พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ต้องมีมอบอำนาจชัดเจน หากไม่มี ศาลต้องสั่งแก้ไขก่อน
การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาและกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ ทนายความต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ว. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยใบแต่งทนายความมิได้ระบุให้ ว. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคำฟ้องอุทธรณ์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มาโดยไม่สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียทีเดียว เป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยความยุติธรรม แต่เมื่อตามใบแต่งทนายความฉบับหลังโจทก์ได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้ในชั้นฎีกานี้แล้วจึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในชั้นยื่นคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายทราบวันนัดแต่ไม่แจ้งจำเลย การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนด
เมื่อทนายจำเลยทราบนัดและคำสั่งศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 และคำสั่งให้นำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระให้ครบถ้วนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้ว การที่จำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระต่อศาลชั้นต้นให้ครบถ้วนก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตในคำร้องของจำเลยนั้น ก็มิใช่เป็นการสั่งอนุญาตก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 และไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งขยายระยะเวลาดังกล่าวอีกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เมื่อจำเลยเพิ่งวางเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลาการวางเงินตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์โดยได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หรือภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้โดยชอบ การยื่นอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้ยกฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 21,830 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้ยกฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 21,830 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13119/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นคำร้องขยายระยะเวลาฎีกา: การตีความอำนาจตามใบแต่งทนาย
ใบแต่งทนายความมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้นาย จ. เป็นทนายความของจำเลยที่ 1 ในคดีเรื่องนี้ และให้มีอำนาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 นาย จ. จึงย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นซึ่งรวมถึงการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาแทนจำเลยที่ 1 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ได้ การยื่นคำร้องดังกล่าวยังไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เป็นการใช้สิทธิฎีกาซึ่งนาย จ. ไม่มีอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการถอนฟ้องคดีอาญา – การถอนฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ ทนายโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ ซึ่งรวมถึงการถอนฟ้อง และการสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย เมื่อทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นการถอนฟ้องโดยสำคัญผิด ก็เป็นความบกพร่องของฝ่ายโจทก์เอง ย่อมไม่กระทบถึงคำสั่งที่อนุญาตให้ถอนฟ้องโดยชอบของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8765-8766/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, อายุความฟ้องร้อง, การกำหนดค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด, และอำนาจทนายความในการแถลงรับข้อเท็จจริง
ผลประกอบกิจการของจำเลยตั้งแต่ปี 2542 ถึงปี 2546 จำเลยมีกำไรตลอดมา แสดงว่าจำเลยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นติดต่อกันเรื่อยมา กำไรสุทธิเริ่มลดลงในปี 2545 และปี 2546 แต่ก็ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ได้ความว่าหากจำเลยไม่เลิกจ้างลูกจ้างบางส่วนซึ่งมีโจทก์ทั้งสี่รวมอยู่ด้วยแล้ว จำเลยจะขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือจำเลยหาวิธีทางอื่นเพื่อพยุงกิจการของจำเลยไว้นอกจากการเลิกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควร และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าจำเลยจำต้องเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่เพราะจำเลยมองเหตุการณ์ข้างหน้าว่าลูกค้าลดการสั่งสินค้ารายได้จำเลยย่อมลดลง จำเลยจึงต้องยุบหน่วยงานและลูกจ้างบางส่วนเพื่อให้มาตรฐานแห่งรายได้ของจำเลยไม่ลดลงไปกว่าเดิมนั้น เห็นได้ชัดว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องการได้ประโยชน์จากการประกอบกิจการแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของลูกจ้างทั้งๆ ที่ลูกจ้างก็มีส่วนทำให้นายจ้างได้กำไรจากการประกอบกิจการติดต่อกันหลายปี การเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุนี้หาใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุสมควรไม่
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้กระทำความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหาย มิได้ฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้าง จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ แม้โจทก์ทั้งสี่จะขอค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างที่ควรจะได้รับหากทำงานจนอายุครบ 60 ปี ก็เป็นเพียงวิธีการที่โจทก์ทั้งสี่คำนวณหาจำนวนค่าเสียหายเท่านั้น ไม่อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ทั้งสี่และตามใบแต่งทนายความของจำเลยนอกจากจะมีข้อความแต่งตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์ทั้งสี่และของจำเลยแล้วยังมีข้อความระบุชัดเจนอย่างเดียวกันว่า ให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของผู้แต่งทนายความได้ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายโจทก์ทั้งสี่และทนายจำเลยจึงมีอำนาจแถลงรับข้อเท็จจริงซึ่งต่างฝ่ายต่างแถลงได้ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการแถลงรับข้อเท็จจริงกันจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบและรับฟังตามที่แถลงได้ กรณีมิใช่ตัวความอ้างทนายความของตนเป็นพยานซึ่งจะต้องยื่นบัญชีระบุทนายความเป็นพยานฝ่ายตนเสียก่อน
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้กระทำความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหาย มิได้ฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้าง จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ แม้โจทก์ทั้งสี่จะขอค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างที่ควรจะได้รับหากทำงานจนอายุครบ 60 ปี ก็เป็นเพียงวิธีการที่โจทก์ทั้งสี่คำนวณหาจำนวนค่าเสียหายเท่านั้น ไม่อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ทั้งสี่และตามใบแต่งทนายความของจำเลยนอกจากจะมีข้อความแต่งตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์ทั้งสี่และของจำเลยแล้วยังมีข้อความระบุชัดเจนอย่างเดียวกันว่า ให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของผู้แต่งทนายความได้ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายโจทก์ทั้งสี่และทนายจำเลยจึงมีอำนาจแถลงรับข้อเท็จจริงซึ่งต่างฝ่ายต่างแถลงได้ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการแถลงรับข้อเท็จจริงกันจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบและรับฟังตามที่แถลงได้ กรณีมิใช่ตัวความอ้างทนายความของตนเป็นพยานซึ่งจะต้องยื่นบัญชีระบุทนายความเป็นพยานฝ่ายตนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5784/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลยตามกฎหมาย แม้ทนายความกระทำโดยไม่ปรึกษาจำเลย ก็ไม่เป็นกระบวนการที่ผิดระเบียบ
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ หากจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใดก็ชอบที่ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของจำเลยตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการฎีกา: การตรวจสอบขอบเขตอำนาจตามใบแต่งทนายความ
คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้และคำฟ้องฎีกาของจำเลย ที่ บ. ทนายเป็นผู้ยื่นคำร้องและฎีกาแทนจำเลย แต่ตามใบแต่งทนายความที่จำเลยแต่งให้ บ. ทนายความของจำเลยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกา บ. ทนายความของจำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาคดีนี้แทนจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คำร้องขอขยายระยะเวลา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้ และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: กรณีพฤติการณ์พิเศษและการแก้ไขข้อบกพร่องการแต่งตั้งทนาย
ส. ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น 2 ครั้ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตทั้งสองครั้งมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ส. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงมอบหมายให้ ท. เป็นทนายว่าความแทนจำนวนหลายคดี จำเลยเคยไปพบ ท. เพื่อปรึกษาคดี 2 ครั้ง โดย ท. เข้าใจผิดว่าได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความของจำเลยแล้ว แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแต่งตั้ง ท. เป็นทนายความของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนหน้า ท. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ให้ ท. เป็นทนายความของจำเลย และศาลชั้นต้นได้รับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว ถือว่าจำเลยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7525/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายความให้อำนาจฎีกา และหน้าที่ของทนายความในการยื่นฎีกา
ใบแต่งทนายความให้อำนาจทนายจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย ทนายจำเลยจึงสามารถลงชื่อในคำฟ้องฎีกาแทนจำเลยได้โดยไม่ต้องสอบถามจำเลยก่อน ข้ออ้างของทนายจำเลยที่ว่า หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วจำเลยไม่เคยมาติดต่อทนายจำเลย ทำให้ไม่ทราบว่าจำเลยประสงค์จะว่าจ้างให้เป็นทนายความในชั้นฎีกาอีกต่อไปหรือไม่นั้น ข้ออ้างด้งกล่าวเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของทนายจำเลยเอง ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ติดใจขอเลื่อนคดี
ทนายจำเลยที่ 1 เคยขอเลื่อนคดีมาแล้วสองครั้ง ครั้งที่สามนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายศาล และยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบเรื่องการถอนตัวไว้ในคำร้องดังกล่าวด้วยแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าแล้วว่าในวันนัดนี้ตนจะไม่มีทนายความต่อสู้คดีให้ชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทน หรืออย่างน้อยตัวจำเลยที่ 1 ก็น่าจะมาศาลเพื่อแถลงขอเลื่อนคดีไปก่อน ทั้งตามคำร้องขอถอนทนายดังกล่าวก็มิได้ร้องขอเลื่อนคดีมาด้วยจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจขอเลื่อนคดีหาใช่ว่าคำร้องขอถอนทนายเท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัวไม่ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ส่อไปในทางประวิงคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจสืบพยานโดยสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 พร้อมกับมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว