คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 62

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังจำเลยถึงแก่กรรม: ทนายความมีอำนาจยื่นฎีกาแทนจำเลยได้เพื่อรักษาประโยชน์ทางกฎหมาย
การที่ตัวความถึงแก่กรรมก่อนมีการยื่นฎีกา ทนายความมีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นฎีกาแทนจำเลยผู้มรณะได้ ทั้งนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของตัวความไว้ระหว่างฎีกา
ในวันยื่นฎีกา บุตรของจำเลยได้แต่งทนายความคนเดิมยื่นคำร้องขอเข้ารับมรดกความแทนที่จำเลยผู้มรณะ และศาลอนุญาตแล้ว ดังนี้ทนายความย่อมดำเนินคดีต่อไปได้ อำนาจทนายความหาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยถึงแก่กรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การไม่ปฏิบัติตามสัญญาทำให้สิทธิเรียกร้องสิ้นสุด และอำนาจทนายความในการดำเนินคดี
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์จะต้องชำระเงินให้จำเลยภายในวันที่กำหนดแล้วจำเลยจึงจะโอนที่พิพาทให้โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ชำระเงินในวันดังกล่าว โจทก์จึงเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีสิทธิขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้อีกต่อไป
ผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมีอำนาจแต่งฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องฎีกาให้แก่บุคคลอื่นได้ ตามพระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ.2508 มาตรา 36 จึงมีอำนาจเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบแต่งทนาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงของทนายแทนโจทก์เรื่องพยานไม่มาศาล ศาลชอบที่จะสั่งสืบพยานจำเลยได้ และไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ภายหลัง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์รอพยานอยู่จนเวลา 10.30 น. พยานโจทก์ก็ยังไม่มาศาลทนายโจทก์แถลงว่านัดกับ ร. พยานโจทก์แล้วว่าจะมา แต่ไม่มา ไม่ทราบจะทำประการใดขอให้ศาลสั่งต่อไปดังนี้เป็นการแถลงของทนายโจทก์ซึ่งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 เมื่อศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปตามที่จำเลยแถลงขอสืบพยาน จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วการที่วันรุ่งขึ้นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สืบพยานโจทก์ใหม่ โดยอ้างว่าความจริงในวันนัด ร. มาศาลเมื่อเวลา 10.15 น. แต่มิได้เข้าห้องพิจารณาเพราะดูในกระดานนัดความของศาลไม่พบชื่อบริษัทโจทก์ ก็จะนำมาลบล้างคำแถลงของทนายโจทก์โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ทั้งเป็นการล่วงเลยเวลาสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่มีเหตุที่จะสืบพยานโจทก์ใหม่ศาลชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสีย กรณีเช่นนี้ข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ตามคำร้องของโจทก์ชัดแจ้งแล้ว ศาลหาจำต้องไต่สวนคำร้องนั้นอีกไม่และมาตรา 21 ก็ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลไม่ให้โอกาสเต็มที่แก่คู่ความที่จะมาฟังการพิจารณาและใช้สิทธิเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาตามมาตรา 103 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยเสร็จและมีคำพิพากษาแล้วจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะใช้อำนาจตามมาตรา 243(2) ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อนแล้วสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงของทนายแทนโจทก์มีผลผูกพัน การสืบพยานโจทก์ถือเป็นหน้าที่ของโจทก์ หากไม่มาศาลถือว่าสละสิทธิ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์รอพยานอยู่จนเวลา 10.30 น. พยานโจทก์ก็ยังไม่มาศาล ทนายโจทก์แถลงว่านัดกับ ร. พยานโจทก์แล้วว่าจะมา แต่ไม่มา ไม่ทราบจะทำประการใด ขอให้ศาลสั่งต่อไป ดังนี้เป็นการแถลงของทนายโจทก์ซึ่งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 เมื่อศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปตามที่จำเลยแถลงขอสืบพยาน จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว การที่วันรุ่งขึ้นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สืบพยานโจทก์ใหม่ โดยอ้างว่าความจริงในวันนัด ร. มาศาลเมื่อเวลา 10.15 น. แต่มิได้เข้าฟังการพิจารณาเพราะดูในกระดานนัดความของศาลไม่พบชื่อบริษัทโจทก์ ก็จะนำมาลบล้างคำแถลงของทนายโจทก์โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ทั้งเป็นการล่วงเลยเวลาสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่มีเหตุที่จะสืบพยานโจทก์ใหม่ ศาลชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสีย กรณีเช่นนี้ข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ตามคำร้องของโจทก์ชัดแจ้งแล้ว ศาลหาจำต้องไต่สวนคำร้องนั้นอีกไม่ และมาตรา 21 ก็ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลไม่ให้โอกาสเต็มที่แก่คู่ความที่จะมาฟังการพิจารณาและใช้สิทธิเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาตามมาตรา 103 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยเสร็จและมีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะใช้อำนาจตามมาตรา 243(2) ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อนแล้วสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำในมูลคดีเดียวกัน และผลผูกพันจากทนายความลงนามในคำบังคับ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินให้โจทก์ศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้วจำเลยที่ 1 กลับเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ใช้ค่าเสียหายอ้างว่าโจทก์และทนายความของจำเลยร่วมกันฉ้อฉลทำสัญญาประนีประนอมต่อศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในคดีดังกล่าวดังนี้ มูลคดีที่จำเลยนำไปฟ้องก็คือมูลคดีที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีนี้ จึงเป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกัน มิใช่เป็นการฟ้องคดีเรื่องอื่นตามความหมายมาตรา 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันจะเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีได้
