คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 84 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้ ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิด แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องดวงตราและอากรแสตมป์
เมื่อได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์โดยมีมูลหนี้ระหว่างกันจึงหาต้องคำนึงถึงการรับโอนของผู้ทรงคนต่อมาว่าสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยไม่สามารถยกข้อต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรงคนก่อนได้อยู่แล้ว เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลยหรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผล ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรื้อถอน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลย ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่าง ไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอนกรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดี ต่อ ศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอน อาคาร ที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือ แล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับ คำสั่ง ให้ ระงับ การก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลย ต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติ เจ้าของต้องรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลยฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า10 เมตรทุกด้าน
เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือแล้วจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การท้าพิสูจน์ตามคำพิพากษาคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุด
คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาของศาลแขวงสงขลา ที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปลอมและใช้พินัยกรรมปลอมเป็นข้อวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่าพินัยกรรมฉบับพิพาท เป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ย่อมมีความหมายว่าคู่ความประสงค์ให้ถือเอา ผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดเป็นข้อแพ้ชนะกันในประเด็นดังกล่าว เมื่อคดีอาญายังไม่ถึงที่สุดและไม่ปรากฏว่าคู่ความได้ยกเลิกคำท้า ศาล จึงต้องรอฟังผลของคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุดเป็นหลักในการ วินิจฉัยตามที่คู่ความท้ากัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบ เนื่องจากเจ้าของที่ดินรับโอนหลังการก่อสร้างผิดกฎหมาย
แม้จำเลยให้การในข้อแรกว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมดก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การในข้อต่อมาเกี่ยวข้องกับ ข้อกล่าวอ้างตามฟ้องประการแรกว่าส. ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจะกระทำการก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ คำให้การของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดว่าเป็นการปฏิเสธฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า ได้มีการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนที่อนุญาตจริง ตามฟ้องและยังมิได้รื้อถอนตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง ที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องประการหลัง จำเลยได้ให้การยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองโดยเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลง พร้อมอาคารพิพาทและจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งของโจทก์ที่ให้ทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่เกินจากแบบแปลนที่โจทก์อนุญาตให้ทำการก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดแล้วและจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องทั้งสองประการดังกล่าวโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)และโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งได้ตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การพิสูจน์สถานะผู้กระทำการแทนและดุลพินิจศาลที่ไม่รับฟังพยาน
ข้อเท็จจริงว่า นายอาษายังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา84(1) เมื่อโจทก์ไม่นำสืบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้นำพยานมาเบิกความเพื่อยืนยันว่านายอาษายังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นเรื่องที่ศาลจะรู้ได้เองไม่จำต้องสืบพยานแล้วบันทึกเพียงว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 นั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีอื่นเป็นข้อแพ้ชนะ: ต้องรอฟังผลถึงที่สุดก่อนพิจารณาคดีนี้
ข้อความที่คู่ความแถลงท้ากันว่า ปัญหาว่าจำเลยที่ 1ขับรถยนต์โดยสารประมาทหรือไม่นั้น คู่ความขอถือเอาผลคำพิพากษาของอีกคดีหนึ่งเป็นข้อแพ้ชนะ คำว่า ผลคำพิพากษาของอีกคดีหนึ่งนั้นมิได้ระบุว่าผลคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงต้องหมายถึงผลคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ตาม และเมื่อเป็นคำท้าคู่ความต้องผูกพันตามคำแถลงนั้น เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดคดีที่คู่ความท้ากันนี้ต้องรอฟังผลคำพิพากษาถึงที่สุดของคดีนั้นเสียก่อน จึงจะพิจารณาประเด็นข้อพิพาทอื่นที่มิได้ท้ากันต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ผลคดีหนึ่งผูกพันอีกคดีหนึ่ง ต้องรอผลคดีถึงที่สุด
คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาในคดีอื่นที่เกี่ยวพันกันเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ โดยมิได้ระบุว่าผลคำพิพากษาคดีดังกล่าวหมายถึงผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความมุ่งประสงค์ที่จะผูกพันกันตามคำพิพากษาที่มีผลบังคับกันได้โดยเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงผลคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ตาม มิใช่ผลคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5380/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันเมื่อที่พิพาทไม่อยู่ใน น.ส.3ก. และการยกที่ดินให้แก่โจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกที่พิพาทต่อมาโจทก์จำเลยบันทึกตกลงกันให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตหากที่พิพาทอยู่นอก น.ส.3ก. ของจำเลย จำเลยยอมยกที่พิพาทให้โจทก์ผลการรังวัดที่พิพาทอยู่นอก น.ส.3ก. ของจำเลย จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาท อ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ดังนี้ ประเด็นแห่งคดีมีว่าข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า หากที่พิพาทอยู่นอก น.ส.3ก. ของจำเลย จำเลยยอมยกที่พิพาทให้โจทก์ ดังนี้ข้อความดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่พิพาท เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 คำให้การจำเลยไม่ปรากฏว่า จำเลยได้ให้การว่าได้แย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องกำหนดเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินหลังจดทะเบียนสมรส: ศาลต้องพิจารณาว่าที่ดินเป็นสินส่วนตัวหรือสินร่วม
โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่า จำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่ โดยคู่ความแถลงรับกันว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วม อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมจะโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการตั้งเป็นประเด็นใหม่นอกคำท้าอีกหาได้ไม่
of 9