พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: สิทธิในการยกข้อต่อสู้ตามกฎหมาย และข้อยกเว้นในคดีมรดก
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน อ. แม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็เป็นการยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 691มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 291 จำเลยคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เท่านั้นนอกนั้นมิได้เสียสิทธิของผู้ค้ำประกันตามบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิตามมาตรา 694ที่ยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่จะแสดงให้เห็นว่าข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ซึ่งค้ำประกันจะยกขึ้นได้ ต้องไม่เกี่ยวกับเรื่องอายุความมรดกทั้งคดีนี้ไม่ใช่คดีมรดกเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยย่อมใช้สิทธิตามมาตรา 694 ได้จึงไม่เกี่ยวกับว่าจำเลยจะเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1755 หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของ อ. ภายใน 1 ปีนับแต่ทราบว่า อ. ถึงแก่ความตาย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ. จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1754 วรรคสามจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น หาใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในการเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่ ผู้ค้ำประกันจึงเพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ดังนี้เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ ส.ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754วรรคสาม แล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ส.ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คดีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกจะต้องฟ้องร้องภายกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีไม่
คดีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกจะต้องฟ้องร้องภายกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันสามารถยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ และมีระยะเวลาฟ้องร้องหลังลูกหนี้เสียชีวิต
ผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาของลูกหนี้เพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อกองมรดกของลูกหนี้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันสามารถยกอายุความได้เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องล่าช้า
โจทก์ไม่ได้ฟ้องทายาทของ ต. ลูกหนี้ ภายใน 1 ปี นับแต่ทราบถึงความตายของ ต. เป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1754 วรรคสาม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีเช่นนี้ จำเลยอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 694
สัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่ประการใด ข้อตกลงที่ว่าหาก ต. ถึงแก่กรรมจำเลยก็จะชำระหนี้แทน ไม่ใช่ข้อยกเว้น ที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่ประการใด ข้อตกลงที่ว่าหาก ต. ถึงแก่กรรมจำเลยก็จะชำระหนี้แทน ไม่ใช่ข้อยกเว้น ที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ถึงแก่กรรม
สัญญาค้ำประกันระบุไว้เพียงว่าหาก ต. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ดี ถึงแก่กรรมก็ดี ไปจากถิ่นฐานที่อยู่ หรือหาตัวไม่พบก็ดี หรือมีกรณีอื่นใด อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับชดใช้เงินแล้วจำเลยจะเป็น ผู้รับผิดชอบชดใช้แทนให้จนครบจำนวนโดยไม่ได้มีข้อความ ระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ข้อตกลงที่ว่าหาก ต. ถึงแก่กรรมจำเลยจะชำระหนี้แทนไม่ใช่ข้อยกเว้นที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เมื่อ ต. ถึงแก่ความตาย จำเลยผู้ค้ำประกันจึงยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ถึงแก่กรรม
สัญญาค้ำประกันระบุไว้เพียงว่าหากต. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ดีถึงแก่กรรมก็ดีไปจากถิ่นฐานที่อยู่หรือหาตัวไม่พบก็ดีหรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับชดใช้เงินแล้วจำเลยจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้แทนให้จนครบจำนวนโดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ข้อตกลงที่ว่าหากต.ถึงแก่กรรมจำเลยจะชำระหนี้แทนไม่ใช่ข้อยกเว้นที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้เมื่อต.ถึงแก่ความตายจำเลยผู้ค้ำประกันจึงยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสามขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้เดิม การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา
อ. ทำสัญญาโอนสิทธิในการรับเงินค่าจ้างที่จะได้รับจากจำเลยตามสัญญาจ้างให้โจทก์ โดย อ. มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยและจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้ความยินยอม การโอนหนี้ดังกล่าวจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306วรรคหนึ่ง และคู่กรณีย่อมเกิดสิทธิและหน้าที่ผูกพันกัน โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องเรียก อ. ผู้โอนเข้าเป็นคู่ความร่วม และกรณีเช่นนี้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่มีต่อ อ.ผู้โอนขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างของ อ. ผู้โอนขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เช่นเดียวกัน โจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน อ. ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่ อ. มีต่อจำเลยขึ้นต่อสู้จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 คณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยและได้ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานตามสัญญาจ้าง อ. หยุดงานก็เพราะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยสั่ง และเหตุที่สั่งก็เพราะราษฎรเริ่มทำนา ฝนตกเกิดอุทกภัยให้ระงับการก่อสร้างไว้จนกว่าชาวนาจะเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ และต่อมาได้แจ้งให้ อ. เข้าดำเนินการก่อสร้างต่อไปแล้ว ดังนั้นการหยุดงานดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดของ อ. ทั้งจำเลยเองก็ได้เสนอความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาให้แก่ อ. และขออนุมัติต่อสัญญาไปยังปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่า อ. เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ปัญหาว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างมีคำสั่งไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการก็ดี เมื่อสั่งให้หยุดงานแล้วไม่รายงานให้จำเลยทราบก็ดี เป็นเรื่องระหว่างคณะกรรมการตรวจการจ้างกับจำเลย จะยกขึ้นยัน อ. เจ้าหนี้หรือโจทก์ผู้รับโอนหนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดเริ่มเมื่อศาลตัดสินถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้นเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ได้ จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีเงื่อนไขคดีถึงที่สุด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากคำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นก็ได้จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผู้ค้ำประกันเช่าซื้อหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย และการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อของจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้วจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาดังนี้ หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่และกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม)และเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย หากโจทก์มิได้ฟ้องทายาทของจำเลยที่ 1 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1ถึงแก่ความตาย หนี้รายนี้ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันอาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 โดยไม่จำเป็นว่าจำเลยที่ 2จะต้องเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755 เท่านั้น