คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 62

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ: จำเลยต้องรับผิดชอบความผิดพลาดจากการแจ้งวันนัดสืบพยานที่ไม่ถูกต้องแก่ทนายความใหม่
ค. ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดชี้สองสถาน ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานและ ค. ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว แม้จำเลยไม่ได้มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดสืบพยานแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า หลังจากศาลทำการชี้สองสถานแล้วจำเลยได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความคนใหม่ จำเลยบอกกำหนดนัดสืบพยานแก่ ว.ผิดพลาดเป็นเหตุให้ว. มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัดนั้นเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง แม้จะไต่สวนได้ความตามคำร้องก็ถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ ศาลจึงยกคำร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร ต้องพิจารณาบทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีอากรเป็นหลัก
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรมาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัดแล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ ป.วิ.พ. โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร: ต้องไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ภาษีอากรครอบคลุม และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความและการลงลายมือชื่อในคำร้อง: การแต่งตั้งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองมี ฉ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องและผู้เรียงพิมพ์แต่ในใบแต่งทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ทั้งสองฉบับที่ระบุแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2กับมี ฉ. ทนายความผู้มีใบอนุญาต ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความไม่ใช่ น. เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาแต่งตั้งให้ ฉ.เป็นทนายความก็ต้องถือว่าฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความโดยไม่มีสิทธิ ฉ. จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 อย่างไรก็ตามคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) ต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตาม มาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องทั้งสองแต่งตั้งตาม มาตรา 62เมื่อคำร้องขัดทรัพย์มี ฉ. ลงลายมือชื่อโดยผู้ร้องทั้งสองมิได้แต่งตั้งให้เป็นทนายความ มิใช่เป็นกรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องตาม มาตรา 67(5) อันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองโดยไม่ต้องส่งคืนคำร้องนั้นไปให้แก้ไขมาก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์ ต้องเป็นการแต่งตั้งโดยชัดเจนตามกฎหมาย มิฉะนั้นคำร้องไม่สมบูรณ์
การที่ ฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ซึ่งไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องทั้งสองได้แต่งตั้งให้ฉ.เป็นทนายความแต่ระบุชื่อน.เป็นทนายความเช่นนี้ฉ.จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำร้องขัดทรัพย์มีลักษณะเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) จึงต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตามมาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องแต่งตั้งตามมาตรา 62 มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 67(5) ศาลต้องสั่งคืนคำร้องนั้นไปให้ผู้ร้องทั้งสองแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรจะกำหนดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่คำร้องขัดทรัพย์ที่ลงลายมือชื่อโดยทนายความผู้ไม่มีอำนาจ มิใช่กรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องอันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความที่ถูกถอนออกไปลงชื่อ ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
ส. เคยเป็นทนายความของจำเลย แต่ถูกถอนออกไปแล้ว เมื่อส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่ได้รับแต่งตั้ง ถือว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ ส. เคยทำหน้าที่ทนายความแทนจำเลย การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, การรับสภาพหนี้, การชำระหนี้ทายาท, และผลของการทิ้งอุทธรณ์
ทนายความจะต้องรักษาผลประโยชน์ของลูกความและเอาใจใส่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง ทนายโจทก์อ้างว่าหลงลืมและเข้าใจผิดถึงสถานที่ที่จะนำส่งจึงไม่ได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นข้อแก้ตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิสัญญาเช่าซื้อแทนป. ผู้เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และร้องขอให้เรียกป. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตายของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ บ. ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถของ บ.ให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยชำระภายในกำหนด 1 ปีนั้น ถือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถและใช้ราคารถตามสัญญาเช่าซื้อ มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 การส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคานั้น เมื่อ บ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตาย ถือว่าจำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อสืบต่อมาจึงต้องรับผิดคืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ของคู่สัญญาประกอบ
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดนัดนั้นจะต้องพิจารณาการกระทำประกอบกับเจตนาที่ฝ่ายนั้นได้แสดงออกมาว่าจะไม่นำพาต่อการปฏิบัติตามนัดตามสัญญาหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าได้มอบหมายให้ทนายความไปที่สำนักงานที่ดินเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา และได้แจ้งให้ทนายความจำเลยร่วมทราบโดยขอให้เจ้าพนักงานเตรียมหลักฐานการโอนไว้ แต่จำเลยร่วมไม่ดำเนินการให้ กรณีก็ไม่อาจจะถือได้ว่าโจทก์ผิดนัด เพราะเวลา 11 นาฬิกา ที่กำหนดนัดหมายในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นต้องหมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิธีของทางราชการ มิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จเรียบร้อย จะต้องมีการไต่สวนคู่ความทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใดจึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุชัดเจนในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ลงชื่อโดยทนายจำเลยซึ่งมิได้ระบุให้มีอำนาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการถอนอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อโจทก์เปลี่ยนความเห็น
โจทก์ได้ตั้ง ช. เป็นทนายให้มีอำนาจอุทธรณ์และถอนอุทธรณ์ด้วย ต่อมา ช. ได้ขอถอนอุทธรณ์ในนามของโจทก์ โดยให้เหตุผลการถอนอุทธรณ์ว่าเพราะตกลงกับจำเลยได้ ศาลชั้นต้นได้สอบถาม ช.และตัวจำเลยแล้ว ช. ก็ยืนยันว่าโจทก์ขอถอนอุทธรณ์และไม่ติดใจบังคับคดีกับจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไป ส่วนจำเลยก็ยืนยันไม่คัดค้านเช่นกัน ฉะนั้นการที่ตัวโจทก์ยื่นคำร้องในวันนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งคำร้องขอถอนอุทธรณ์โดยทนายของโจทก์ดังกล่าวว่าโจทก์ไม่ถอนอุทธรณ์ โดยมิได้ให้เหตุผลว่าคำร้องขอถอนอุทธรณ์ที่ทนายโจทก์ยื่นแทนโจทก์นั้นไม่ชอบอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงมีความเห็นขัดแย้งกับทนายโจทก์ในเรื่องขอถอนอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธในเรื่องตกลงกับจำเลยได้ตามคำร้องขอถอนอุทธรณ์ที่ ช.ทนายโจทก์อ้างถึง ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของตัวโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้วเพราะหากไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์แต่ให้พิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป ก็อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ.
of 27