พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8961/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตเมทแอมเฟตามีน - การใช้กฎหมายใหม่ (65 วรรคสาม) - การเพิ่มโทษ - ล้างมลทิน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด โดยมิได้บรรยายว่าจำนวนเม็ดของเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นหน่วยการใช้ด้วย จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 ผลิต และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานผลิตมีปริมาณ 50 หน่วยการใช้หรือมีปริมาณสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป กรณีจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ด ดังกล่าวมีจำนวนหน่วยการใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (ใหม่) ซึ่งการผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุมีจำนวนหน่วยการใช้ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (ใหม่) เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมใหม่และมีเงื่อนไขอันเป็นองค์ประกอบความผิดกับมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่เป็นคุณมากกว่ามาตรา 65 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ใหม่), 66 วรรคหนึ่ง (ใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสาม (ใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายจราจรที่แก้ไขใหม่ การพักใช้ใบอนุญาต และความผิดตามกฎหมายหลายบท
คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 9 และให้ใช้ความใหม่ตามมาตรา 157/1 แทน การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ เป็นการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์ไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8523/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงที่สมรสตามหลักศาสนาอิสลาม ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) และวรรคท้าย (เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกัน หากจะสมรสกันต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หรือกรณีที่ชายและเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ซึ่งมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 อันเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามในส่วนที่เกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดกเฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 จึงมีผลให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญานั้นไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5715/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ถูกต้อง ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แม้จะขอแก้ไขภายหลัง
สัญญากู้ที่โจทก์อ้างส่งมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวแม้โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนในภายหลังได้ แต่ต้องกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำสัญญากู้มาอ้างเป็นพยานหลักฐาน หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา การที่โจทก์เพิ่งมาร้องขอต่อศาลฎีกาหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปแล้ว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีไม่มีทุนทรัพย์: การขอส่งมอบโฉนดที่ดินโดยมิได้พิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด จำเลยยึดถือและครอบครองโฉนดที่ดินของโจทก์และปิดประกาศขายทอดตลาดโดยเจตนาทุจริต ฉ้อฉล ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ส่งมอบโฉนดที่ดินคืนแก่โจทก์ โดยโจทก์มิได้ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบด้วย มาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 8 เดือน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไม่อยู่กับร่องกับรอยปรักปรำจำเลยทั้งสองไม่น่าเชื่อถือ พยานจำเลยทั้งสองน่าเชื่อถือมากกว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ทำผิดตามฟ้อง หากเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยทั้งสองด้วยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาหรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจาณาต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะปฏิบัติเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว มิได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่จำเลยทั้งสองประสงค์จะขออนุญาตฎีกา พร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณาอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองคงเพียงขอให้ผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือ บ. และ ธ. อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แต่กลับส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 การที่ ช. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง จึงหามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 อันจะส่งผลตามกฎหมายให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสอง และมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเลิกกันแล้ว ต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วน แต่ค่าเสียหายจากการขยายเวลาไม่คืน
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยประสงค์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาซื้อขายเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่สามารถชำระราคาและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาได้ โจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาตกลงขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป โดยโจทก์ทั้งสองยอมเสียค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือรวม 14 ครั้ง รวมเวลานับจากกำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกถึง 8 ปีเศษ แม้ตามสัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่า หากโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาที่เหลือหรือค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยผู้ขายตามกำหนด สัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีหรือจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่ตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นเห็นได้ว่า โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่การชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ดังนั้น การที่จำเลยจะใช้สิทธิเลิกสัญญาจึงต้องเป็นไปตามมาตรา 387 หากจำเลยต้องการเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชำระราคาที่ดินที่เหลือภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าโจทก์ทั้งสองไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 387 ซึ่งตามหนังสือบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลย จำเลยหาได้บอกกล่าวกำหนดเวลาให้โจทก์ทั้งสองนำเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือมาชำระให้แก่จำเลยเสียก่อนไม่ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสอง แต่การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย หนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ทั้งสองส่งให้แก่จำเลยโดยมีผู้รับแทนในวันที่ 8 กรกฎาคม 2541 จึงถือว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเลิกสัญญากันในวันดังกล่าว
เมื่อสัญญาจะซื้อขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไปตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินรวมทั้งเงินมัดจำที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ส่วนเงินค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปซึ่งคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยเป็นรายเดือนเรื่อยมานั้น หากมีการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทุกฉบับโดยครบถ้วน โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวนี้คืนจากจำเลยแต่อย่างใด เงินค่าตอบแทนดังกล่าวมิใช่เงินค่าที่ดินเพิ่ม แต่ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นไปแล้วเพื่อเป็นการตอบแทนการที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวคืนจากจำเลย
เมื่อสัญญาจะซื้อขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไปตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินรวมทั้งเงินมัดจำที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ส่วนเงินค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปซึ่งคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยเป็นรายเดือนเรื่อยมานั้น หากมีการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทุกฉบับโดยครบถ้วน โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวนี้คืนจากจำเลยแต่อย่างใด เงินค่าตอบแทนดังกล่าวมิใช่เงินค่าที่ดินเพิ่ม แต่ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นไปแล้วเพื่อเป็นการตอบแทนการที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3009/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการจดจำนองโดยสุจริตของผู้รับจำนอง
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่กรอกข้อความให้ อ. และ ว. ไปยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่บุคคลทั้งสองกลับสมคบกับโจทก์ไปกรอกข้อความจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์ จำเลยจะต้องรับผลในความเสียงภัยที่ตนก่อขึ้นดังกล่าว และถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน การที่ อ. และ ว. ปลอมหนังสือมอบอำนาจเป็นผลสืบเนื่องจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยโดยตรง เมื่อโจทก์มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ อ. และ ว. ผู้รับมอบอำนาจ ทั้งไม่อาจทราบว่า อ. และ ว. สมคบกันปลอมหนังสือมอบอำนาจ จึงยอมรับจดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน หากให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างมาก การที่โจทก์จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน การโอนสิทธิครอบครอง และข้อยกเว้นอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทจาก อ. โดยมอบให้ อ. ครอบครองแทน แม้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ ป. ที่ดินฯ มาตรา 9 จะโอนที่ดินมือเปล่าให้แก่กันมิได้ก็ตาม แต่ที่ดินมือเปล่านั้นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 บัญญัติว่า การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้น ย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งมาตรา 1380 วรรคหนึ่งก็ได้บัญญัติรับรองด้วยว่าการโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาต่อไปว่าจะยึดถือทรัพย์นั้นแทนผู้รับโอน เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มอบหมายให้ อ. ครอบครองแทน โจทก์ทั้งสองจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาจาก อ. โดยการโอนและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 และมาตรา 1380 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ครอบครองซึ่งถูกแย่งการครอบครอง ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองสำหรับกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการออก พ.ร.ฎ. เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์และทำแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ครอบครองซึ่งถูกแย่งการครอบครอง ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองสำหรับกรณีที่ถูกแย่งการครอบครองเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการออก พ.ร.ฎ. เพิกถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์และทำแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ. เป็นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงหาใช่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองจะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินแนวสายส่งไฟฟ้า การคำนวณดอกเบี้ย และข้อยกเว้นส่วนควบของที่ดิน
ในการสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมทั้งถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัยของโจทก์นั้น ได้รับความยินยอมและอยู่ในความรู้เห็นของเจ้าของที่ดิน จึงถือได้ว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัย เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน การที่จำเลยยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงเป็นส่วนควบของที่ดิน เพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ทั้งๆ ที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่กลับไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ต่อไปเนื่องจากต้องรื้อถอนบ้านพักขนย้ายครอบครัวออกไป เพราะถูกแนวเดินสายส่งไฟฟ้าของจำเลยพาดผ่านจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ที่มุ่งหมายจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องพิจารณาจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านอย่างเป็นธรรม
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "...ให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" คำว่า "...ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทน หาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องจ่ายเพิ่มไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทนจากจำเลย จำเลยได้นำเงินดังกล่าวไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสิน โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยนำเงินค่าทดแทนไปฝากธนาคารเป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "...ให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น" คำว่า "...ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทน หาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องจ่ายเพิ่มไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทนจากจำเลย จำเลยได้นำเงินดังกล่าวไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสิน โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยนำเงินค่าทดแทนไปฝากธนาคารเป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7