คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 84 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการก่อสร้างอาคาร, อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมดแม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆแทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมดและตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มว่าจำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองจำนวนเงินในศาลมีผลผูกพัน และข้อตกลงยกเว้นความรับผิดในกรณีกลฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อร้ายแรงใช้ไม่ได้
จำเลยแถลงต่อหน้าศาลว่าได้รับเงินจากโจทก์ 400,000 บาท ต่อมาจำเลยจะมาอ้างว่าแถลงด้วยความพลั้งเผลอไม่ได้เพราะกระบวนพิจารณาดังกล่าวได้ทำในศาลต่อหน้าโจทก์และจำเลย
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ระบุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่อาจจะมีขึ้นในปัจจุบันหรืออันจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีลักษณะเป็นความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้า จำเลยจะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดในกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายและคืนเงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดี: คำสั่งมอบอำนาจทั่วไปไม่เพียงพอ ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจเฉพาะเจาะจง
คำสั่งกรมตำรวจเรื่องมอบอำนาจให้หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าตำแหน่งรองผู้บังคับการหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดเป็น ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดตามคำสั่งของกรมตำรวจ ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84 จึงฟังไม่ได้ว่า พันตำรวจเอก ว. ดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือตำแหน่งเทียบเท่าตามคำสั่ง โจทก์จึงไม่อาจอ้างคำสั่งมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ส่วนหนังสือที่ผู้ช่วยโจทก์ ซึ่งปฏิบัติราชการแทนโจทก์ร่างเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยลงลายมือชื่อแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด มีข้อความตอนท้ายว่า "ดังนั้น ตามหนังสือที่อ้างถึง (2) เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งไปให้กรมตำรวจ พิจารณาแล้ว อธิบดีกรมตำรวจจะได้มอบอำนาจให้ผู้รับผิดชอบ ตามคำสั่งกรมตำรวจที่ 990/2535 เพื่อดำเนินคดีต่อไป"คำสั่งกรมตำรวจที่ 990/2535 ก็คือคำสั่งกรมตำรวจเรื่อง มอบอำนาจให้หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจตามข้อความในหนังสือ ข้างต้น โจทก์เองมิได้ถือว่าคำสั่งของโจทก์ที่ 990/2535 เป็นหนังสือมอบอำนาจ เพราะโจทก์จะต้องมอบอำนาจ ให้ผู้รับผิดชอบตามคำสั่งที่ 990/2535 อีกชั้นหนึ่ง พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่พอฟังว่าพันตำรวจเอก ว. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาในประเด็นนี้ แต่เป็นมูลหนี้ อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาการศึกษา, การชดใช้ทุน, อายุความเงินกู้: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการบังคับสัญญาและอายุความ
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการการเสนอคำฟ้องจึงต้องเสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แต่คดีนี้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างเขตอำนาจศาล โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้ตามมาตรา 5ส่วนที่สัญญาได้ระบุให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งนั้น ในขณะทำสัญญาอยู่ระหว่างการใช้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 เดิม ที่บัญญัติยอมให้คู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาลที่คู่ความระบุไว้ในสัญญาได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงชอบแล้ว ข้อกำหนดในสัญญาการรับทุนไปศึกษาและกลับมาทำงานสำหรับผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศข้อ 12 ที่ห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนสมรสตลอดระยะเวลาการศึกษาชั้นปริญญาเอก เมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดในสัญญาข้ออื่นเพียงแต่เป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในสัญญาซึ่งหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกเงินประเภทต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนไปเพื่อการศึกษาคืนเป็นจำนวน4 เท่าในทันที แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิตามสัญญาข้อดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกข้อกำหนดในสัญญาข้อนี้ออกจากข้อสัญญาอื่น ๆ เป็นการแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออกจากส่วนสมบูรณ์ ดังนั้น หนังสือสัญญาการรับทุนไปศึกษาข้ออื่น ๆ นอกจากข้อห้ามในข้อ 12จึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ต้องลงทุนเพื่อสนับสนุนบุคลากรผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศ โจทก์ย่อมมีความมั่นใจในชั้นต้นว่าผู้รับทุนจะกลับมาทำงานด้วยส่วนที่ตามสัญญาระบุระยะเวลาชดใช้ทุนต่างกันไป โดยให้ชดใช้ทุนชั้นปริญญาโท 3 เท่าแต่ชดใช้ทุนชั้นปริญญาเอก 4 เท่า ก็เนื่องจากโอกาสในการได้รับงานสถานที่อื่นหรือในต่างประเทศนั้น ผู้สำเร็จปริญญาเอกจะมีโอกาสมากกว่าผู้สำเร็จชั้นปริญญาโท ทำให้โอกาสในการผิดสัญญาของผู้รับทุนไปศึกษาชั้นปริญญาเอกมีมากขึ้นด้วยคู่สัญญาจะกำหนดระยะเวลาชดใช้ทุนมากขึ้นจากระยะเวลาชดใช้ทุนในชั้นปริญญาโทจึงมีเหตุผล การที่คู่สัญญาจะกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าดังกล่าวจึงกระทำได้ แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับลง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาโทเพียง 1 เท่าและร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาเอกเพียง 2 เท่า จึงเหมาะสมแล้ว ตามสัญญาการกลับมาทำงานได้ระบุชัดเจนว่า ระยะเวลาการชดใช้ทุน คือเวลากลับเข้าปฏิบัติงานในวิทยาลัยของโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่า กรณีจึงไม่อาจแปลไปได้ว่าระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกเป็นการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของโจทก์ด้วย ส่วนการที่สัญญาการรับทุนไปศึกษาระบุว่า ให้นับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเป็นอายุการทำงานของผู้รับทุนก็เป็นเรื่องการนับอายุงานซึ่งเป็นเรื่องอื่น ไม่อาจหมายความได้ว่าให้หมายถึงเป็นการชดใช้ทุนการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโทไปได้ ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ได้แบ่งยอดชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนออกเป็นงวด ๆ รวม 60 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 เป็นต้นไป จึงเป็นการผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเดือน โจทก์จึงผ่อนผันไม่หักเงินเดือนชำระหนี้ในระหว่างนั้นให้ จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ของคู่ความต่างไม่ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาเรื่องระยะเวลาชำระหนี้เป็นงวด ๆ ในขณะนั้น เป็นสาระสำคัญของสัญญาแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ชำระหนี้ในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือกลับมาทำงานกับโจทก์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับอายุความแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษามาแล้ว และไม่ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องภายใน 5 ปีได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในการต่อสู้คดีทำให้คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ทำให้ไม่ต้องนำสืบพยาน
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมดคงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงานกระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในการต่อสู้คดีและการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมด คงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงาน-กระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยจำเลยในชั้นพิจารณา และผลกระทบต่อการนำสืบพยานของโจทก์
คดีมีการชี้สองสถาน เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 (เดิม) จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบ เว้นแต่เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 ทวิ (เดิม)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ เอกสารค้ำประกันของจำเลยที่ 2ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ในขณะที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะไม่มีสิทธินำสืบพยาน แต่ในระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างตามฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของตน แต่คำฟ้องและคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังอยู่ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป การที่โจทก์ได้แถลงในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ตามฟ้องคดีนี้และหนี้อีกคดีหนึ่งเป็นเงิน 3,000,000 บาท เมื่อหักหนี้คดีอื่นออกแล้วคงเหลือเงินที่จะชำระหนี้คดีนี้อีก 2,000,000 บาทเศษ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 2 แล้วยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวถึงโจทก์จริง จึงต้องถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องของตนในส่วนนี้ และเอกสารดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 2
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องของตนซึ่งไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไปตามกฎหมาย ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 698

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกหลังการเสียชีวิต โดยมีประเด็นเรื่องการโอนทรัพย์สินก่อนการแบ่งมรดก และการตรวจสอบทรัพย์มรดกที่ยังไม่พบ
โจทก์ฟ้องว่านายป. และนางน. อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี2470และต่อมาปี2520จึงจดทะเบียนสมรสจำเลยที่2มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่านายป.และนางน.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พุทธศักราช2477เมื่อนางน. ได้ที่ดินมาในปี2500ซึ่งอยู่ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้จะมีชื่อนางน. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตามเมื่อนายป. ถึงแก่กรรมต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยนายป. ได้2ส่วนนางน. ได้1ส่วนส่วนของนายป.จึงเป็นมรดกแม้นางน.จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. ก็ไม่มีอำนาจยกที่ดินส่วนที่ตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ทายาทของนายป. ให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน แม้จำเลยที่2จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. และนางน.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกมาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตามก็เป็นเรื่องไม่กระทำตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกเท่านั้นเมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกจำพวกพระเครื่องพระบูชาสร้อยข้อมือทองคำสร้อยคอทองคำและแหวนเพชรอยู่ที่จำเลยที่2โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยที่2หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะภาพนิติกรรม, การบังคับตามสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และผลของการยอมรับสัญญา
ปัญหาที่ว่านิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่จำเลยที่4ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยที่4ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่4ระบุว่า"จำเลยที่4ยินยอมคืนเงินดาวน์จำนวน3,500,000บาทให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันที่9พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ เมื่อจำเลยที่4ให้การรับว่าจำเลยที่5ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริงโจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีกเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่4ยอมรับแล้วดังนั้นแม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องการอ้างโมฆะนิติกรรม, ดอกเบี้ยในสัญญา, และผลผูกพันสัญญาแม้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยที่ 4 ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยที่ 4 ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า "จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4
of 9