พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบ ศาลไม่รับพิจารณา เหตุไม่เกี่ยวข้องกับข้อหาเดิมในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมตึกแถว จำเลยเข้ามาอยู่อาศัยในตึกแถวโดยโจทก์ไม่ได้อนุญาต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์กับผู้มีชื่อได้ร่วมกันข่มขู่ให้จำเลยออกจากที่ดินและให้นำเงินไปชำระแก่โจทก์ โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลในคดีที่โจทก์กับ ป. ถูก ส. ยื่นฟ้องเป็นจำเลยและศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้โจทก์โอนหุ้นรวมทั้งห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ จ. การกระทำของโจทก์เป็นการละเมิดและรอนสิทธิการเช่าของจำเลย ทำให้จำเลยไม่สามารถครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินรวมทั้งต้องว่าจ้างทนายความมาดำเนินการแก้ต่าง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิดอันเป็นเรื่องอื่นซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแทนการชำระค่าธรรมเนียมศาล: ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยวางค่าธรรมเนียมภายหลังได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลมาวาง แต่จำเลยได้เลือกใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างเวลานั้น แม้การยื่นอุทธรณ์คำสั่งจะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้า ก็ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์แทนการนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยและปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วในระหว่างนั้น โดยศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระ นับได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้กำหนดเวลาเพื่อให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลมาวางภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมซึ่งจะทำให้จำเลยสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งแทนการชำระค่าธรรมเนียมศาล และการกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมหลังคำสั่งศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในเวลาที่กำหนด แต่จำเลยได้เลือกใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในระหว่างเวลาที่จำเลยยังสามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระตามคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ แม้การยื่นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจะพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้าก็ตาม กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์แทนการนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยและปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วในระหว่างนั้น เมื่อคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาล กรณีเช่นนี้ นับได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้กำหนดเวลาเพื่อให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและเรียกจำเลยร่วม ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขออนุญาตยื่นคำให้การและขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้วสืบพยานต่อไปนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ต่อไป จำเลยจึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยจำเลยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียมศาล ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดี และขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนและให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วสืบพยานต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ ต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย แต่จำเลยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบด้วย กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ต้องวางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขออนุญาตยื่นคำให้การและขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้วสืบพยานต่อไปนั้น เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ด้วย จำเลยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการดำเนินการภายใน 10 ปี
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี คือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ ซึ่งโจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาท และขอถอนการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่โดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่ต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คที่จำเลยทั้งสี่นำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยกคำแถลงของโจทก์แต่โจทก์ไม่ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวต่อศาลจนศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ยื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยทั้งสี่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีหลังถอนการยึด-เพิกถอนคำสั่ง และการนับระยะเวลาตามมาตรา 271
โจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาทและขอถอนการบังคับคดีไปแล้ว แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยโดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินที่จำเลยนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดียกคำแถลงของโจทก์ แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ได้ยื่นไว้เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดแจ้งเท็จ และการลงโทษความผิดหลายกระทงตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอุทธรณ์: การส่งสำเนาคำอุทธรณ์และผลของการไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน หากไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ต่อมาเจ้าพนักงานศาลรายงานต่อศาลว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยตามภูมิลำเนาจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้รอโจทก์แถลง แต่โจทก์ก็ไม่ได้แถลงว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อพิจารณาสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด