พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8545/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ของลูกจ้างและการปรับบทลงโทษ - การครอบครองทรัพย์ของนายจ้างชั่วคราว
เหตุเกิดขึ้นระหว่างตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และเขตราษฎร์บูรณะกรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน จำเลยทั้งสองถูกจับกุมในท้องที่อำเภอสิเกา จึงเป็นกรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และฐานทำให้เสียทรัพย์กระทำในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสิเกา ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับจำเลยทั้งสองได้ย่อมเป็นผู้รับผิดชอบและมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (1) และวรรคสอง (ก)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์คือน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองเอาน้ำผสมลงในน้ำมันปาล์ม ทำให้ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดระหว่างเส้นทางตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจได้แล้วว่าเหตุลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางจากตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ถึงเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทางดังกล่าว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม ทำหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมจากอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ไปส่งแก่ลูกค้าที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยทั้งสองครอบครองน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมขณะเดินทางเป็นเพียงการครอบครองแทนโจทก์ร่วมไว้ชั่วคราวชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น การครอบครองน้ำมันปาล์มโดยแท้จริงยังอยู่ที่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยทั้งสองเอาน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมไป จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์คือน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองเอาน้ำผสมลงในน้ำมันปาล์ม ทำให้ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดระหว่างเส้นทางตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจได้แล้วว่าเหตุลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์เกิดขึ้นระหว่างเส้นทางจากตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ถึงเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทางดังกล่าว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม ทำหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมจากอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ไปส่งแก่ลูกค้าที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยทั้งสองครอบครองน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมขณะเดินทางเป็นเพียงการครอบครองแทนโจทก์ร่วมไว้ชั่วคราวชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น การครอบครองน้ำมันปาล์มโดยแท้จริงยังอยู่ที่โจทก์ร่วม เมื่อจำเลยทั้งสองเอาน้ำมันปาล์มของโจทก์ร่วมไป จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่งดสืบพยานชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้ถูกบังคับยกเหตุขัดแย้งคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการได้ และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาต้องห้าม
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนไม่เกินร้อยละ 5 และได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้สามารถทำได้แต่อนุญาโตตุลาการกลับวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทไปโดยไม่นำข้อกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านต่อศาลชั้นต้นอย่างชัดแจ้งแล้วย่อมมีสิทธินำสืบพิสูจน์เพื่อให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 และเป็นการคัดค้านไม่ตรงประเด็น ไม่มีประเด็นที่ผู้คัดค้านจะนำสืบพิสูจน์ แล้วให้งดการสืบพยานเป็นการไม่ชอบ เป็นอุทธรณ์ในทำนองว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานของผู้คัดค้าน เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดี คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาล และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วให้รีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษาโดยพลัน และศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ โดยเหตุแห่งการปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ได้แก่ เหตุที่คู่ความต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามมาตรา 43 ประการหนึ่ง และเหตุที่ศาลอาจยกขึ้นได้เองตามมาตรา 44 อีกประการหนึ่ง ผู้ซึ่งจะต้องถูกบังคับย่อมมีสิทธิยกข้อที่จะเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้คัดค้านคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้และศาลต้องทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นหรือไม่
