คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พงษธา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายอุปกรณ์โรงแรม: การพิจารณาประเภทธุรกิจและหนังสือรับสภาพหนี้
หนี้ที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงแรมได้ซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวพร้อมการติดตั้งจากเจ้าหนี้ เป็นการกระทำเพื่อหากำไรในการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ต่อไป จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดคดีล้มละลายหลังปิดคดี: การพิจารณาหลักฐานและการไม่ขัดต่อเงื่อนไขระยะเวลา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งและคำพิพากษาให้เปิดคดีโดยมิได้มีการไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์เสียก่อนเป็นกระบวนการพิจารณาไม่ชอบและคำสั่งให้เปิดคดีล่วงเลยกำหนด 10 ปี นับแต่ศาลสั่งให้ปิดคดี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้จำเลยจะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อมีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่า พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าทรัพย์สินเป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 พร้อมแสดงหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดและความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วยจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (4) มีความหมายว่า เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลาย และคำสั่งให้ปิดคดีก็มีผลตามมาตรา 134 เพียงให้ระงับการจัดการต่างๆ ไว้ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำไปแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป กรณีมิใช่เป็นการจัดการทรัพย์ของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้ว คำสั่งให้เปิดคดีจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6217/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ: ความจำเป็นและหลักความเท่าเทียม
มูลหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการผู้ร้องจึงได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 อยู่แล้ว ทั้งหนี้ของผู้ร้องเกิดจากการชำระเงินซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากการประกาศขายของลูกหนี้ แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ โดยมีเจ้าหนี้อีกหลายรายที่อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ร้องที่ต้องจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้เดียวกันและตามมาตรา 90/42 ทวิ และมาตรา 90/42 ตรี สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การยกเลิกข้อจำกัดสิทธิให้แก่ผู้ร้องจึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกัน การจำกัดสิทธิของผู้ร้องจึงยังมีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งภาษีอากรโดยวิธีปิดหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สามารถส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานสรรพากรเลือกที่จะส่งหมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร หรือหนังสืออื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งก็ได้ แต่การใช้วิธีปิดหมาย หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นหรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ตามวรรคสอง จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถส่งตามวิธีในวรรคหนึ่งได้
เจ้าพนักงานสรรพากรส่งหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและหนังสือแจ้งภาษีการค้าแก่จำเลยโดยวิธีปิดหนังสือแจ้ง แต่ไม่ปรากฏว่าไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งให้แก่จำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้ การที่โจทก์ส่งหนังสือแจ้งแก่จำเลยโดยปิดหนังสือจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งแล้วไม่ได้ จึงยังไม่เป็นหนี้เด็ดขาดและยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนที่โจทก์จะนำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้คัดค้านล้มละลายในการเรียกค่าธรรมเนียมจากโจทก์ กรณีศาลพิพากษายกฟ้องและทรัพย์สินถูกส่งคืน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นการใช้สิทธิทางศาลให้นำกระบวนทางกฎหมายมาจัดการกับทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเอาความจริงจากข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบและตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการอายัดและรับเงินของลูกหนี้เอง ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ที่จะออกคำสั่งให้โจทก์นำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระต่อผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับลดหนี้ภาษีอากรในแผนฟื้นฟูกิจการ และการแปลงหนี้เป็นทุนของหน่วยงานรัฐ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 ประสงค์ให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นภาษีอากรก็ตาม นอกจากนี้กรณีใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำมาตรา 56 ในเรื่องผลของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้โดยอนุโลมได้ ดังนั้น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดปรับลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้
กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินการแตกต่างจากนิติบุคคลโดยทั่วไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับกรมศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันยื่นขอรับชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข พ.ศ.ร.บ.ล้มละลาย ศาลอุทธรณ์และฎีกามีคำพิพากษายืน
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 เพราะตามคำขอรับชำระหนี้ระบุว่าเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) เมื่อเจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้ากนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ และมีอำนาจหมายเรียกเจ้าหนี้มาทำการสอบสวนเกี่ยวกับหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ว่าเจ้าหนี้มีประกันและมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จริงหรือไม่ตามมาตรา 105 เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4342/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการปรึกษาทางกฎหมาย: พิจารณาจากลักษณะของหนี้ที่เกิดขึ้น
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค่าบริการในการปรึกษากฎหมาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเรียกเอาค่าการงานที่ทำให้แก่ลูกหนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) โดยไม่จำต้องเป็นค่าว่าความในคดีทื่ถือเอาผลสำเร็จของแต่ละคดีและกรณีมิใช่เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (4) และแม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลารายเดือนก็มิใช่เป็นเงินเดือนที่จ่ายให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายไม่อยู่ในข้อยกเว้นอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย อุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเจ้าหนี้และการใช้สิทธิคัดค้าน
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกฎหมายให้สิทธิบุคคลที่ได้รับความเสียหายยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 และศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับ หรือแก้ไข หรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควร ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ได้รับความเสียหายจะใช้สิทธิเยียวยาแก้ไขความเสียหายของตนทางศาลได้ แต่ไม่ใช่บทบังคับ การที่ผู้บริหารแผนไม่เลือกใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 146 ทำให้ผู้บริหารแผนไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเมื่อพ้นเวลาที่กำหนดเท่านั้น และคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีผลอยู่ต่อไป
ผู้บริหารแผนเลือกใช้ช่องทางยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาทบทวนคำสั่งของตนที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ เป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการหรือมีคำวินิจฉัยอื่นใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการพิจารณาใหม่ และคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 มาเทียบเคียงปรับใช้เพราะมิใช่คำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งอนุญาตไปแล้วตามมาตรา 90/26 ประกอบด้วยมาตรา 108 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ จึงมีอำนาจที่จะกระทำได้และไม่ขัดต่อมาตรา 108 และ 146
of 6