การที่ทนายความของจำเลยลงชื่อในคำบังคับซึ่งออกตามคำพิพากษาของศาล ถือได้ว่าทนายความซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจในฐานะทนายความแทนจำเลยซึ่งเป็นตัวการย่อมมีผลผูกพันจำเลย และถือได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับของศาลแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีฎีกาหลังคู่ความถึงแก่กรรม และไม่มีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ภายในกำหนด
ทนายโจทก์ยื่นฎีกาหลังจากที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้มรณะแล้ว แม้ทนายโจทก์จะมีอำนาจยื่นฎีกาแทนโจทก์ได้ก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ใด(บุคคลที่ระบุไว้ในมาตรา 42ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ จนล่วงเลยกำหนด 1 ปีนับแต่ทนายโจทก์ยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำหน่ายคดีคือฟ้องฎีกาของโจทก์เสียจากสารบบความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้ฟ้องถึงแก่กรรมหลังยื่นฎีกาและไม่มีผู้สืบสิทธิเข้ามาดำเนินคดี
ทนายโจทก์ยื่นฎีกาหลังจากที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้มรณะแล้วแม้ทนายโจทก์จะมีอำนาจยื่นฎีกาแทนโจทก์ได้ก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ใด(บุคคลที่ระบุไว้ในมาตรา 42ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ จนล่วงเลยกำหนด 1 ปีนับแต่ทนายโจทก์ยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำหน่ายคดีคือฟ้องฎีกาของโจทก์เสียจากสารบบความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความหลายคนและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมา มิใช่เป็นกรณีการพิจารณาโดยขาดนัด คู่ความจะร้องขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 207 ไม่ได้
เดิมบริษัทจำกัดจำเลย โดย ช. กรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งทนายความคนหนึ่งแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทใหม่บริษัทจำเลยโดยกรรมการชุดใหม่จึงได้แต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งทนายความแต่ละคนดังกล่าวต่างมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ดังนี้ เมื่อทนายความคนหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และศาลพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย และผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยโดยทนายความคนแรกจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ โดยเหตุที่ทนายความคนแรกไม่ได้รู้เห็นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความสองคนและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลตัดสินว่าการทำสัญญาโดยทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ย่อมผูกพันจำเลย
เมื่อกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมามิใช่เป็นกรณีการพิจารณาโดยขาดนัด คู่ความจะร้องขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 207 ไม่ได้
เดิมบริษัทจำกัดจำเลย โดย ช. กรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งทนายความคนหนึ่งแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทใหม่บริษัทจำเลยโดยกรรมการชุดใหม่จึงได้แต่งตั้งทนายความอีกคนหนึ่งทนายความแต่ละคนดังกล่าวต่างมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ดังนี้ เมื่อทนายความคนหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และศาลพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วย่อมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย และผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยโดยทนายความคนแรกจะร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยเหตุที่ทนายความคนแรกไม่ได้รู้เห็นในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้งทนายความของหุ้นส่วนผู้จัดการ และความชอบของฟ้องคดีในนามห้างหุ้นส่วน
ซ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโจทก์ แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความ แม้ว่าในใบแต่งทนายจะระบุว่า ซ. เป็นผู้แต่งตั้งทนาย แต่ ซ. ได้ลงชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้ด้วยแสดงถึงอำนาจในการแต่งตั้งทนายความแทนห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้แล้ว ส่วนด้านหลังใบแต่งทนาย แม้ ป. ผู้รับเป็นทนายจะระบุรับเป็นทนายให้ ซ. โดยมิได้ระบุถึงห้างหุ้นส่วนโจทก์ซึ่ง ซ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่อาจแปลได้ว่า ป. รับเป็นทนายในฐานะส่วนตัวของ ซ. ดังนั้น การที่ ป. ลงชื่อเป็นผู้ฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนโจทก์ จึงหาเป็นการไม่ชอบไม่
of 27