คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนย้ายแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตแม้แร่จะครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.แร่
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 108 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดขนแร่ในที่ใดเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามอนุมาตรา 1ถึง 10 ย่อมใช้บังคับในกรณีที่มีแร่ไว้ในครอบครองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่3 ครอบครองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตและขนแร่ดังกล่าวโดยฝ่าฝืนมาตรา 108 จึงต้องมีความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกระทงหนึ่ง และฐานขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่ง
ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3คนละ 214,844.58 บาทโดยกำหนดว่าหากไม่ชำระค่าปรับให้กักขังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 แต่มิได้ระบุชัดแจ้งว่าจะกักขังเกินหนึ่งปีหรือไม่และมีกำหนดเท่าใดเช่นนี้ จะกักขังเกินกำหนดหนึ่งปีไม่ได้ (อ้างฎีกาที่1835/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนย้ายแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้แร่จะมาจากการครอบครองที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.แร่
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 108 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดขนแร่ในที่ใดเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามอนุมาตรา 1ถึง 10 ย่อมใช้บังคับในกรณีที่มีแร่ไว้ในครอบครองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่3ครอบครองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตและขนแร่ดังกล่าวโดยฝ่าฝืนมาตรา 108 จึงต้องมีความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกระทงหนึ่ง และฐานขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่ง
ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 คนละ 214,844.58 บาทโดยกำหนดว่าหากไม่ชำระค่าปรับให้กักขังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุชัดแจ้งว่าจะกักขังเกินหนึ่งปีหรือไม่และมีกำหนดเท่าใดเช่นนี้ จะกักขังเกินกำหนดหนึ่งปีไม่ได้ (อ้างฎีกาที่1835/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักขังแทนค่าปรับต้องมีคำสั่งชัดเจน หากศาลไม่สั่งกักขังเกินหนึ่งปี แม้ปรับเกินสองหมื่นบาท และการคำนวณค่าปรับตามกฎหมายศุลกากร
การกักขังแทนค่าปรับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป ศาลมีอำนาจให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีได้แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้งหากศาลไม่ได้สั่งไว้โดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนดหนึ่งปีไม่ได้
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า'พิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้รับเป็นฎีกา สำเนาอีกฝ่ายแก้' คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกาวินิจฉัยและอนุญาตให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กำหนดให้ปรับเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วการปรับจึงต้องปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกันหาใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกกับค่าอากรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักขังแทนค่าปรับเกินหนึ่งปีต้องมีคำสั่งชัดเจน การพิพากษาเพิ่มโทษโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นเหตุต้องห้าม
การกักขังแทนค่าปรับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป ศาลมีอำนาจให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีได้แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้งหากศาลไม่ได้สั่งไว้โดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนดหนึ่งปีไม่ได้
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า"พิเคราะห์แล้วอนุญาตให้รับเป็นฎีกา สำเนาอีกฝ่ายแก้" คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกาวินิจฉัยและอนุญาตให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กำหนดให้ปรับเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วการปรับจึงต้องปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกันหาใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกกับค่าอากรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษกักขังเป็นจำคุก: พิจารณาพฤติการณ์และระยะเวลาการกักขัง
คดีมีแต่ปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 222 แต่ถ้าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงมา ศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน
ผู้ต้องโทษกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29ในระหว่างรับโทษกักขังอยู่ทำผิดข้อกำหนดตามมาตรา 27 ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษกักขังเป็นจำคุก: พิจารณาพฤติการณ์และระยะเวลาการกักขัง
คดีมีแต่ปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 222 แต่ถ้าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงมา ศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน
ผู้ต้องโทษกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29ในระหว่างรับโทษกักขังอยู่ทำผิดข้อกำหนดตามมาตรา 27 ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาดูหมิ่นพระภิกษุ: ศาลลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องผิดฐาน
คดีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 142 วรรค 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาดูหมิ่นพระภิกษุ: ศาลลงโทษฐานความผิดตามข้อเท็จจริง แม้ฟ้องผิดฐาน
คดีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1360/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
จำเลย 4 คนถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 ปรับร่วมกันเป็นเงิน 66,789.80 บาท ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ศาลจะสั่งกักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปีก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลย 4 คน ก็ต้องแบ่งการกักขังได้คนละ 6 เดือน ตามนัยฎีกาที่ 535/2493 ที่ศาลชั้นต้นให้กักขังคนละ 1 ปี เป็นผลร้ายแก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับโทษทางศุลกากร การกำหนดโทษปรับรายตัว การกักขังแทนค่าปรับ และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติความว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้น ถ้าจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าของอัตราราคานั้น ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกิน 4 เท่าย่อมขัดบทกฎหมายมาตราดังกล่าว และจะนำ มาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับไม่ได้ เพราะได้มีบัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยพระราชบัญญัติศุลกากรต่างหากแล้ว
ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่กำหนดวันกักขังแทน ค่าปรับไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ควรจะกักขังได้นานกว่านั้นแต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาแก้ โจทก์ฎีกาขอให้แก้ไข ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่
of 8