คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร ทรงฤกษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษและขอบเขตการอุทธรณ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ชัดเจนว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังจำเลยแทน แม้โทษที่จะรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้จะต้องเป็นโทษจำคุกเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุกก็เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังก็หาได้เป็นคำพิพากษาที่มิชอบไม่ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดเจนโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เหตุจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 162,000 บาท คงมีแต่โจทก์ที่อุทธรณ์ ส่วนที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 270,000 บาท จำเลยที่ 1 ฎีกา ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีส่วนต่างระหว่างจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีเจตนาแปลงหนี้ และการขู่ว่าจะดำเนินคดีอาญาไม่ถือเป็นการข่มขู่
บุตรจำเลยเช่ารถยนต์รวม 3 คัน ซึ่งเป็นของโจทก์ ส. และ น. บุตรจำเลยกลับนำรถยนต์ไปจำนำผู้มีชื่อแล้วไม่สามารถนำรถยนต์มาคืนเพราะไม่มีเงินค่าไถ่รถที่จำนำไว้ โจทก์แจ้งความเพื่อนดำเนินคดีแก่บุตรจำเลย ก. บุตรเขยแจ้งแก่จำเลยว่า ว. ได้นำรถของโจทก์ไปจำนำไว้และได้มีการแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว ขอให้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินพิพาทเกี่ยวกับการที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน เนื่องจากจำเลยเป็นมารดาของ ว. ซึ่งเช่ารถยนต์ของโจทก์กับพวกไปและนำรถไปจำนำแล้วไม่มีเงินค่าไถ่รถยนต์คืน โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาบุตรสาวจำเลยและได้เจรจากัน ต่อมาจำเลยจึงได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ การที่โจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่บุตรของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริต อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 สัญญากู้ยืมเงินจึงมีผลใช้บังคับได้ และการที่จำเลยซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์มาทำสัญญากู้เนื่องจากบุตรจำเลยมีหนี้กับโจทก์เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงใช้บังคับได้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญากู้พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการรับช่วงสิทธิ ผู้ค้ำประกันไม่อาจไล่เบี้ยหากไม่ยกข้อต่อสู้
จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่า คดีที่ธนาคาร ก. ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การในคดีนั้นว่าขาดอายุความอย่างใดบ้าง คดีจะฟังว่าโจทก์ยอมชำระหนี้แก่ธนาคารทั้ง ๆ ที่จำเลยให้การและนำสืบอยู่ว่าคดีขาดอายุความ และโจทก์ทราบดีแล้วว่าสิทธิเรียกร้องของธนาคารขาดอายุความ อันจะถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ธนาคารตาม ป.พ.พ. มาตรา 695 ยังไม่ได้
เมื่อ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ได้หักเงินค่าขายไก่ของจำเลยไว้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารครบถ้วนแล้ว แต่ ว. กลับมิได้นำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร ก. ตามที่จำเลยค้างชำระต่อธนาคาร โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันรับผิดในการกระทำของ ว. ด้วย การที่ธนาคาร ก. ได้ฟ้องจำเลยและโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1486/2545 ของศาลชั้นต้น และโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปถือว่าเป็นการชำระหนี้แทนจำเลยตามจำนวนที่ ว. ตัวแทนของโจทก์ได้รับเอาไป มิใช่เป็นการชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิจากธนาคารมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3156/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดิน การรวมแปลงขายกับการสะดวกในการขาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามฎีกา
เมื่อจำเลยทั้งสองร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินสองแปลงรวมกัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามและจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาด ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการขายทอดตลาดโดยวิธีแยกขายตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการย่อมเป็นการสะดวกและอาจขายได้โดยง่ายกว่าการรวมขายจึงให้ยกคำร้องแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคท้าย
of 19