พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6750/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายถอนฟ้อง, อายุความครอบครอง, สิทธิเรียกร้องคืนการครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้ออกจากที่ดินพิพาทการดำเนินคดีดังกล่าวโจทก์ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 8 เป็นทนายความดำเนินคดีแทนและได้ให้อำนาจจำเลยที่ 8 ถอนฟ้องได้ด้วย จำเลยที่ 8 จึงมีอำนาจถอนฟ้องได้ในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจ หากการกระทำของจำเลยที่ 8ก่อให้เกิดความเสียหายก็เป็นความผิดของโจทก์ในการเลือกบุคคลเป็นตัวแทนโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 8 กับพวกฉ้อฉลโจทก์ทำให้การถอนฟ้องเป็นโมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 8 ถอนฟ้องในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายส่วนการกระทำของจำเลยที่ 8 หากเป็นละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใด โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยที่ 8 ต่างหากได้เมื่อการที่จำเลยที่ 8 ถอนฟ้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการถอนฟ้องได้
การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พร้อมด้วยบริวารออกจากที่ดินพิพาทก็มีความหมายเท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนเป็นของตนนั่นเอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่ครอบครองย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ คงได้เฉพาะสิทธิครอบครองเท่านั้น ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่ครอบครองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ครอบครองย่อมหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และข้อเท็จจริงปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ที่โจทก์ฟ้องเป็นครั้งแรกซึ่งฟ้องในปี 2531 ตลอดมา และโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่ 10 สิงหาคม2533 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาท หาใช่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาสิทธิครอบครองคืนเมื่อใดก็ได้เพราะไม่มีกำหนดอายุความไม่
การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พร้อมด้วยบริวารออกจากที่ดินพิพาทก็มีความหมายเท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนเป็นของตนนั่นเอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่ครอบครองย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ คงได้เฉพาะสิทธิครอบครองเท่านั้น ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่ครอบครองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ครอบครองย่อมหมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และข้อเท็จจริงปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ที่โจทก์ฟ้องเป็นครั้งแรกซึ่งฟ้องในปี 2531 ตลอดมา และโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องวันที่ 10 สิงหาคม2533 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาท หาใช่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาสิทธิครอบครองคืนเมื่อใดก็ได้เพราะไม่มีกำหนดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4855/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกา: พฤติการณ์พิเศษต้องมีเหตุผลเหนือกว่าการเปลี่ยนตัวทนายความ
พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนเดิมของจำเลยย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น ก็ยังเป็นทนายความของจำเลยอยู่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ การพนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความคนใหม่ของจำเลยยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา 1 วันโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยเนื่องจากทนายความคนเดิมย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์: กรณีใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งป.วิ.พ.ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์ – การแก้ไข/ไม่รับอุทธรณ์กรณีไม่มีอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความทอดทิ้งคดี ละเมิดต่อลูกความ - ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและชดใช้ค่าเสียหายได้
แม้ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความ เพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 3 ข้อ 12 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความทอดทิ้งคดี ทำให้ลูกความเสียหาย มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
แม้พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้วแต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3เห็นว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529หมวดข้อ3ข้อ12(1)ศาลอุทธรณ์ภาค3ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัทป. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่งในฐานะลูกจ้างของบริษัทบ.ก็ตามแต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้คดีแพ่งดังกล่าวโดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้วจำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสองโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3มีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายศาลอุทธรณ์ภาค3ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความเมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดีทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้วที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าการทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัทบ.ผู้รับประกันภัยได้เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้วโจทก์จึงได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่งคือห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ไม่ใช่โจทก์โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัทบ.นั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งเพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันจากการท้าสาบาน: ทนายความมีอำนาจทำได้ตามมอบหมาย แม้ถอดถอนภายหลังก็มีผลผูกพัน
แม้ภายหลัง ส. และ ว. จะถูกถอดถอนไม่ได้เป็นทนายความให้จำเลยทั้งสี่ก็ตามแต่คำท้าสาบานซึ่งถือว่าเป็นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้องซึ่ง ส. และ ว.มีอำนาจทำได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสี่ตามที่ระบุในใบแต่งทนายความก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมายจำเลยทั้งสี่จึงมิอาจถอนคำท้าได้แม้จะได้ถอดถอน ส. และ ว. จากการเป็นทนายความก่อนถึงวันนัดท้าสาบานก็ตามเมื่อโจทก์สาบานได้ตามคำท้าจำเลยทั้งสี่จึงต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการลงชื่อฟ้องคดี และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น
โจทก์มอบอำนาจให้ น.ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คตามฟ้องทั้งสามฉบับ น.ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง เมื่อ น.แต่งให้ อ.เป็นทนายความ และทนายความที่คู่ความได้ตั้งแต่งนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 62 บัญญัติให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณา ทนายความที่คู่ความตั้งแต่งจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องได้ และการลงชื่อในคำฟ้องของทนายความนี้ หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีข้อความในคำฟ้องว่าเป็นการลงชื่อแทนคู่ความหรือในฐานะทนายความแต่อย่างใด
การที่คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 24 มิได้บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่า การวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอเท่านั้น แม้ศาลจะเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไม่เป็นคุณแก่คู่ความตามที่มีคำขอ ศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่คู่ความนั้นได้
โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตรารวมไว้ในเช็คหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นและมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 24 มิได้บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่า การวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอเท่านั้น แม้ศาลจะเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไม่เป็นคุณแก่คู่ความตามที่มีคำขอ ศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่คู่ความนั้นได้
โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตรารวมไว้ในเช็คหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นและมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการลงชื่อฟ้องแทนโจทก์ & การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น & ประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์
โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คตามฟ้องทั้งสามฉบับ น. ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสองเมื่อ น. แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความและทนายความที่คู่ความได้ตั้งแต่งนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62บัญญัติให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆแทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรซึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาทนายความที่คู่ความตั้งแต่งจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องได้และการลงชื่อในคำฟ้องของทนายความนี้หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีข้อความในคำฟ้องว่าเป็นการลงชื่อแทนคู่ความหรือในฐานะทนายความแต่อย่างใด การที่คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24มิได้บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอเท่านั้นแม้ศาลจะเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไม่เป็นคุณแก่คู่ความตามที่มีคำขอศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่คู่ความนั้นได้ โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตรารวมไว้ในเช็คหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นและมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427-1428/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการถอนอุทธรณ์: สิทธิถอนรวมอยู่ในอำนาจอุทธรณ์
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ทนายโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องและสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์รวมอยู่ด้วยฉะนั้นทนายโจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้