คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ปิติสันต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญาไม่เป็นเบี้ยปรับ แม้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินระบุไว้ชัดเจนว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าหากไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรจึงไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ทางปฏิบัติโจทก์จะยอมผ่อนผันให้โดยคิดดอกเบี้ยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ตกลงกันไว้ และต่อมาโจทก์ได้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งจนครั้งสุดท้ายจากอัตราร้อยละ 6 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญญากลายเป็นเบี้ยปรับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนขายฝากสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา ทำให้ภริยามีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ หากจำเลยไม่สุจริต
การที่ อ. สามีโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่จำเลย เป็นกรณีที่ อ. จัดการสินสมรสซึ่งโดยปกติต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 เมื่อ อ. จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทได้ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่รู้เรื่องการกระทำดังกล่าวหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก เว้นแต่ขณะที่ทำนิติกรรมนั้นจำเลยได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม มาตรา 1480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12582/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรเครดิตปลอม ฉ้อโกง และการริบของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขโทษและข้อกำหนดการริบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมบัตรเครดิตวีซ่าและนำบัตรเครดิตที่ปลอมนั้นไปใช้หลอกลวงร้านค้า ห. ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้มีชื่อถือบัตรเครดิตดังกล่าว และได้ไปซึ่งกระเป๋าของกลาง 2 ใบ โดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่และมิได้ขอให้ศาลสั่งริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาในฟ้อง ศาลย่อมริบไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ส่วนกระเป๋าของกลาง เจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงริบไม่ได้เช่นกันตาม ป.อ. มาตรา 33 วรรคท้าย
แม้พนักงานอัยการโจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกรายการขายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายที่ธนาคาร ท. ได้รับนั้น เป็นเพียงความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญาจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 269/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 265 และ 268 มาบังคับแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12582/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงและการใช้เอกสารปลอม ธนาคารผู้เสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ผู้เสียหายทางอาญา
ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกการขายซึ่งเกิดจากบัตรเครดิตของธนาคาร ซ. ที่จำเลยปลอมขึ้นและนำไปใช้ซื้อสินค้าให้แก่ร้าน ห. เป็นเพียงได้รับความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญา จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้แก่ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องมีทนายความแต่งตั้งเป็นหนังสือ หากไม่มีการแต่งตั้ง ทนายความไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12477/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาพิพากษาว่าการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตเหมาะสมกับพฤติการณ์ร้ายแรงของคดี
ตาม ป.อ. มาตรา 52 (2) ในการลดโทษประหารชีวิตถ้าจะลดกึ่งหนึ่ง ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ซึ่งศาลจะเห็นสมควรลดโทษให้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดว่าร้ายแรงหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11993/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: เริ่มนับแต่วันได้รับเงินแต่ละครั้ง
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและผู้บริโภคทั้งสิบสามรายได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่ผู้บริโภคทั้งสิบสามรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยได้รับเงินจากผู้บริโภคแต่ละรายหลายครั้งหลายจำนวนจึงต้องเสียดอกเบี้ยของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่เวลาที่ได้รับเงินแต่ละจำนวนไว้แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงินครั้งสุดท้ายจากผู้บริโภคแต่ละราย จึงกำหนดให้ตามคำขอของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้บริโภคทั้งสิบสามรายนับแต่เวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินคืนแก่ผู้บริโภคแต่ละรายนั้นจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ไม่ถือเป็นการยึดซ้ำ
การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง แม้หลังจากศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคงมีผลบังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตามมาตรา 260 (2) ก็ตาม แต่ก็เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ขอออกหมายบังคับคดีอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงไม่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม มาตรา 290 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการอายัดซ้ำ
การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่งแม้หลังจากศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคงมีผลบังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 260 (2) ก็ตาม แต่ก็เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ขอออกหมายบังคับคดีอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงไม่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8939/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด ไม่ผูกติดกับคำพิพากษาลงโทษ จำเป็นต้องมีการไต่สวนความเกี่ยวข้องของทรัพย์สิน
การขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 มุ่งประสงค์จะให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นหลัก โดยไม่คำนึงว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ การจะได้ความว่าทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ย่อมจะต้องผ่านกระบวนการไต่สวนในเบื้องต้นเสียก่อนว่าทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับคดีที่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกฟ้องอันเป็นคดีหลัก ตามถ้อยคำแห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงบัญญัติข้อความแยกต่างหากจากการริบทรัพย์สินและขอคืนทรัพย์สิน ตามมาตรา 36 แห่ง ป.อ. ทั้งห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่า คดีที่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกฟ้องเป็นคดีหลักและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงให้งดไต่สวนและยกคำร้องมานั้นไม่ชอบ
of 21