พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าปรับและวิธีการกักขังแทนค่าปรับในคดีศุลกากรและป่าไม้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200บัญญัติว่าให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับให้ผู้อุทธรณ์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์หาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในตอนต้นว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า"ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท"ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของจำเลยแต่ละคน ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกันมิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับโดยแยกให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและพระราชบัญญัติศุลกากรฯ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษหนักเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับละ 6 เดือน
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในตอนต้นว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า"ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท"ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของจำเลยแต่ละคน ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกันมิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับโดยแยกให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและพระราชบัญญัติศุลกากรฯ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี จำเลยทั้งสองฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษหนักเกินไปเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับละ 6 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว vs. กรรมต่างกัน และการปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดสองฐานรวมกันมาในข้อเดียวกัน โดยมิได้บรรยายฟ้องให้เห็นชัดเจนว่าการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้จำเลยทั้งสองกระทำโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากหรือกระทำผิดสำเร็จเป็นความผิดแต่ละกรรมเป็นกระทงความผิดอย่างไรอีกทั้งโจทก์ยังมีคำขอให้ลงโทษเป็นกรรมเดียวกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 มาท้ายคำฟ้องด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวกัน จึงต้องถือตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดสองกรรมต่างกันไม่
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเป็นตัวการร่วมกันและจำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องการกักขังแทนค่าปรับมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ได้ที่ศาลชั้นต้นให้บังคับชำระค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเป็นตัวการร่วมกันและจำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องการกักขังแทนค่าปรับมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ได้ที่ศาลชั้นต้นให้บังคับชำระค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการลงโทษจำเลยในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การพิจารณาโทษที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
จำเลยซึ่งมีอายุกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี มีถิ่นที่อยู่ปกติตามสำเนาทะเบียนบ้านและในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดอยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ดังกล่าว ดังนั้นคดีนี้จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จึงไม่อาจนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29 , 30 จึงชอบแล้ว
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จึงไม่อาจนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29 , 30 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพกพาอาวุธมีดเป็นความผิดสำเร็จ แม้ไม่ได้ใช้ในการกระทำผิด และการบังคับค่าปรับต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ใช้คำว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง" ฉะนั้นเมื่อจำเลยมีอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาจำต้องใช้ในการกระทำผิดไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษค่าปรับตาม ป.อ.มาตรา 78: ศาลมีดุลยพินิจในการลดโทษเฉพาะส่วน และการบังคับคดีค่าปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 901,635 บาทเพียงสถานเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลดโทษปรับให้จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 78 กึ่งหนึ่งเฉพาะค่าปรับบุหรี่ซิกาแรตในจำนวนที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายเป็นการลดโทษที่ไม่ชอบ ควรจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งของค่าปรับทั้งหมด ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลยพินิจของศาลว่าสมควรลดโทษให้จำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ.มาตรา 29, 30 เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล มิใช่เป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158
การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ.มาตรา 29, 30 เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล มิใช่เป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษค่าปรับตามมาตรา 78 และการบังคับคดีค่าปรับด้วยการกักขัง ศาลฎีกาเห็นว่าการโต้แย้งดุลพินิจในการลดโทษเป็นข้อหาต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 901,635 บาทเพียงสถานเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลดโทษปรับให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งเฉพาะค่าปรับบุหรี่ซิกาแรตในจำนวนที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ตามกฎหมายเป็นการลดโทษที่ไม่ชอบ ควรจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งของค่าปรับทั้งหมด ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลดโทษให้จำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล มิใช่เป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล มิใช่เป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงโดยไม่ยินยอม และอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว
เมื่อพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอฟังว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมผู้เสียหาย และโดยผู้เสียหายนั้นไม่ยินยอมแต่การที่จำเลยทั้งสามได้กระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และไม่ใช่ภริยาของตน ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับ: อัตราค่าปรับและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 60 บาท แต่ ป.อ.มาตรา30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาท ต่อหนึ่งวัน ฉะนั้น การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29,30 จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามมาตรา 29 แต่ประการเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30
ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 60 บาทแต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาท ต่อหนึ่งวัน ฉะนั้น การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามมาตรา 29แต่ประการเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในคดีทางหลวง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ชัดเจนเรื่องวิธีบังคับค่าปรับ
คดีนี้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 3 ปี การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับโดยมิได้กำหนดวิธีบังคับค่าปรับนั้นจึงไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งได้ โดยแก้เป็นว่าหากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30