ผู้คัดค้านอุทธรณ์กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยานของผู้คัดค้านโดยมีคำขอเพียงให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้ผู้คัดค้านชนะคดีตามคำคัดค้าน แม้จะโต้แย้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการอุทธรณ์คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 42 บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาล และเมื่อศาลได้รับคำร้องแล้วให้รีบทำการไต่สวนและมีคำพิพากษาโดยพลัน และศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ โดยเหตุแห่งการปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ได้แก่ เหตุที่คู่ความต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามมาตรา 43 ประการหนึ่ง และเหตุที่ศาลอาจยกขึ้นได้เองตามมาตรา 44 อีกประการหนึ่ง ผู้ซึ่งจะต้องถูกบังคับย่อมมีสิทธิยกข้อที่จะเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้คัดค้านคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้และศาลต้องทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นหรือไม่
ผู้คัดค้านอุทธรณ์กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งงดสืบพยานของผู้คัดค้านโดยมีคำขอเพียงให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ มิได้มีคำขอให้ผู้คัดค้านชนะคดีตามคำคัดค้าน แม้จะโต้แย้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการอุทธรณ์คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการมอบหมายและตัวแทน กรณีละเมิดจากการดูแลความปลอดภัยในศูนย์การค้า
โจทก์นำสืบเพียงว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ลานจอดรถชั้นเกิดเหตุโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดูแลรักษาความปลอดภัยตามหน้าที่ของตนแก่รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเป็นเหตุให้มีคนเข้ามาลักรถยนต์คันดังกล่าว หรือมีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนในขณะเกิดเหตุตามฟ้องโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยหายไป จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11166/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณสารบริสุทธิ์ยาเสพติดและการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10,000 เม็ด ให้แก่สายลับ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 50,000 เม็ด ที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีน้ำหนัก 4,573.015 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 574.911 กรัม ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) และเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50,000 เม็ด ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) และตามรายงานการตรวจพิสูจน์เมทแอมเฟตามีนของกลาง ซึ่งจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบโต้แย้งคัดค้าน เมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 50,000 เม็ด ตรวจพบปริมาณเมทแอมเฟตามีนไฮไดรคลอไรด์คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 574.911 กรัม และมีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ 4.530 กรัม ปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนตามรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าว เป็นการนำเมทแอมเฟตามีนบางส่วนตรวจพิสูจน์หาปริมาณสารบริสุทธิ์แล้วจึงนำผลที่ได้มาคำนวณหาปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 5,000 เม็ด ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่กำหนดปริมาณสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษโดยการคำนวณ เมื่อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10,000 เม็ด เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50,000 เม็ดของกลางจึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10,000 เม็ดดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 114.982 กรัม ซึ่งเกินกว่าร้อยกรัม โดยไม่มีข้อสงสัยว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวอาจมีส่วนผสมที่แตกต่างกับเมทแอมเฟตามีนส่วนอื่นที่จะทำให้ปริมาณสารบริสุทธิ์คำนวณได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม กรณีจึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งความผิดตามมาตรานี้มีโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสี่ฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนคนละ 15 ปี จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำคุกเกินกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10787/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างละเว้นหน้าที่รายงานการขายรถยนต์ ทำให้เกิดการทุจริต และร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ดูแลการขายรถยนต์และรับเงินค่าขายรถยนต์จากลูกค้าของโจทก์ร่วม การที่จำเลยปกปิดข้อเท็จจริง ละเว้นไม่รายงานจำนวนรถยนต์ของโจทก์ร่วมที่ขายให้แก่ลูกค้าและไม่รายงานการนำรถยนต์ออกไปจากโกดังตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจนทำให้การกระทำความผิดสำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการ แม้ต่อมาภายหลังจะรายงานจำนวนรถยนต์ต่อโจทก์ร่วมตามความเป็นจริง ก็เป็นการรายงานหลังจากที่ตรวจพบถึงการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ไม่อาจทำให้การกระทำของจำเลยกลับกลายไม่เป็นความผิด
ส. และจำเลยรับมอบเงินค่าขายรถยนต์ของโจทก์ร่วมจากลูกค้า เป็นเพียงการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วมและยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยร่วมกับพวกเอาเงินดังกล่าวของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก มิใช่เป็นความผิดฐานยักยอก
แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจะแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียด มิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ส. และจำเลยรับมอบเงินค่าขายรถยนต์ของโจทก์ร่วมจากลูกค้า เป็นเพียงการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วมและยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยร่วมกับพวกเอาเงินดังกล่าวของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก มิใช่เป็นความผิดฐานยักยอก
แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจะแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียด มิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนเถื่อนในครอบครอง และการแก้ไขโทษจากศาลอุทธรณ์
ข้อหาพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 และ ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ปรับ 50 บาท จึงเป็นกรณีแก้ไขมาก แต่ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ต้องฟังว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ต้องฟังว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานเล่นการพนันในบริษัท ถือเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์กับเพื่อนพนักงานรวม 7 คน ร่วมกันเล่นการพนันในบริเวณบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เป็นการกระทำฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าพนักงานต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่ประพฤติตนไปในทางนำความเสื่อมเสียมาสู่ตนและหมู่คณะ ต้องไม่กระทำการผิดกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนาถึงแม้ว่าจะไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม ต้องไม่เล่นการพนันขันต่อทุกชนิด การฝ่าฝืนมีโทษทางวินัยโดยการไล่ออก การเล่นการพนันนอกจากเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดอาชญากรรม เป็นชนวนให้เกิดการวิวาทบาดหมางในหมู่ลูกจ้างด้วยกัน ทำลายความสามัคคีของหมู่คณะ ทั้งยังทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำผิดครั้งแรกและโจทก์สำนึกผิดหรือไม่ก็ตาม การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นเพียงการกระทำผิดวินัยที่ทำให้เสียหายด้านชื่อเสียงต่อจำเลยเพียงอย่างเดียวอันจะลงโทษด้วยการตักเตือนเท่านั้น แต่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: รวมคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเป็นคดีเดียวได้ หากมูลหนี้เกี่ยวข้องกันและเกิน 300,000 บาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกัน และมูลคดีล้วนเนื่องมาจากการขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และผู้คัดค้านโต้แย้งว่าผู้คัดค้านถอนตัวจากความผูกพันตามสัญญาระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยแล้ว อนุญาโตตุลาการจึงไม่มีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณาและชี้ขาด ดังนั้น ประเด็นสำคัญแห่งคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 23 คำชี้ขาด จึงเป็นเรื่องเดียวกัน มูลหนี้ที่ผู้ร้องนำมาร้องขอบังคับในคดีนี้จึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ เมื่อมูลหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 23 คำชี้ขาด รวมกันเป็นเงินเกินกว่า 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่จะพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและการพาอาวุธปืนในทางสาธารณะ
จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุสมควร แต่เมื่อไม่ได้อาวุธปืนที่จำเลยใช้กระทำความผิดมาเป็นของกลาง จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 วรรคสาม
จำเลยด่าว่าผู้เสียหายพร้อมกับขู่ว่าจะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเป็นการกระทำในคราวเดียวโดยมีเจตนาเพื่อดูหมิ่นและทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือตกใจ จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จำเลยด่าว่าผู้เสียหายพร้อมกับขู่ว่าจะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเป็นการกระทำในคราวเดียวโดยมีเจตนาเพื่อดูหมิ่นและทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือตกใจ จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16023-16031/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการประเมินผลการทำงานที่ไม่ขัดต่อข้อตกลงสภาพการจ้าง นายจ้างมีอำนาจบริหารจัดการ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 10 กับพนักงานของจำเลยอีกส่วนหนึ่งตกลงกับจำเลยว่าหากมีการหยุดงานตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป ถ้าป่วยแต่ละครั้งหากไม่ไปพบแพทย์เพื่อรักษา ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงจะทำการตัดคะแนนประเมินผลครั้งละ 10,000 คะแนน ข้อตกลงของโจทก์ดังกล่าวกับจำเลยในลักษณะเช่นนี้มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่เป็นเพียงวิธีการเปลี่ยนแปลงแบบวิธีการประเมินตามที่ตกลงกันใหม่เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องของอำนาจการบริหารจัดการของนายจ้างที่สามารถกระทำได้ ทั้งเป็นการตกลงก่อนที่จำเลยกับสหภาพแรงงาน ส. และสหภาพแรงงานพนักงาน ส. จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับที่ 23 พฤศจิกายน 2549 เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 10 ยอมรับข้อตกลงแล้วก็ต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง