พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในบัตรเครดิต: ผู้ถือบัตรไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรโดยมิชอบ
ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่บัตรเครดิตสูญหาย ถูกลักขโมย หรือถูกใช้โดยบุคลอื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ถือบัตร (จำเลย) ที่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ศูนย์บัตรเครดิตของธนาคาร (โจทก์) ทราบแล้วโดยพลันเพื่อให้ระงับการใช้บัตรเครดิต ในภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นก่อนมีการแจ้งดังกล่าวในจำนวนเงินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตร ซึ่งถูกนำไปใช้โดยมิชอบ รวมถึงภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นหลังจากแจ้งให้ธนาคารทราบแล้วไม่เกิน 5 นาที นอกจากจะขัดแย้งกับข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 6 วรรคสอง แล้ว ยังถือเป็นข้อสัญญาที่ทำให้จำเลยต้องรับภาระในหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยไม่ได้ก่อขึ้นและไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ทั้งโจทก์ยังมีทางแก้ไขความเสียหายของโจทก์ได้โดยหากโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลยผู้ถือบัตร โจทก์สามารถเรียกเงินที่ได้จ่ายไปคืนจากร้านค้าได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าบัตรเครดิตได้สูญหายไปเพื่อขอให้โจทก์ระงับการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะต้องรีบดำเนินการให้จำเลยโดยเร็ว ก็จะทราบได้ทันทีว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลย แสดงว่าร้านเจมาร์ทไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อในเซลสลิป ย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากร้านเจมาร์ทแทนการมาเรียกเก็บจากจำเลยได้ ซึ่งเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่โจทก์มิได้ทำเช่นนั้น โดยเห็นว่ามีข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่ให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลยเกินสมควรและเป็นการผลักภาระให้จำเลยต้องรับผิดเกินกว่าวิญญูชนทั่วไปจะคาดหมายได้ตามปกติ อันเข้าลักษณะข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 จึงไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การช่วยเหลือป้องกันผู้อื่นจากภยันตรายและการใช้กำลังพอสมควรแก่เหตุ
จำเลยที่ 2 เข้าไปกอดรัด ป. หลังจากที่ถูก ป. ใช้ขวดตีที่บริเวณศีรษะ แต่ ป. ยังไม่หยุดทำร้ายโดยใช้ปากกัดที่บริเวณแขนของจำเลยที่ 2 และยังใช้มือบีบคอจำเลยที่ 2 ด้วย ย่อมเป็นการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิเข้าช่วยเหลือป้องกันจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้นได้ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ค้อนตีศรีษะ ป. 3 ถึง 4 ครั้ง เป็นเพียงแผลแตกแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตีเต็มกำลังให้ถึงตาย แต่จำเลยที่ 1 กระทำเพื่อให้ ป. หยุดทำร้ายและปล่อยตัวจำเลยที่ 2 เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการป้องกันจำเลยที่ 2 พอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง
การลักบัตรเครดิตของนายจ้างกับการปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เป็นคนละวาระกัน ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้างเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเป็นสินค่าที่จำเลยได้จากร้านค้าคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ รองเท้า และสร้อยข้อมือทองคำ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่กรรมเดียวไม่ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15187/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจล่วงหน้าและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเพิกถอนจำนอง
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้าไว้โดยมิได้มีการกรอกข้อความรายละเอียดลงไป แสดงว่าโจทก์รู้ดีและยอมรับอยู่แล้วว่าผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทจะสามารถนำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปกระทำการโอนขายต่อหรือจำนองหรือกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายหลังที่พ้นกำหนดข้อห้ามโอน 5 ปีนับแต่ออกเอกสาร น.ส.3 ก. แล้ว เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินโดยสุจริตจากผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทไปตามวิธีปฏิบัติดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้โจทก์มิต้องชำระหนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11102/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการซ้ำซ้อนขัดหลักกฎหมาย อนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดขัดต่อความสงบเรียบร้อย
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงผู้ร้องและผู้คัดค้านโดยชอบแล้ว ย่อมเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 21 วรรคสี่
กำหนดระยะเวลาที่มาตรา 23 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดและจำเป็นที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องบังคับให้คู่กรณีฝ่ายนั้นยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดเท่านั้น เมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนไม่เข้าเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านจำเป็นจะต้องร้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้ร้องยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาด แม้ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 23 วรรคหนึ่งดังกล่าว คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนก็ยังมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ หาสิ้นผลบังคับไปไม่ ดังนั้น การนำข้อพิพาทที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วโดยอนุญาโตตุลาการชุดก่อนซึ่งคำชี้ขาดเป็นที่สุดและยังคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ไปรื้อร้องขอต่ออนุญาโตตุลาการชุดหลังให้พิจารณาชี้ขาดซ้ำอีก ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือได้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดได้
การที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังได้รับคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องไว้พิจารณาแล้วมีคำชี้ขาดใหม่ ฉบับลงวันที่ 3 ธันวาคม 2544 เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีคำชี้ขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังในวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีย่อมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ให้อำนาจศาลที่จะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ถ้าปรากฏต่อศาลว่าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2551)
กำหนดระยะเวลาที่มาตรา 23 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดและจำเป็นที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องบังคับให้คู่กรณีฝ่ายนั้นยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดเท่านั้น เมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนไม่เข้าเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านจำเป็นจะต้องร้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้ร้องยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาด แม้ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 23 วรรคหนึ่งดังกล่าว คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนก็ยังมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ หาสิ้นผลบังคับไปไม่ ดังนั้น การนำข้อพิพาทที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วโดยอนุญาโตตุลาการชุดก่อนซึ่งคำชี้ขาดเป็นที่สุดและยังคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ไปรื้อร้องขอต่ออนุญาโตตุลาการชุดหลังให้พิจารณาชี้ขาดซ้ำอีก ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือได้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดได้
การที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังได้รับคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องไว้พิจารณาแล้วมีคำชี้ขาดใหม่ ฉบับลงวันที่ 3 ธันวาคม 2544 เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีคำชี้ขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังในวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีย่อมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ให้อำนาจศาลที่จะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ถ้าปรากฏต่อศาลว่าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2551)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8311-8312/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากจากทรัพย์มรดก: สิทธิทายาท & การแบ่งทรัพย์สิน
ผู้ร้องทั้งสองไม่มีหลักฐานเอกสารแสดงการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย ถึงแม้ผู้ร้องที่ 1 จะได้โอนที่ดินพร้อมบ้านไม้สองชั้น 2 คูหา ให้ผู้ร้องที่ 2 ไปแล้วก็เป็นเพียงการโอนไปซึ่งทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ในทรัพย์มรดกอื่นกลับไม่ปรากฏว่าผู้ร้องที่ 1 ได้จัดการประการใดหรือโอนให้จำเลยไป ดังนี้ เมื่อเงินฝากในบัญชีเงินฝากกึ่งหนึ่งยังเป็นของผู้ตาย ย่อมตกทอดไปยังจำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย จำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในเงินฝากดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการอายัดเงินดังกล่าวของพนักงานบังคับคดี
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7654/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดในคดีกระทำชำเราเด็ก และการลงโทษตามบทที่มีอัตราโทษสูงกว่า การแก้ไขบทโดยไม่แก้โทษเป็นวิธีที่ไม่ชอบ
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลชั้นต้นต้องลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามฟ้องโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกต่ำกว่า เป็นการปรับบทผิดโดยพลั้งเผลอ แต่ศาลชั้นต้นก็ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นการถูกต้องตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม หากศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่าสมควรแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะแก้เฉพาะในส่วนที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงควรแก้ไขโดยปรับบทความผิดให้ถูกต้องเป็นมาตรา 277 วรรคสาม โดยไม่จำเป็นต้องแก้โทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่แก้บท แต่กลับไปแก้โทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาถูกต้องแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องร้องซ้ำจึงเป็นกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีก่อนโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) ออกเป็น 2 แปลง คือแปลงเดิมเลขที่ 4044 และแปลงใหม่เลขที่ 4045 ตามคำพิพากษาของศาล จำเลยทั้งสามจึงฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกดังกล่าว เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4045 เป็นไปโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยทั้งสามจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ยินยอมให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมออกเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 และเลขที่ 4045 เป็นไปโดยไม่ชอบอีกหาได้ไม่
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหลังคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเดิมมีผลผูกพัน ห้ามฟ้องคดีซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้จดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามคนละส่วนเท่า ๆ กัน ต่อมาจำเลยทั้งสามฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหลังจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นไปโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องในคดีเดิมขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิม แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดอีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามมาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการโดยทนายความที่มิได้รับมอบอำนาจในชั้นอุทธรณ์ ผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา และการแก้ไขโดยศาล
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดย ส. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ด้วย เท่ากับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้อำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แก่ ส. กรณีจึงถือว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจรับชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้อง หรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ศาลชั้นต้นหาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ กลับรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไว้ดำเนินการต่อมาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบและไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ไม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้แต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความของตนให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกาแล้วจึงไม่จำต้องดำเนินการแก้ไขในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล