พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8267/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทนทายาท ต้องแบ่งปันให้ทายาทตามสิทธิ
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาทคือโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ตามป.พ.พ.มาตรา 1720 ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสองแปลงไว้ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วยตลอดมา จำเลยจะอ้างว่าจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่ผู้เดียวโดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือหาได้ไม่ หากจำเลยประสงค์จะครอบครองที่ดินแต่ผู้เดียว จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดกขึ้นต่อสู้เพื่อที่จะบอกปัดไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ และเมื่อถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแทนโจทก์ด้วยตลอดมาเช่นนี้แล้วคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5742/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลชื่อสินค้าเป็นภาษาไทยไม่ขัดแย้งถึงการว่าจ้างโฆษณา แม้จะมีความแตกต่างในการแปล และประเด็นอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์จัดการโฆษณาสินค้าโดยระบุรายการสินค้าที่โฆษณาเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH ซึ่งโจทก์แปลเป็นภาษาไทยว่าแชมพูมีโอ และโจทก์นำสืบว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าคือแชมพูยี่ห้อมีโอ โดยแปลภาษาอังกฤษคำว่าMEOBATHเป็นภาษาไทยว่าแชมพูมีโอ จำเลยนำสืบโดยอ้างใบเรียกเก็บเงินซึ่งระบุว่าสินค้าที่ให้โจทก์โฆษณานั้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH แต่จำเลยแปลเป็นภาษาไทยว่ามีโอกาช ซึ่งแปลว่าสบู่เหลวดังนี้ถือได้ว่าจำเลยนำสืบรับว่าสินค้าที่โจทก์รับโฆษณาคือสินค้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEOBATH แม้โจทก์และจำเลยจะแปลเป็นภาษาไทยต่างกันแต่ก็เป็นสินค้าอย่างเดียวกันนั้นเองจึงฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าตามฟ้องหาใช่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องไม่ วันเดือนปีใดตรงกับวันอะไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปคู่ความไม่ต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84(1)ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองว่าวันสุดท้ายของกำหนดอายุความ2ปีตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการจึงชอบแล้ว ที่จำเลยที่2และที่3ฎีกาว่าจำเลยที่3เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่2จำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้นจำเลยที่2และที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5742/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลชื่อสินค้าเป็นภาษาไทยไม่กระทบต่อการรับว่าจ้าง และการวินิจฉัยวันหยุดราชการของศาล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์จัดการโฆษณาสินค้าโดยระบุรายการสินค้าที่โฆษณาเป็นภาษาอังกฤษว่า MEO BATH ซึ่งโจทก์แปลเป็นภาษาไทยว่า แชมพูมีโอ และโจทก์นำสืบว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้า คือแชมพูยี่ห้อมีโอ โดยแปลภาษาอังกฤษคำว่า MEO BATH เป็นภาษาไทยว่า แชมพูมีโอ จำเลยนำสืบโดยอ้างใบเรียกเก็บเงินซึ่งระบุว่าสินค้าที่ให้โจทก์โฆษณานั้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า MEO BATH แต่จำเลยแปลเป็นภาษาไทยว่า มีโอบาช ซึ่งแปลว่าสบู่เหลว ดังนี้ถือได้ว่า จำเลยนำสืบรับว่าสินค้าที่โจทก์รับโฆษณาคือสินค้าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าMEO BATH แม้โจทก์และจำเลยจะแปลเป็นภาษาไทยต่างกัน แต่ก็เป็นสินค้าอย่างเดียวกันนั้นเอง จึงฟังได้ว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าตามฟ้อง หาใช่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องไม่
วันเดือนปีใดตรงกับวันอะไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป คู่ความไม่ต้องนำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองว่าวันสุดท้ายของกำหนดอายุความ 2 ปี ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการจึงชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
วันเดือนปีใดตรงกับวันอะไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป คู่ความไม่ต้องนำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองว่าวันสุดท้ายของกำหนดอายุความ 2 ปี ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการจึงชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคดีอาญาเป็นข้อตกลงแพ้ชนะ: ศาลต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลคดีอาญาหมายเลขดำที่1758/2531 ของศาลชั้นต้นเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้นั้น ไม่ได้หมายถึงผลของคำพิพากษาในศาลชั้นต้น การอ้างเลขคดีของศาลชั้นต้นเป็นแต่เพียงการอ้างผลคดีดำที่คู่ความท้ากันเท่านั้น เมื่อคู่ความท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาย่อมต้องหมายถึงผลคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว
คู่ความไม่ได้ตกลงท้ากัน ให้ถือเอาผลคำพิพากษาของศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยถือเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยไม่รอผลคำพิพากษาถึงที่สุด และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการพิพากษาคดีไปโดยไม่ตรงตามคำท้าเป็นการไม่ชอบ แต่ในระหว่างการพิจารณาคดีนี้ของศาลฎีกาปรากฏว่าคดีอาญาที่คู่ความท้ากันนั้น ศาลฎีกาได้พิพากษาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คู่ความไม่ได้ตกลงท้ากัน ให้ถือเอาผลคำพิพากษาของศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยถือเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยไม่รอผลคำพิพากษาถึงที่สุด และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการพิพากษาคดีไปโดยไม่ตรงตามคำท้าเป็นการไม่ชอบ แต่ในระหว่างการพิจารณาคดีนี้ของศาลฎีกาปรากฏว่าคดีอาญาที่คู่ความท้ากันนั้น ศาลฎีกาได้พิพากษาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ใบมอบอำนาจ, หนังสือรับสภาพหนี้, เล็ตเตอร์ออฟเครดิต, อายุความหนี้
ใบมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนกระทำการแทนมากกว่าครั้งเดียวจะต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง เจ้าหนี้หาจำต้องมาเป็นคู่สัญญาหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดมาเป็นคู่สัญญาแทนไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ มิได้ฟ้องเรียกหนี้ตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าบริษัท ส.มิได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว คดีไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นอีก เล็ตเตอร์ออฟเครดิตจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ ไม่ทำให้ผลการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ารับฟังเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
หนี้ตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม
หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง เจ้าหนี้หาจำต้องมาเป็นคู่สัญญาหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดมาเป็นคู่สัญญาแทนไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ มิได้ฟ้องเรียกหนี้ตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าบริษัท ส.มิได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว คดีไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นอีก เล็ตเตอร์ออฟเครดิตจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ ไม่ทำให้ผลการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ารับฟังเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
หนี้ตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากเหตุทิ้งร้างและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์แถลงรับว่าโจทก์มีเจตนาทิ้งร้างจำเลยตามฟ้องแย้งและศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทนายจำเลยลงชื่อโดยไม่โต้แย้งคัดค้าน และต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงรับข้อเท็จจริงนี้อีก แม้จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยมีโอกาสคัดค้านก็ตาม ข้อเท็จจริงเป็นอันรับฟังได้ตามฟ้องแย้งโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีก โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม แม้ต่อมาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2512ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 5การแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับ จำเลยได้ที่ดินมาเมื่อปี 2511 ก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับ โดยบุตรสาวจำเลยยกให้โดยเสน่หาแต่มิได้ระบุว่ายกให้เป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(3) ที่ดินจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ ก็จะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาใช้บังคับไม่ได้เพราะที่ดินตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, ผู้จัดการมรดก, การทำละเมิด, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ. ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน 3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 และ 224 โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคำท้าในคดีแพ่ง: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานต่อไปหากคำพิพากษาไม่ชี้ขาดตามคำท้า
โจทก์จำเลยท้ากันว่า หากคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยยอมแพ้ แต่หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่มีความผิด โจทก์ยอมแพ้ และคู่ความแถลงไม่ติดใจสืบพยาน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ขาดอายุความเท่ากับศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่มีความผิดตามฟ้อง ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้คดีตามคำท้าได้ ชอบที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นของโจทก์จำเลยต่อไป แม้ข้อความคำท้าตามรายงานกระบวนพิจารณาจะระบุว่าคู่ความไม่ติดใจสืบพยาน ก็มีความหมายเพียงว่าหากคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างหนึ่งอย่างใดตามคำท้าแล้วคู่ความจะไม่ติดใจสืบพยาน จะถือว่าในกรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดไม่ชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิดหรือไม่ คู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิด แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องดวงตราและอากรแสตมป์
เมื่อได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์โดยมีมูลหนี้ระหว่างกันจึงหาต้องคำนึงถึงการรับโอนของผู้ทรงคนต่อมาว่าสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยไม่สามารถยกข้อต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรงคนก่อนได้อยู่แล้ว เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลยหรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผล ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท