พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้มีเงื่อนไข หากมูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
บริษัท ส. ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัทต่อบุคคลอื่นมีข้อตกลงว่าหากเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลอื่นแล้ว บริษัท ส. จะชดใช้ให้เจ้าหนี้โดยมีจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัท ส. ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำไว้กับเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ที่มีเงื่อนไขดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจากหนังสือค้ำประกันที่มีเงื่อนไข แม้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้อง
ตามคำขอของ ส. ที่ขอให้ธนาคารเจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกัน 20 ฉบับ มีข้อความเช่นเดียวกันว่า ธนาคารเจ้าหนี้ได้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อบุคคลภายนอกเพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. กำหนดเวลาค้ำประกัน 1 ปี ตั้งแต่วันออกหนังสือสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับเป็นต้นไป และปรากฏว่ามีหนังสือสัญญาค้ำประกัน 2 ฉบับ รวม 800,000 บาท เท่านั้นที่มีการเวนคืนหนังสือค้ำประกันแล้ว ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันอีก 18 ฉบับ รวม 13,444,800 บาท ไม่ได้มีการยกเลิกสัญญาหรือเวนคืนหนังสือสัญญาค้ำประกัน ธนาคารเจ้าหนี้จึงยังคงผูกพันต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจำนวน 18 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารเจ้าหนี้ชำระหนี้แทน ส. ทั้งลูกหนี้ที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาไว้กับธนาคารเจ้าหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า หากธนาคารเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แทน ส. ไป ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ภายในวงเงินไม่เกิน 15,000,000 บาท ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำไว้กับธนาคารเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ธนาคารเจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2543 มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะฟ้องให้จำเลยล้มละลายจะต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 คดีนี้โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา 3 คดี เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวและหนี้ดังกล่าวนั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน คำฟ้องของโจทก์จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ กำหนดไว้แล้ว ส่วนจำเลยจะเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยางไร จำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นข้อที่ต้องไปว่ากล่าวในชั้นพิจารณา
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้ต้องผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์สินก่อนฟื้นฟู
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (7) ที่ใช้คำว่า "ยึด" ย่อมหมายถึงการอายัดด้วย การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ทำการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ก่อนที่ศาลมีคำสั่งคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงยื่นขอชำระหนี้ได้โดยชอบเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ทั้งนี้โดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้อีกต่อไป ผู้บริหารแผนชอบที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ การอุทธรณ์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษา
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอแก้ไขแผน ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องมิได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/79 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินจำนอง แต่ไม่ปรากฏว่ามีมูลค่าเพียงพอชำระหนี้ทั้งหมด
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตามคำพิพากษาจำนวน 5,495,094.53 บาท และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดิน 3 แปลงที่จำนองเป็นประกันไว้แก่เจ้าหนี้รายอื่น โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันมีราคามากกว่าหนี้ที่จำนองเป็นประกันหรือไม่ จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม แต่มิได้ขวนขวายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ จนโจทก์นำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยทั้งสามจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้ที่จำนวนแน่นอนและบังคับได้ตามลำดับก่อน
คำพิพากษาส่วนแพ่งในคดีอาญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ที่ให้จำเลยส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง หรือใช้ราคาเป็นเงิน 34,922 บาท แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับชำระหนี้ที่จำเลยจะปฏิบัติชำระหนี้โดยการใช้เงินจำนวน 34,922 บาท แก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการคืนเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง ไม่สามารถกระทำได้แล้วเท่านั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาส่วนแพ่งดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามลำดับ เมื่อทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใดเลยว่าเครื่องพิมพ์ดีดที่จำเลยจะต้องส่งคืนแก่โจทก์นั้นได้ถูกทำลายหรือบุบสลายไปแล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยไม่อาจคืนทรัพย์ดังกล่าวได้ หนี้ส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่องคืนแก่โจทก์ยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินราคาเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง พร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะมีสิทธิบังคับลำดับถัดมายังไม่อาจบังคับได้ จึงยังไม่อาจกำหนดได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) โจทก์ไม่อาจนำหนี้เงินดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: สัญญาผูกพัน แม้มีคัดค้าน ผู้ซื้อต้องปฏิบัติตามสัญญา
การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย มีลักษณะแตกต่างจากการขายทอดตลาดโดยทั่วไป กล่าวคือ การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งจะมีการยกเลิก เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวได้ก็แต่โดยการร้องคัดค้านการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้อง แม้จะมีผู้อื่นยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดจึงรับฟังเป็นยุติว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงสามารถโอนทรัพย์สินให้ผู้ร้องได้ จะถือว่าการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยและทำให้ผู้ร้องหลุดพ้นจากการชำระหนี้สามารถบอกเลิกสัญญามิได้ ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยใช้ราคาทรัพย์สินที่ค้างชำระให้ครบ หากไม่ชำระเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเอาออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้อง แม้จะมีผู้อื่นยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดจึงรับฟังเป็นยุติว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงสามารถโอนทรัพย์สินให้ผู้ร้องได้ จะถือว่าการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยและทำให้ผู้ร้องหลุดพ้นจากการชำระหนี้สามารถบอกเลิกสัญญามิได้ ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยใช้ราคาทรัพย์สินที่ค้างชำระให้ครบ หากไม่ชำระเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเอาออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากการประมูลในคดีล้มละลาย: การร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิ
ผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อได้รวมถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ด้วยและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าผู้ร้องไม่สุจริตหรือการขายดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด สิทธิของผู้ร้องผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 123 ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้องสอด จำเลยทั้งสองถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกจำเลยทั้งสองไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน อันถือได้ว่าเป็นการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายแล้ว เมื่อสิทธิของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ตกเป็นของผู้ร้องจากการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้วผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลาย มีสิทธิร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม) โดยไม่จำต้องมีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนฟ้องล้มละลายได้ แม้ศาลแพ่งยังไม่มีคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่เจ้าหนี้จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติแต่เพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน