พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้มรดก-ผู้ค้ำประกัน: การรับสภาพหนี้ทำให้สะดุดอายุความ, แยกพิจารณาความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. และในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดชำระหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ กรณีต้องแยกวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยในแต่ละฐานะ สำหรับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อจำเลยลงชื่อรับสภาพหนี้ในสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ จ. จึงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเฉพาะในส่วนมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่จำเลยเท่านั้น สำหรับมรดกส่วนอื่นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่จ. ถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ส่วนการรับสภาพหนี้ของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันนั้นอายุความย่อมสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม จำเลยไม่อาจยกข้อต่อสู้ของกองมรดกของ จ.ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในเรื่องอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้มรดกและหนี้ค้ำประกัน: ผลของการรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ.และในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดชำระหนี้ที่ จ.เป็นหนี้โจทก์ กรณีต้องแยกวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยในแต่ละฐานะ สำหรับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อจำเลยลงชื่อรับสภาพหนี้ในสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ จ. จึงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเฉพาะในส่วนมรดกของ จ.ที่ตกได้แก่จำเลยเท่านั้นสำหรับมรดกส่วนอื่นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่ จ.ถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ส่วนการรับสภาพหนี้ของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม จำเลยไม่อาจยกข้อต่อสู้ของกองมรดกของ จ.ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในเรื่องอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: ใช้ระยะเวลาตามกฎหมายอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. จำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์ฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญาและศาลพิพากษาแล้วว่า ส. มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีจึงมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้อง ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ส. กระทำความผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำผิดจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน คดีนี้ใช้อายุความอาญามากกว่าอายุความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบรรยายแสดงสภาพข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินค่าขายสินค้าของโจทก์ไป เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษทางอาญา มีอายุความ 10 ปี กำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าอายุความละเมิด จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่อาจยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้เช่นเดียวกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าวันเวลาใดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุม จึงเป็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการชำระบัญชีบริษัท: นับแต่วันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ไม่ใช่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อายุความฟ้องเรียกหนี้สินในกรณีที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1272 ได้บัญญัติจำกัดอายุความฟ้องร้องไว้เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากบทบัญญัติในเรื่องอายุความทั่วไปที่ยาวกว่า และการเริ่มนับอายุความต้องถือตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตราดังกล่าว จะนำเอาหลักในเรื่องการนับอายุความทั่วไปในมาตรา 169 มาใช้ไม่ได้ กล่าวคือ ต้องนับระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ซึ่งวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีหมายถึงวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 หาใช่จะต้องนับระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีคือวันที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ เพราะการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 1021และมาตรา 1022 นั้น เป็นแต่เพียงให้ถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความที่ลงทะเบียนและนายทะเบียนได้แต่งย่อไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จะนำมาใช้กับการเริ่มนับอายุความที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1272 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เท่านั้นถึงแม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงการสละสิทธิในข้อต่อสู้ต่าง ๆในฐานะของผู้ค้ำประกันที่จะพึงมีตามกฎหมายไว้ ก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นความรับผิดเนื่องจากหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและการบังคับใช้กับผู้ค้ำประกัน: อายุความทางอาญาเหนือกว่าอายุความทางแพ่ง
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นขณะที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท แม้ภายหลังกฎหมายจะกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์10 บาท สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท นั้นก็ยังใช้ได้ไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์ฟ้องว่า ส. พนักงานของโจทก์ทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วหลบหนี เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิด มีโทษตาม ป.อ. มาตรา 352 ซึ่งมีอายุความ10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปีจึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในมูลหนี้ละเมิดที่ ส. ก่อขึ้น จึงใช้กำหนดอายุความ 10 ปี จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 694 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันและการใช้สิทธิไล่เบี้ย เมื่อโจทก์ละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 695 ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่จะอ้างขึ้นเถียงผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ไม่ให้ไล่เบี้ยลูกหนี้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัดร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: สิทธิการไล่เบี้ยและการใช้สิทธิของลูกหนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 695 ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่จะอ้างขึ้นเถียงผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้ว ไม่ให้ไล่เบี้ยลูกหนี้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียงร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ในกรณีที่โจทก์ถูกเรียงร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ลูกหนี้ของโจทก์แล้ว จำเลยจะเป็นผู้ชดใช้ให้โจทก์ จำเลยจึงไม่ใช่ตัวลูกหนี้ แต่เป็นผู้ทำสัญญาผูกพันไว้กับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก จะใช้สิทธิของลูกหนี้ตามมาตรา 695 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ำประกันและอายุความ: ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้แทนโจทก์ภายใน 10 ปีนับจากวันทำสัญญาค้ำประกัน คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ขายลดตั๋วเงินแก่ธนาคาร โจทก์ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินและค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โจทก์ใช้หนี้แก่ธนาคารตามที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อธนาคารไป จำเลยที่ 2 ต้องใช้หนี้นั้นแก่โจทก์ อายุความระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน