พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9770/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการได้รับใบสำคัญแสดงการทำงานและดอกเบี้ยเงินประกันการทำงานหลังลาออก
หลังจากการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงด้วยการลาออก จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ขอ โจทก์ชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 585
ที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินประกัน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันลาออกจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่ตรงกับเนื้อหาส่วนคำวินิจฉัยที่ให้จ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามฟ้อง ทั้งเมื่อโจทก์ลาออกมีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2552 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันลาออกดังกล่าว คือต้องคืนเงินประกันการทำงานภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 หากจำเลยที่ 1 ไม่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายในวันดังกล่าวจะต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 10 วรรคสอง กรณีดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 จ่ายคืนเงินประกันการทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินประกัน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันลาออกจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่ตรงกับเนื้อหาส่วนคำวินิจฉัยที่ให้จ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามฟ้อง ทั้งเมื่อโจทก์ลาออกมีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2552 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันลาออกดังกล่าว คือต้องคืนเงินประกันการทำงานภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 หากจำเลยที่ 1 ไม่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายในวันดังกล่าวจะต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 10 วรรคสอง กรณีดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 จ่ายคืนเงินประกันการทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตัดสิทธิลูกจ้างที่ลาออกโดยไม่ออกจากงานชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงาน จำเลยจ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมให้โจทก์ทั้งสาม แต่ไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับในวันที่ 28 มกราคม 2551 แต่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับจดทะเบียนการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ว่าสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ทำให้การแก้ไขข้อบังคับมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2550 ตามมาตรา 9 วรรคสอง โจทก์ที่ 1 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 จึงตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบตามข้อบังคับที่แก้ไขนั้น
เดิมบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการแก่พนักงานเมื่อตายหรือออกจากงาน ต่อมามีการจัดตั้งจำเลยโดยศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการจัดตั้งจำเลยก็เพื่อนำมาใช้ทดแทนการจ่ายเงินบำเหน็จที่ยกเลิกไป และข้อบังคับของจำเลยทุกฉบับมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ ตลอดจนเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย หรือไร้ความสามารถ หรือลาออก หรือครบเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง ยืนยันให้เห็นว่าจำเลยถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อออกจากงานเท่านั้น การที่จำเลยแก้ไขข้อบังคับให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ แต่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมในส่วนของตนจนเต็มจำนวน จึงเป็นการแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งจำเลยตามที่ปรากฏในข้อบังคับ ไม่ใช่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพที่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การแก้ไขข้อบังคับของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบด้วยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานหลังจากมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบเช่นกัน
แม้มาตรา 5 ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่ากองทุนจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างลาออกซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนก็ตาม แต่การจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพต้องปฏิบัติตามมาตรา 23 ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติให้ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ผู้จัดการกองทุนของจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับในวันที่ 28 มกราคม 2551 แต่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับจดทะเบียนการแก้ไขข้อบังคับของจำเลยที่ว่าสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ทำให้การแก้ไขข้อบังคับมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2550 ตามมาตรา 9 วรรคสอง โจทก์ที่ 1 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 จึงตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ตามข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบตามข้อบังคับที่แก้ไขนั้น
เดิมบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการแก่พนักงานเมื่อตายหรือออกจากงาน ต่อมามีการจัดตั้งจำเลยโดยศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสาเหตุการจัดตั้งจำเลยก็เพื่อนำมาใช้ทดแทนการจ่ายเงินบำเหน็จที่ยกเลิกไป และข้อบังคับของจำเลยทุกฉบับมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออมทรัพย์ ตลอดจนเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวเมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย หรือไร้ความสามารถ หรือลาออก หรือครบเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง ยืนยันให้เห็นว่าจำเลยถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อออกจากงานเท่านั้น การที่จำเลยแก้ไขข้อบังคับให้สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ แต่ยังคงมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์อันเกิดจากเงินสะสมในส่วนของตนจนเต็มจำนวน จึงเป็นการแก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งจำเลยตามที่ปรากฏในข้อบังคับ ไม่ใช่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพที่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การแก้ไขข้อบังคับของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบด้วยมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยโดยไม่ออกจากงานหลังจากมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (8) ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบเช่นกัน
