พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีเงื่อนไขสำเร็จผลเมื่อได้รับอนุมัติวิ่งรถ และความผิดสัญญาจากเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อ
สัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทมีข้อตกลงให้มีผลบังคับต่อเมื่อได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร - ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต ไม่แน่นอนข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมากระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ได้ เงื่อนไขตามสัญญาจึงสำเร็จลงมีผลบังคับคู่สัญญา เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและให้ผู้เช่าซื้อยึดรถยนต์พิพาทไป การที่จำเลยถูกยึดรถยนต์พิพาทเพราะไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่เรื่องนอกเหนืออำนาจของจำเลยแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เหตุพ้นวิสัยหรือเหตุสุดวิสัยซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยที่จะป้องกันได้จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยหลังก่อหนี้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
เหตุที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถจัดการออกโฉนดและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเพราะผู้ขายซึ่งซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสี่ เนื่องจากถูกบุคคลอื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในเวลาต่อมา ต้องถือว่าการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสี่กลายเป็นพ้นวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ก่อหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายทั้งไม่ปรากฏว่าได้เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสี่จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบในพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหาได้ไม่ จำเลยทั้งสี่จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ไม่ต้องโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ฝ่ายโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 เมื่อการชำระหนี้บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบและการชำระหนี้ส่วนที่เป็นวิสัยที่จะทำได้ซึ่งหมายถึงการโอนที่ดินแปลงอื่น ๆตามสัญญาให้แก่โจทก์ยังเป็นประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จะไม่ยอมรับโอนที่ดินแปลงที่อยู่ในวิสัยจะโอนได้ แล้วเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดหาได้ไม่ โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกันอยู่กล่าวคือฝ่ายจำเลยจะต้องโอนที่ดินที่เหลืออีก 5 แปลงให้แก่โจทก์ และฝ่ายโจทก์ก็ต้องชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้นอกจากนั้นปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้จัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว 1 แปลง กับได้จัดการออกโฉนดที่ดินแปลงที่เหลืออีก 5 แปลง พร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาทั้งการที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งนั้นหาได้เกิดจากพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบไม่ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นฝ่ายรับเงินมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ไม่ได้กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(1)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาเช่าที่เป็นไปไม่ได้ จำเลยต้องรับผิดชอบความเสียหายหรือไม่ ศาลต้องสืบพยาน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยมูลสัญญาเช่า เนื่องจากการชำระหนี้ตามสัญญาเช่าเป็นการพ้นวิสัย หากการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบ จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ์แต่ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ฉะนั้นจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดว่า การที่จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของและทรัพย์ที่เช่าไม่อาจส่งมอบได้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จะฟังจากเอกสารท้ายฟ้องท้ายคำให้การซึ่งเป็นหลักฐานเพียงบางส่วนมาวินิจฉัยชี้ขาดโดยไม่เปิดโอกาสให้คู่ความนำพยานหลักฐานเข้าสืบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นพ้นวิสัยจากเหตุใด จำเลยต้องรับผิดชอบความเสียหายหรือไม่ การสืบพยานสำคัญเพื่อพิสูจน์ความรับผิด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าเนื่องจากการชำระหนี้ตามสัญญาเช่าเป็นการพ้นวิสัยหากการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้ เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบจำเลยต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบจำเลย เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้ฉะนั้นจึงต้องฟังข้อเท็จจริง ให้ได้ความแน่ชัดว่า การที่จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของและทรัพย์ที่เช่าไม่อาจส่งมอบได้กลายเป็น พ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดจะฟังจากเอกสารท้ายฟ้องท้ายคำให้การซึ่งเป็น หลักฐานเพียงบางส่วนมาวินิจฉัยชี้ขาดโดยไม่เปิดโอกาสให้คู่ความ นำพยานหลักฐานเข้าสืบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อในการขนส่งสินค้า และการคิดค่าเสียหายจากความชำรุด
เหตุสุดวิสัยนั้นย่อมหมายถึงเหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดีจะให้ผลพิบัติก็ดีไม่มีใครจะอาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลเช่นนั้นในฐานะเช่นนั้น พนักงานขับรถของจำเลยได้ขับรถออกนอกผิวจราจรโดยมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรประกอบกับรถยนต์ของจำเลยบรรทุกของหนักเป็นเหตุให้ดินที่ขอบไหล่ถนนทางด้านซ้ายทรุดหรือยุบทำให้รถยนต์ของจำเลยเสียหลักแล่นตะแคงพลิกคว่ำตกลงไปข้างถนนซึ่งพนักงานของจำเลยมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้นได้หากใช้ความระมัดระวังขับรถบนผิวจราจรของถนนในช่องทางเดินรถของตนตามปกติเมื่อมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่อมิใช่เหตุสุดวิสัย โจทก์ได้นำรถยนต์บรรทุกมาบรรทุกเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของตนที่ได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลยจากที่เกิดเหตุไปเก็บรักษาไว้ที่บริษัทโจทก์เป็นการนำไปเก็บรักษาไว้ชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย อันเป็นการช่วยบรรเทาผลร้ายให้แก่จำเลยแต่ต่อมาจำเลยได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของจำเลยไปตรวจสอบความเสียหายของเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ที่จำเลยได้ทำการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยให้แก่โจทก์ณปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการรับขนส่งแต่โจทก์เสนอให้มีการทดสอบแล้วส่งผลไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจวิเคราะห์และจำเลยตกลงรับข้อเสนอของโจทก์แต่กรณีเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดสอบตกลงกันไม่ได้โจทก์จึงฟ้องจำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบเครื่องแยกแร่แม่เหล็กให้แก่โจทก์แล้วอายุความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงยังไม่เริ่มนับ การที่รถยนต์บรรทุกของจำเลยตะแคงพลิกคว่ำลงข้างถนนในระหว่างขนส่งเครื่องแยกแร่แม่เหล็กมาให้โจทก์เครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงชำรุดบุบสลายมิใช่เป็นการสูญหายหรือบุบสลายโดยสิ้นเชิงจนไม่สามารถใช้การได้เมื่อจำเลยได้ทำการซ่อมแซมแล้วเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ก็ยังใช้การได้แต่ไม่ดีดังสภาพเดิมโจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับเครื่องแยกแร่แม่เหล็กดังกล่าวโดยจะขอให้จำเลยชดใช้ราคาทั้งหมดรวมทั้งค่าภาษีค่าโกดังเก็บสินค้าและค่าระวางพาหนะขนส่งของจำเลยหาได้ไม่โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย vs. ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ และการเริ่มนับอายุความของความรับผิดของผู้ขนส่ง
เหตุสุดวิสัยนั้นย่อมหมายถึงเหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดีไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลเช่นนั้นในฐานะเช่นนั้น
พนักงานขับรถของจำเลยได้ขับรถออกนอกผิวจราจรโดยมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ประกอบกับรถยนต์ของจำเลยบรรทุกของหนักเป็นเหตุให้ดินที่ขอบไหล่ถนนทางด้านซ้ายทรุดหรือยุบทำให้รถยนต์ของจำเลยเสียหลักแล่นตะแคงพลิกคว่ำตกลงไปข้างถนนซึ่งพนักงานของจำเลยมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้นได้ หากใช้ความระมัดระวังขับรถบนผิวจราจรของถนนในช่องทางเดินรถของตนตามปกติ เมื่อมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่อมิใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์ได้นำรถยนต์บรรทุกมาบรรทุกเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของตนที่ได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลยจากที่เกิดเหตุไปเก็บรักษาไว้ที่บริษัทโจทก์เป็นการนำไปเก็บรักษาไว้ชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย อันเป็นการช่วยบรรเทาผลร้ายให้แก่จำเลยแต่ต่อมาจำเลยได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของจำเลยไปตรวจสอบความเสียหายของเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ที่จำเลยได้ทำการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยให้แก่โจทก์ ณ ปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการรับขนส่ง แต่โจทก์เสนอให้มีการทดสอบแล้วส่งผลไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจวิเคราะห์และจำเลยตกลงรับข้อเสนอของโจทก์ แต่กรณีเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดสอบตกลงกันไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบเครื่องแยกแร่แม่เหล็กให้แก่โจทก์แล้วอายุความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงยังไม่เริ่มนับ
การที่รถยนต์บรรทุกของจำเลยตะแคงพลิกคว่ำลงข้างถนนในระหว่างขนส่งเครื่องแยกแร่แม่เหล็กมาให้โจทก์ เครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงชำรุดบุบสลาย มิใช่เป็นการสูญหายหรือบุบสลายโดยสิ้นเชิงจนไม่สามารถใช้การได้ เมื่อจำเลยได้ทำการซ่อมแซมแล้วเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ก็ยังใช้การได้ แต่ไม่ดีดังสภาพเดิมโจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับเครื่องแยกแร่แม่เหล็กดังกล่าว โดยจะขอให้จำเลยชดใช้ราคาทั้งหมดรวมทั้งค่าภาษีค่าโกดังเก็บสินค้าและค่าระวางพาหนะขนส่งของจำเลยหาได้ไม่โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
พนักงานขับรถของจำเลยได้ขับรถออกนอกผิวจราจรโดยมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ประกอบกับรถยนต์ของจำเลยบรรทุกของหนักเป็นเหตุให้ดินที่ขอบไหล่ถนนทางด้านซ้ายทรุดหรือยุบทำให้รถยนต์ของจำเลยเสียหลักแล่นตะแคงพลิกคว่ำตกลงไปข้างถนนซึ่งพนักงานของจำเลยมีทางที่จะป้องกันมิให้เหตุนั้นเกิดขึ้นได้ หากใช้ความระมัดระวังขับรถบนผิวจราจรของถนนในช่องทางเดินรถของตนตามปกติ เมื่อมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่อมิใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์ได้นำรถยนต์บรรทุกมาบรรทุกเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของตนที่ได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลยจากที่เกิดเหตุไปเก็บรักษาไว้ที่บริษัทโจทก์เป็นการนำไปเก็บรักษาไว้ชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย อันเป็นการช่วยบรรเทาผลร้ายให้แก่จำเลยแต่ต่อมาจำเลยได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของจำเลยไปตรวจสอบความเสียหายของเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ที่จำเลยได้ทำการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยให้แก่โจทก์ ณ ปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการรับขนส่ง แต่โจทก์เสนอให้มีการทดสอบแล้วส่งผลไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจวิเคราะห์และจำเลยตกลงรับข้อเสนอของโจทก์ แต่กรณีเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดสอบตกลงกันไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบเครื่องแยกแร่แม่เหล็กให้แก่โจทก์แล้วอายุความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงยังไม่เริ่มนับ
การที่รถยนต์บรรทุกของจำเลยตะแคงพลิกคว่ำลงข้างถนนในระหว่างขนส่งเครื่องแยกแร่แม่เหล็กมาให้โจทก์ เครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงชำรุดบุบสลาย มิใช่เป็นการสูญหายหรือบุบสลายโดยสิ้นเชิงจนไม่สามารถใช้การได้ เมื่อจำเลยได้ทำการซ่อมแซมแล้วเครื่องแยกแร่แม่เหล็กของโจทก์ก็ยังใช้การได้ แต่ไม่ดีดังสภาพเดิมโจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับเครื่องแยกแร่แม่เหล็กดังกล่าว โดยจะขอให้จำเลยชดใช้ราคาทั้งหมดรวมทั้งค่าภาษีค่าโกดังเก็บสินค้าและค่าระวางพาหนะขนส่งของจำเลยหาได้ไม่โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3669/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนโอนรถยนต์ตามคำพิพากษา แม้กรรมสิทธิ์โอนไปแล้ว แต่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ครบถ้วน
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่บังคับให้จำเลยโอนรถยนต์โดยสารพิพาท ให้เป็นชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ โดยให้ไปจดทะเบียนโอนนั้น จำเลยย่อม มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์โดยสารพิพาทให้เป็นชื่อโจทก์ เป็นเจ้าของ และกระทำการอันจำเป็นเพื่อให้มีการจดทะเบียนได้ตาม คำพิพากษา การที่จำเลยเพียงแต่นำเอาเอกสารหลักฐานการโอนทะเบียนไปมอบไว้ต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้โจทก์รับไปจัดการจดทะเบียนเอง ครั้นโจทก์นำไปจัดการปรากฏว่ามีเหตุขัดข้อง เพราะต้องไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานทะเบียนรถยนต์กรมตำรวจเสียก่อน และผู้ที่จะไปจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้คือบุคคลอื่นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน ทั้งต้องนำรถไปตรวจสภาพด้วย จำเลยจึงยังหาได้ดำเนินการจดทะเบียนโอน รถยนต์โดยสารพิพาทให้เป็นชื่อโจทก์ตามคำพิพากษาไม่ แม้ขณะศาล พิพากษารถยนต์โดยสารได้ตกมาอยู่ในความควบคุมของนายทะเบียนขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 4 จำเลยจึงได้ดำเนินการทำหลักฐานการโอนทะเบียนให้ต่อนายทะเบียนขนส่งเพื่อให้ คำพิพากษาของศาลมีผลบังคับได้แต่เมื่อตามหลักฐานที่จำเลยทำให้ ไปยังไม่อาจจดทะเบียนโอนรถยนต์โดยสารพิพาทให้เป็นชื่อโจทก์ เป็นเจ้าของได้ เพราะต้องให้บุคคลอื่นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน ไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานทะเบียนรถยนต์กรมตำรวจเสียก่อน จำเลยจึงจะอ้างว่าได้ปฏิบัติชอบด้วยคำพิพากษาแล้วมิได้
หากรถยนต์โดยสารพิพาททรุดโทรมจนไม่อยู่ในสภาพที่จะจดทะเบียนโอนกันได้ ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีจำเลยไม่สามารถจดทะเบียน โอนรถยนต์โดยสารพิพาทได้ ซึ่งตามคำพิพากษากำหนดว่าจำเลยจะ ต้องชำระเงินค่ารถพิพาท 2 คัน จำนวน 300,000บาท ให้โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยนั่นเอง จำเลยจะอ้างเอาการที่รถทรุดโทรมเพราะ การใช้ตามปกติของโจทก์มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วมิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โดยสารพิพาทได้โอนไปยังโจทก์แล้วตั้งแต่ที่จำเลยส่งมอบแก่โจทก์มิใช่ด้วยการโอนทะเบียนนั้น จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา คือโอนทะเบียนรถยนต์โดยสารพิพาทให้โจทก์
หากรถยนต์โดยสารพิพาททรุดโทรมจนไม่อยู่ในสภาพที่จะจดทะเบียนโอนกันได้ ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีจำเลยไม่สามารถจดทะเบียน โอนรถยนต์โดยสารพิพาทได้ ซึ่งตามคำพิพากษากำหนดว่าจำเลยจะ ต้องชำระเงินค่ารถพิพาท 2 คัน จำนวน 300,000บาท ให้โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยนั่นเอง จำเลยจะอ้างเอาการที่รถทรุดโทรมเพราะ การใช้ตามปกติของโจทก์มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วมิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โดยสารพิพาทได้โอนไปยังโจทก์แล้วตั้งแต่ที่จำเลยส่งมอบแก่โจทก์มิใช่ด้วยการโอนทะเบียนนั้น จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา คือโอนทะเบียนรถยนต์โดยสารพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยหรือคำสั่งทางราชการ
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้ว จำเลยก็ยอมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการ กรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ.ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ.ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไป แต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนายการกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียง กรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ.ไม่เป็นไปตามปกติแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ.ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดี หรือการที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดี ต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษาตามยอม และขอบเขตอำนาจศาลในการบังคับสัญญาประนีประนอม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหลังจากที่มีคำสั่งนัดพร้อม จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้ขายที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วหากโจทก์จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมอย่างใด ก็ชอบที่จะดำเนินการกับจำเลยในทางอื่น ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยแบ่งที่ดินของจำเลยไว้เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยได้ขายที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วหากโจทก์จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมอย่างใด ก็ชอบที่จะดำเนินการกับจำเลยในทางอื่น ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยแบ่งที่ดินของจำเลยไว้เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