พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3927/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ทรัพย์มรดกและสินส่วนตัว, ค่าเช่าทรัพย์สิน, ค่าใช้จ่ายครอบครัว, และหนี้สิน
โจทก์ฟ้องจำเลย ขอหย่า แบ่งสินสมรส เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร และเรียกทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันด้วยเหตุที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องผู้อื่นฉันภริยา ในเรื่องหย่ายุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ถึงแก่ความตาย ร. มารดาของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ สำหรับประเด็นที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าเลี้ยงชีพ ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นภริยาจะเรียกร้องจากจำเลยได้ เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนนี้ ส่วนประเด็นเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตร เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดาถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรย่อมตกแก่จำเลยที่เป็นบิดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (1) กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องอำนาจปกครองอีกต่อไป ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ในประเด็นดังกล่าว จึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะในประเด็นค่าเลี้ยงชีพ ค่าอุปการะ และอำนาจปกครองบุตร คงอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่เฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส และการเรียกทรัพย์คืนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าร้าง: บิดายังมีอำนาจ แม้มีประวัติอาชญากรรม การขอตั้งผู้ปกครองใหม่ไม่ชอบ
ผู้ร้องที่1และที่3เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราวซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585และ1586กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองแต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องก่อนที่ผู้ร้องที่1กับด. จดทะเบียนหย่าขาดกันอำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่1กับด. ตามมาตรา1566เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกันมาตรา1520วรรคหนึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่1และด. ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดแต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าผู้ร้องที่1กับด. เพียงตกลงกันให้ด. มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้นไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดอำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่1และด. ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสามและเมื่อด. ตายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1566(1)ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่าให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่1โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่าด. และพยายามฆ่าส. โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา1582บัญญัติไว้ผู้ร้องที่1ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585ขึ้นอีกได้เนื่องจากผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่1และที่3จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: บิดายังมีอำนาจ แม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอน
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราว ซึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 1585 และ 1586 กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้อง ก่อนที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.จดทะเบียนหย่าขาดกัน อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.ตามมาตรา1566 เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกัน มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่ 1 และ ด.ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด แต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.เพียงตกลงกันให้ ด.มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้น ไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด อำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่ 1 และ ด.ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสาม และเมื่อ ด.ตาย ป.พ.พ.มาตรา 1566 (1) ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่า ให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่ 1 โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่า ด.และพยายามฆ่า ส.โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา 1582 บัญญัติไว้ ผู้ร้องที่ 1 ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่ กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1585 ขึ้นอีกได้ เนื่องจากผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก