คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ปิติสันต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ยักยอกเงินและใช้เอกสารปลอมเพื่อหลอกลวง
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายได้ยักยอกเงินที่ลูกค้านำมาชำระให้ผู้เสียหายแล้วจำเลยใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปอ้างแสดงต่อผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยนำเงินที่ลูกค้าชำระให้ผู้เสียหายส่งมอบให้แผนกการเงินของผู้เสียหายแล้ว แม้การใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมจะต่างวาระกับความผิดฐานยักยอก แต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของผู้เสียหายนั่นเอง ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและความผิดฐานยักยอกจึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียว การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและฐานยักยอก จึงเป็นกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารทางการ (แผ่นป้ายภาษี/ประกันภัย) แม้ไม่แก้ไขข้อความ ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264
จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นภาพสีให้ปรากฏข้อความที่มีสี ตัวอักษรและขนาดเหมือนฉบับที่แท้จริงแล้วนำไปติดที่รถยนต์บรรทุกและรถพ่วง มีลักษณะที่ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดนนทบุรี นายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดพะเยา นายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร นายทะเบียนกรมการประกันภัย หรือผู้อื่นได้ จึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับ หาใช่ว่าจำเลยจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้ผิดแผกแตกต่างไปจากต้นฉบับเอกสารที่แท้จริงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคหนึ่ง
รถพ่วงของรถอยู่ในความหมายของคำว่า รถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (9) และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 ซึ่งเจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 85 วรรคหนึ่ง, 90 กับต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยและติดเครื่องหมายไว้ที่รถ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 12 วรรคสอง รถพ่วงของรถจึงเป็นรถที่ต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยแยกต่างหากจากรถลากจูงการที่จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปติดที่รถยนต์บรรทุก 2 คัน และรถพ่วง 2 คัน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า ได้เสียภาษีรถยนต์และทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 4 กระทง ตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ เกินกำหนด 7 วัน คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกา
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแต่เฉพาะบางส่วน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 คู่ความจะฎีกาต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของกลางในคดีเหมืองแร่: ผู้คัดค้านต้องยกประเด็นการใช้เครื่องมือในการกระทำผิดตั้งแต่ศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านแต่เพียงว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ของกลาง และไม่มีโอกาสทราบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า จำเลยทั้งสี่จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้กระทำความผิด ทั้งผู้คัดค้านได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีประเด็นว่ารถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ของกลาง เป็นเครื่องมือที่จำเลยทั้งสี่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านเพิ่งกล่าวในชั้นอุทธรณ์ว่าพยานที่เห็นรถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ดังกล่าวในที่เกิดเหตุมีเหตุโกรธเคืองกับผู้คัดค้านมาก่อน จึงรับฟังไม่ได้ว่ารถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม เหตุจากมูลเหตุแห่งสิทธิแตกต่างกัน ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เช่า พร้อมกับให้ชำระค่าใช้ประโยชน์และค่าเช่าค้างชำระโดยโจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าอาคารโดยมูลเหตุที่จำเลยยอมมอบอาคารของจำเลยในพื้นที่เช่าให้โจทก์ใช้ประโยชน์ แม้อาคารดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวพันอยู่ในฟ้องเดิมและจำเลยฟ้องแย้งโดยไม่ได้อาศัยเหตุจากการถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทานก็ตาม แต่มูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้รับผิดตามฟ้องและฟ้องแย้งนั้น โจทก์และจำเลยต่างอาศัยมูลเหตุแห่งสิทธิแตกต่างกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาต้องเป็นไปตามฟ้อง หากมีข้อเท็จจริงนอกฟ้อง แม้ได้ความในชั้นพิจารณา ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยบรรยายฟ้องในข้อหานี้เพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบุคมตัวเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวก เท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะเห็นว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มีมูลและสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาต้องเป็นไปตามฟ้อง หากมีข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยได้
เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์เฉพาะส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องในข้อหานี้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิ เสรีภาพของโจทก์กับพวกเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องเลยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มาด้วยนั้น จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการพิจารณาคดีนอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องหากข้อเท็จจริงเกินกว่าที่กล่าวในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหาทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงสิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวกโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวก แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตามมาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: คลองสาธารณะแม้ไม่ได้ใช้สัญจรทางน้ำโดยทั่วไป ก็ไม่สิ้นสภาพ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องทางจำเป็น
คลองมหาชัยมีเขื่อนโครงการแก้มลิงกั้นอยู่บริเวณปากคลองแต่มีชาวบ้านบางคนใช้เรือส่วนตัวสัญจรไปมา ส่วนเขื่อนจะปิดกั้นเฉพาะกรณีเพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน มิได้ปิดตลอดเวลา คลองมหาชัยจึงเป็นทางสาธารณะตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 การที่ประชาชนส่วนใหญ่มิได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่ากับการสัญจรทางบกหาได้ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองมหาชัยซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: คลองสาธารณะแม้ไม่ใช้งานบ่อย ยังคงเป็นทางสาธารณะได้
แม้คลองมหาชัยจะมีเขื่อนกั้นอยู่บริเวณปากคลอง แต่มิได้ปิดกั้นตลอดเวลา เป็นการปิดกั้นเพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน คลองมหาชัยยังเป็นคลองที่ประชาชนใช้ในการสัญจรไปมาอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นทางสาธารณะตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 การที่ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มิได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก หาได้ทำให้คลองมหาชัยสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งสองอยู่ติดคลองมหาชัย ซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้
of 21