พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนทนายและผลกระทบต่อการอุทธรณ์ การไม่ยื่นอุทธรณ์ทำให้คำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 3 ในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ก่อนยื่นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอน ร. ออกจากการเป็นทนายความของตนและขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ร. จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ต่อมา ร. ยื่นอุทธรณ์ในฐานะทนายความของจำเลยที่ 3 โดยลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียงและผู้พิมพ์ ซึ่งเป็นการเรียงและยื่นอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 3 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 3 และทนายความคนใหม่มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลขยายให้ ส่วนโจทก์ยื่นอุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นให้ส่งสำนวนส่วนของจำเลยที่ 3 ไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง จึงชอบแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิยื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังทนายความถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อความยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ป. เป็นผู้เรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีทั้งสิ้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งและสิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ โดยพิจารณาจากผู้ครอบครองจริง
แม้ว่า ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ แล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้เพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ซึ่ง พระราชบัญญัติทนายความฯ มุ่งให้ความคุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไปเนื่องจากจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้วส่วนโจทก์ก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จการพิจารณาหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่การยื่นคำฟ้องจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทำคำให้การใหม่และสืบพยานกันใหม่ ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิมจำเลยย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบอันจะทำให้จำเลยได้เปรียบทางเชิงคดี ซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาและให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองอยู่ในขณะยื่นฟ้อง ภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ จำเลยก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทนี้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานหลักฐานโจทก์ว่ามีน้ำหนักรับฟังเพียงใด
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองอยู่ในขณะยื่นฟ้อง ภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ จำเลยก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทนี้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานหลักฐานโจทก์ว่ามีน้ำหนักรับฟังเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การรับคำฟ้องใหม่, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี: กรณีทนายความไม่มีใบอนุญาต
แม้ ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสองหลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ได้ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้โจทก์ทั้งสองเพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยทั้งเก้าก็มีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทั้งสองทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มุ่งให้ความ คุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป เนื่องจากจำเลยทั้งเก้าซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนโจทก์ทั้งสองก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จสิ้นการพิจารณา ตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่ยื่นคำฟ้องอันจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทั้งเก้าทำคำให้การใหม่ และสืบพยานกันใหม่ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยทั้งเก้าต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิม จำเลยทั้งเก้าย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบได้ อันทำให้จำเลยทั้งเก้าได้เปรียบทางเชิงคดีซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นชอบด้วยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาตามคำร้องของจำเลยที่ 7 และที่ 8 และให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลต้องตรวจและแก้ไขก่อนรับพิจารณา หากไม่ทำเป็นการละเมิดสิทธิจำเลย
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดย ก. ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนจำเลยแต่ในสำนวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ ซึ่งกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจอุทธรณ์ของจำเลยโดยละเอียด และมีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องในการยื่นอุทธรณ์เสียให้ครบถ้วนและถูกต้องก่อนที่จะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้ง ๆที่เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในเนื้อหาแห่งอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยโดยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยได้พร้อมกับยื่นฎีกาเข้ามาแล้วจึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขและต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7947/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกาและการแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ
จำเลยยื่นฎีกาโดย ธ. ทนายจำเลยลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแทนจำเลย แต่ใบแต่งทนายไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ฎีกาในคำฟ้องฎีกาให้ถูกต้อง จำเลยไม่มาแก้ไขข้อบกพร่องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงมี ธ. ทนายความของจำเลยลงชื่อเป็นผู้ยื่นฎีกาแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ ธ. ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย และการใช้สิทธิฟ้องร้องของลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายซึ่งคำนวณแล้วเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงาน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายเพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท แต่ต้องถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดไม่เคลือบคลุม
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการฎีกา: การแต่งตั้งทนายความใหม่ทำให้ทนายความเดิมหมดอำนาจ
คำฟ้องฎีกาและคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับรองฎีกาของจำเลยที่นาย พ. ทนายความเป็นผู้ฎีกาและผู้ยื่นคำร้องแทนจำเลย ทนายความดังกล่าวจะต้องมีอำนาจในการฎีกาด้วย เมื่อจำเลยมิได้แต่งให้นาย พ. เป็นทนายความในชั้นฎีกา จึงเป็นการดำเนินคดีแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความไม่มีอำนาจฎีกาแทนจำเลยหลังถูกถอนชื่อ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาต
คำฟ้องฎีกาและคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาของจำเลยที่มีทนายความเป็นผู้ฎีกาและผู้ยื่นคำร้องแทนจำเลย ทนายความดังกล่าวจะต้องมีอำนาจในการฎีกาด้วย เมื่อจำเลยมิได้แต่งให้เป็นทนายความในชั้นฎีกา จึงเป็นการดำเนินคดีแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความข้ามประเภทคดี และการไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ใบแต่งทนายความของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแรงงานระบุว่าให้ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ด้วย เช่น การประนีประนอมยอมความทนายโจทก์จึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์แม้สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญา และถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ในคดีอื่น ๆ และโจทก์จำเลยต่างจะไม่ดำเนินคดีใด ๆ ต่อกันอีกไม่ว่าทางแพ่งหรืออาญา และคดีอาญาดังกล่าวมิใช่คดีแรงงาน แต่ในใบแต่งทนายดังกล่าวมอบหมายให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยมิได้จำกัดไว้แต่เฉพาะคดีแรงงานเท่านั้น และข้อตกลงดังกล่าวก็เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่พิพาทกันในคดีแรงงาน ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 มิได้จำกัดให้ศาลแรงงานต้องไกล่เกลี่ยได้แต่เฉพาะคดีแรงงาน ศาลแรงงานจึงพิพากษาตามยอมได้