พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาผิดนัดชำระหนี้จากสัญญาประกันตัว: เริ่มเมื่อมีหนังสือบอกกล่าว
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์ เมื่อถึงกำหนดนัดส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 18 มกราคม 2544 จำเลยไม่นำตัวผู้ต้องหามาส่งโจทก์ ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกันตัว โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ตีราคาประกันไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้มีกำหนดเวลาอันพึงจะชำระแก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วแต่ไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2547)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2774/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์โดยนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและเช็คไม่มีมูลหนี้
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดไว้ต่างหากจากกันตามมาตรา 5 และมาตรา 6 ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะกรณีนายวงแชร์ผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ในกรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่เป็นนิติบุคคล กฎหมายหาได้ให้สิทธิเช่นว่านั้นแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ เมื่อแชร์รายพิพาทมีบริษัท ส. เป็นนายวงแชร์ การแล่นแชร์รายนี้จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวจึงปราศจากมูลหนี้ที่จะบังคับกันได้ตามกฎหมาย แม้โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างเป็นสมาชิกวงแชร์ด้วยกัน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแพ่ง: ทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์
ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลย มีเนื้อที่ 20 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,250 บาท คิดเป็นทุนทรัพย์พิพาท 25,000 บาท ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยตามคำฟ้องและฟ้องแย้งในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าด้วยอาวุธปืน: ความรุนแรงของอาวุธมีผลต่อการพิจารณาความผิด
จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นเล็งยิงผู้เสียหายที่บริเวณหน้าอกในระยะห่างเพียง 1.5 เมตร โดยปกติกระสุนปืนจะกระจายออกเป็นวงทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ กลับปรากฏว่าผู้เสียหายมีบาดแผลถลอก และไม่พบบาดแผลที่บริเวณอื่นของร่างกาย แพทย์ลงความเห็นว่าใช้เวลาในการรักษา 5 ถึง 7 วัน และผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่ากระสุนปืนไม่ทะลุร่างกายและไม่ทะลุเสื้อ แสดงให้เห็นว่า กระสุนปืนไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำอันตรายทะลุเสื้อและผิวหนังเข้าสู่ร่างกายของผู้เสียหาย อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงผู้เสียหายจึงไม่มีความร้ายแรงพอที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 81 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการพิสูจน์อายุของจำเลยเพื่อขอโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยจำเลยถึง 3 ครั้ง เพื่อให้ดำเนินการให้ได้พยานบุคคลมาศาลเพื่อไต่สวนซึ่งในแต่ละครั้งศาลชั้นต้นได้กำชับจำเลยให้รีบดำเนินการเพื่อให้นำพยานมาศาลในวันนัด แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่สามารถนำพยานมาศาลได้เลย ทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถนำพยานมาได้ก็คงเป็นเหตุผลเดียวกันทุกครั้งคือติดขัดด้วยระเบียบของทางราชการ แต่จำเลยก็หาได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวพยานมาศาล ทั้งมิได้แถลงให้ศาลทราบว่าจะสามารถติดตามพยานมาไต่สวนได้หรือไม่ เมื่อใด เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนพยานจำเลยต่อไปอีก โดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบและให้งดไต่สวนพยานจำเลยนั้น ชอบด้วยรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดียาเสพติด: พิจารณาการรับสารภาพโดยเจตนาลุแก่โทษและการให้ความรู้แก่ศาล
เมื่อสืบพยานโจทก์ได้ 3 ปาก ซึ่งปรากฏว่าเป็นพยานที่รู้เห็นถึงการกระทำผิดของจำเลยในครั้งเกิดเหตุเพียงปากเดียว จำเลยก็ขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องตลอดข้อกล่าวหา และภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานอีก 1 ปาก จำเลยยังได้แถลงรับข้อเท็จจริงบางประการ จนโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป ดังนี้ แม้จำเลยจะรับสารภาพเมื่อสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน และการที่จำเลยมิได้หลบหนีแต่กลับยินยอมให้จับกุมโดยดี ตลอดจนให้การรับสารภาพมาโดยตลอดตั้งแต่ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนนั้น ก็นับได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าหน้าที่พนักงานและให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ลดโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งจึงเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและการสร้างภาระจำยอมโดยผลของกฎหมาย กรณีการก่อสร้างกีดขวางทางเข้าออกของที่ดินแปลงอื่น
การที่ ส. และร้อยตำรวจเอก อ. ได้ร่วมกันจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าด้วยวิธีใด ถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ฯ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งมีใจความสำคัญในข้อ 1 ว่า "การจัดสรรที่ดิน" หมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน มีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยที่ประกอบการพาณิชย์หรือที่ประกอบอุตสาหกรรม ไม่ว่าผู้จัดสรรที่ดินนั้นจะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม และข้อ 30 วรรคหนึ่งมีใจความสำคัญว่า สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินทำถนนตรงกลางระหว่างทาวน์เฮาส์ และทำทางพิพาทที่อยู่ด้านในผ่านที่ดินที่อยู่ด้านนอกเชื่อมกับถนนสาธารณะย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของผู้จัดสรรที่ดินว่าเพื่อต้องการให้เจ้าของที่ดินแปลงในมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวก แม้ทางพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ทำถนนเชื่อมกับถนนสาธารณะย่อมถือได้ว่าเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลง เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงคอนกรีตและทำประตูรั้วเหล็กรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทซึ่งเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรร ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และผู้อยู่อาศัยรายอื่น จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำดังกล่าวโดยไม่จำต้องคำนึงว่าทางพิพาทดังกล่าว จะมีผู้ใช้เดินมาแล้วเกิน 10 ปี หรือไม่ เพราะถือได้ว่าทางพิพาทมีสภาพเป็นทางภาระจำยอมโดยผลของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจขยายตามสมควร โดยไม่จำกัดเหตุผล และการคำนวณระยะเวลาที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการ วันที่ 24 พฤษภาคม2542 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 15 วัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 24พฤษภาคม 2542 หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาตามที่โจทก์ต้องการเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดในวันที่ 7 มิถุนายน 2542 มิใช่วันที่ 8 มิถุนายน 2542 และการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีอำนาจทั่วไปที่จะอนุญาตขยายให้เท่าใดก็ได้ตามเหตุผลที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลานั้น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 18 มิถุนายน2542 จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจทั่วไปในการขยายเวลาได้ตามสมควร แม้ไม่ระบุเหตุผลชัดเจน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาตามคำร้องขอ ก็จะต้องยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 7 มิถุนายน 2542 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2542 มากกว่าที่โจทก์ร้องขอ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่ และจะอนุญาตขยายระยะเวลาให้เท่าใดก็ได้ ตามเหตุผลที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตนั้นว่าเพราะเหตุใด กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว จะถือว่าศาลชั้นต้นสั่งโดยผิดหลง โดยมิได้ระบุเหตุผลที่ให้เวลาแก่โจทก์เกินกว่าที่โจทก์ร้องขอให้ชัดเจน ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฎีกาแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือเป็นการทิ้งฎีกา คดีจึงถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหาย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาจากจำเลยโดยจำเลยขายฝาก จำเลยให้การว่าการขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่เคยขายฝากให้โจทก์ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อันเป็นการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นกรณีที่จำเลยผู้ฎีกาเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246,247
จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นกรณีที่จำเลยผู้ฎีกาเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246,247