรัพย์ของผู้ตายก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันจำเลยทั้งสองก็มีเจตนาฆ่าผู้ตายด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้ตาย เพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยทั้งสองได้กระทำการชิงทรัพย์เพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองได้กระทำไว้ตาม ป.อ. มาตรา 289(7)อีกบทหนึ่งด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตาม ม.339 และ ม.340 ตรี ไม่ใช่การเพิ่มโทษ แต่เป็นการรับโทษหนักขึ้น จึงใช้ ม.51 เปลี่ยนโทษไม่ได้
กรณีการรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีเป็นคนละเรื่องกับการเพิ่มโทษ และหาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่(นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 234/2521) จึงจะนำมาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เป็นโทษจำคุก 50ปีไม่ได้
จำเลยได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก50 ปีไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่าหรือหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี บัญญัติไว้จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสุดท้าย
มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้นลำพังแต่เพียงมาตรานี้โดยเฉพาะแล้วหาได้เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่
จำเลยได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก50 ปีไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะระวางโทษหนักกว่าหรือหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี บัญญัติไว้จึงนำมาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสุดท้าย
มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้นลำพังแต่เพียงมาตรานี้โดยเฉพาะแล้วหาได้เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่