แม้มาตรา 5 ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่ากองทุนจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างลาออกซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนก็ตาม แต่การจ่ายเงินให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพต้องปฏิบัติตามมาตรา 23 ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติให้ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ผู้จัดการกองทุนของจำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของหลานฟ้องย่า: มาตรา 1562 ป.พ.พ. ห้ามฟ้องบุพการี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้" เช่นนี้ แม้โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของจ่าสิบเอก ม. ผู้ตายแทนที่ร้อยตำรวจตรี ม. บิดาของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย และมีสิทธิเรียกร้องในอันที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นย่าของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในทางแพ่งได้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 352, 353, 354 เพื่อที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษในทางอาญานั้น ย่อมเท่ากับเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในทางอาญาเป็นส่วนตัว เพราะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ได้กระทำผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและต้องรับโทษในทางอาญาย่อมต้องรับโทษเป็นส่วนตัว เนื่องจากสภาพบังคับในทางอาญาสำหรับความผิดตามฟ้องไม่มีการรับโทษในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกเหมือนเช่นความรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกในทางแพ่ง คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทลุม ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบุพการีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อบุพการี: คดีอุทลุมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
การที่โจทก์ซึ่งเป็นหลานฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นย่าของตนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้" เช่นนี้ แม้โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของจ่าสิบเอก ม. ผู้ตายแทนที่ร้อยตำรวจตรี น. บิดาของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย และมีสิทธิเรียกร้องในอันที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นย่าของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในทางแพ่งได้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 352, 353, 354 เพื่อที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษในทางอาญานั้น ย่อมเท่ากับเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในทางอาญาเป็นส่วนตัว เพราะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ได้กระทำผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและต้องรับโทษในทางอาญาย่อมต้องเป็นการรับโทษเป็นส่วนตัว เนื่องจากสภาพบังคับในทางอาญาสำหรับความผิดตามฟ้องไม่มีการรับโทษในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกเหมือนเช่นความรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกในทางแพ่ง คดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีอุทลุม ซึ่งต้องห้ามมิให้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19416/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: สิทธิเรียกร้องต่างมูลหนี้จากการเลิกจ้างและการทำงาน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอเรียกเงินที่เกี่ยวเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นค่าเสียหายที่มีมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการเลิกจ้าง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ทำงานในตำแหน่งเลขานุการผู้อำนวยการโรงเรียนและค่าเสียหายที่จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเมื่อโจทก์ปฏิบัติงานให้แก่จำเลย จึงเป็นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ต่างรายกัน คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ใช่ฟ้องซ้อนคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18891-18896/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร แม้เกิดเหตุน้ำท่วม นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ช่วงเวลาที่ศูนย์เครื่องจักรที่โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานรวมทั้งบ้านพักอาศัยและบริเวณรอบบ้านพักอาศัยของโจทก์ทั้งหกถูกน้ำท่วมสูงและขังนั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้ประกาศหยุดงาน จำเลยจัดหาที่พักชั่วคราวให้ลูกจ้างที่บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมที่ศูนย์ราชการถนนแจ้งวัฒนะ หมู่บ้านสรานนท์ปากเกร็ด และโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงินวัดกำแพง จังหวัดนนทบุรี และมีศูนย์บัญชาการสั่งงานและให้ลูกจ้างมารวมตัวที่หมู่บ้านสรานนท์ปากเกร็ด แม้โจทก์ทั้งหกไม่ได้เข้าพักอาศัยในที่พักอาศัยชั่วคราวที่จำเลยจัดให้ โจทก์ทั้งหกก็ยังมีหน้าที่ต้องไปทำงานหรือรวมตัวกันตามคำสั่งของจำเลย การที่โจทก์ทั้งหกไม่เดินทางไปทำงานโดยไม่แจ้งสาเหตุให้จำเลยทราบเป็นเวลา 3 วันทำงาน ติดต่อกัน แสดงว่าโจทก์ทั้งหกคำนึงถึงความจำเป็นของตนเป็นประการสำคัญโดยไม่สนใจงานที่ต้องทำให้จำเลยหรือความเดือดร้อนของจำเลยที่มีสาเหตุจากน้ำท่วมใหญ่เช่นเดียวกัน เป็นกรณีโจทก์ทั้งหกละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17023/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: การจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ดอกเบี้ยผิดนัด และการแก้ไขคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 ถึงวันที่การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 8 ธันวาคม 2553 พร้อมระบุจำนวนเงินค่าจ้างค้างจ่ายทั้งหมด จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมตรวจสอบได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์ทำงานให้แก่จำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าจ้างโจทก์แล้วหรือยังและค้างจ่ายค่าจ้างตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างก็ย่อมเป็นผลจากการตรวจสอบรายละเอียดการทำงานและการจ่ายค่าจ้างแล้ว ทั้งรายละเอียดค่าจ้างค้างจ่ายแต่ละเดือนนั้น โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ถือว่าคำฟ้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ทำให้จำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี" ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงมิอาจนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ที่จำเลยแถลงคัดค้านคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นเพียงการคัดค้านก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่ง แต่ภายหลังจากที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้ว จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงานกลาง ถือว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี" ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงมิอาจนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ที่จำเลยแถลงคัดค้านคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นเพียงการคัดค้านก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่ง แต่ภายหลังจากที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้ว จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงานกลาง ถือว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15913/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีข่มขืนกระทำชำเรา: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการระงับคดี
โจทก์บรรยายฟ้องในคำฟ้องอ้างเหตุที่เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะเป็นการโทรมหญิงเท่านั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายต่อหน้าธารกำนัล แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นต่อหน้าธารกำนัล ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แสดงว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดต่อหน้าธารกำนัล และเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณารับฟังไม่ได้ว่าการร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 มีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสาม คงเป็นความผิดตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น ย่อมตกลงยอมความกันได้ตามมาตรา 281 เมื่อมีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง ของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14275/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์: การแจ้งรายละเอียดทรัพย์ที่ไม่ถูกต้องไม่ทำให้การยึดทรัพย์เป็นโมฆะ หากขั้นตอนการยึดถูกต้องตามกฎหมาย
การยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำเอาหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณ สถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ถ้าหนังสือสำคัญยังไม่ได้ออก หรือนำมาแสดงไม่ได้ หรือหาไม่พบ ให้ถือว่าการที่ได้แจ้งการยึดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินนั้น เป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว" ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์แถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1374 พร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าว โดยผู้แทนโจทก์ระบุว่าเป็นทาวน์เฮาส์เลขที่ 6/8 ซึ่งผิดไปจากความจริง เพราะที่ถูกแล้วจะต้องเป็นทาวน์เฮาส์เลขที่ 6/4 นั้น จึงเป็นกรณีที่ผู้แทนโจทก์แถลงผิดพลาดไป แต่ก็หาทำให้การยึดเสียไปไม่ เพราะขั้นตอนการยึดได้กระทำโดยครบถ้วนตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14226-14228/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นการไม่ให้ทำงานและไม่จ่ายค่าจ้าง กรณีนี้จำเลยยังให้โอกาสปรับปรุงงาน โจทก์ไม่ประสงค์ทำงานต่อ จึงไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้างานเรียกโจทก์ทั้งสามไปตักเตือนเกี่ยวกับการทำงานและทำหนังสือทัณฑ์บนไว้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 มีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ภาคทัณฑ์โจทก์ทั้งสามเพื่อรอดูผลงานในอีก 1 เดือน หากระยะเวลาภาคทัณฑ์สิ้นสุดลงและผลงานไม่ประสบความสำเร็จ จำเลยที่ 1 จะพิจารณายกเลิกสัญญาจ้างเป็นรายบุคคลนั้น เป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทั้งสามทำงานต่อไปโดยให้โอกาสปรับปรุงการทำงานเป็นเวลา 1 เดือน เมื่อครบกำหนดจึงจะพิจารณาว่าสมควรเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามหรือไม่เท่านั้น แต่การที่โจทก์ทั้งสามแจ้งต่อลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ว่าจะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในหนังสือทัณฑ์บนนั้นแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป แม้ในวันดังกล่าวโจทก์ทั้งสามจะได้รับแจ้งด้วยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ให้โจทก์ทั้งสามเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานของจำเลยที่ 1 อีก และจะให้โจทก์ทั้งสามรวบรวมเฉพาะผลงานของตนเองเท่านั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้างานที่จะมอบหมายให้โจทก์ทั้งสามรับผิดชอบงานใดในระหว่างปรับปรุงการทำงานก็ได้ และแม้ต่อมาวันที่ 18 มิถุนายน 2551 โจทก์ทั้งสามจะได้รับแจ้งจากลูกจ้างจำเลยที่ 1 ตำแหน่งเลขานุการ ขณะที่กำลังรออยู่บริเวณชั้นล่างว่าโจทก์ทั้งสามไม่ต้องขึ้นไปทำงาน โจทก์ทั้งสามจึงเดินออกจากที่ทำงานไปแล้วไม่กลับมาทำงานอีก โดยในวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 โจทก์ทั้งสามขอเข้าพบจำเลยที่ 2 เพื่อขอทราบความชัดเจนว่าจะให้ทำงานต่อไปหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ยอมให้เข้าพบนั้น โจทก์ทั้งสามก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขอเข้าพบจำเลยที่ 2 เพื่อให้ยืนยันว่าประสงค์จะให้โจทก์ทั้งสามทำงานต่อไปอีกหรือไม่เพราะจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้แสดงเจตนาชัดแจ้งตามหนังสือทัณฑ์บนแล้วว่าให้โอกาสโจทก์ทั้งสามปรับปรุงการทำงานอีก 1 เดือน นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2551 จึงจะพิจารณาการทำงานต่อไปหรือบอกเลิกจ้างสัญญาจ้าง ส่วนการที่จำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสามถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ก็เป็นเพียงการจ่ายค่าจ้างตามกำหนดจ่ายซึ่งยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ให้โจทก์ทั้งสามปรับปรุงการทำงานเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงเจตนาว่าไม่ประสงค์ให้โจทก์ทั้งสามทำงานอีกต่อไปอย่างเด็ดขาดและไม่จ่ายค่าจ้างให้อันจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง พฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังประสงค์ให้โจทก์ทั้งสามทำงานต่อไปแต่โจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์ที่จะทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไปเองตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2551 กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม