พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากสัญญาฝากทรัพย์: สัญญาฝากมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปีตามละเมิด
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์ฝากเงินไว้แก่จำเลย ต่อมามีบุคคลอื่นปลอมลายมือชื่อของโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อยอมให้ถอนเงินไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินจำนวนที่ถูกถอนไปแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืนตามสัญญาฝากทรัพย์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยก็เพื่อแสดงว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะไม่กระทำตามหน้าที่ที่ ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม บัญญัติไว้เท่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ดังที่จำเลยฎีกาไม่ สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้แทนบัตรจริงเข้าข่ายความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ
จำเลยถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วแก้ไขในช่องชื่อ ชื่อสกุล วันออกบัตร วันหมดอายุ และนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวไปถ่ายสำเนาเอกสารอีก เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับและน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำปลอมเอกสารขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยจะมิได้แก้ไขในเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานปลอมบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการและฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 265 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอนาถา: ต้องยื่นภายใน 7 วันนับจากคำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ใช่นับจากกำหนดวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งยกคกร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง มิใช่ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ภายในวันที่ 19กรกฎาคม 2547 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 เกินกำหนดเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ 191: อำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เป็นผู้รับแจ้งเหตุ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจ 191 มีหน้าที่รับโทรศัพท์เป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้วเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยโทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ 191 ว่ามีการวางระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และสถานที่อื่นอีกหลายแห่ง โดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดอาญา จึงเป็นการแจ้งความแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาแก้โทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งรู้ว่าจะมีผู้ซื้อเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นของผิดกฎหมายมาแต่ต้นแล้ว จำเลยที่ 3 ยังบอกกล่าวแนะนำทำให้จำเลยที่ 2 ตกลงใจโทรศัพท์ติดต่อและร่วมดำเนินการกับผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจนมีการนำเมทแอมเฟตามีนมาส่งมอบให้แก่ ส. ยังที่เกิดเหตุ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันกระทำความผิดดังกล่าว อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานนี้ได้
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจะได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสาม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสาม
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจะได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสาม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปี และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี 6 เดือน จำนวน 26 กระทง และกระทงละ 6 เดือน จำนวน 6 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แม้เมื่อรวมโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงแล้วศาลล่างทั้งสองให้จำคุกจำเลย 50 ปี ก็เป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่มีผลต่อข้อจำกัดในการฎีกาของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีบัตรประจำตัวประชาชน โดยจำเลยมีสัญชาติไทย องค์ประกอบความผิดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาฟ้องที่ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ให้เป็น ผู้ใด ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตราดังกล่าว ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
โจทก์ขอให้ริบของกลางที่จำเลยใช้กระทำความผิด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดีอื่นที่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยถูกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องสั่งริบของกลางในคดีนี้อีก
โจทก์ขอให้ริบของกลางที่จำเลยใช้กระทำความผิด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดีอื่นที่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยถูกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องสั่งริบของกลางในคดีนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ประเด็นความแตกต่างของที่ดินจำนองและข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย
คดีก่อนอันถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีก่อนร่วมกันรับผิดกับบริษัท ร. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 กับจำเลยอื่นในคดีก่อน ในฐานะที่จำเลยคดีนี้เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60775 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน และคดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 กับจำเลยอื่นในคดีก่อนร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินดังกล่าวและที่ดินจำนองของจำเลยอื่นออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามในคดีก่อนชำระจนครบถ้วน
ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยจำนองเป็นประกันเพิ่มหลักทรัพย์ให้แก่โจทก์ โดยมีคำขอบังคับว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้บังคับจำนองที่ดินในคดีนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีก่อน หากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ขอให้มีคำสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ
ดังนี้เมื่อที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองแก่จำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละแปลงกัน แม้จำเลยจะจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์รายเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดคดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแตกต่างกันกล่าวคือ คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องรับผิดชำระตามคำพิพากษาในคดีก่อนและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้หรือไม่ ส่วนคดีก่อนมีประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยค้ำประกันและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60775 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์ตามฟ้องและจำเลยจะต้องร่วมกับจำเลยอื่นในคดีก่อนรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยหรือไม่ กรณีจึงมิใช่เรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะต้องด้วยลักษณะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันถึงที่สุด
ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยจำนองเป็นประกันเพิ่มหลักทรัพย์ให้แก่โจทก์ โดยมีคำขอบังคับว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้บังคับจำนองที่ดินในคดีนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีก่อน หากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ขอให้มีคำสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ
ดังนี้เมื่อที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองแก่จำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละแปลงกัน แม้จำเลยจะจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์รายเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดคดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแตกต่างกันกล่าวคือ คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12981 พร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องรับผิดชำระตามคำพิพากษาในคดีก่อนและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้หรือไม่ ส่วนคดีก่อนมีประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยค้ำประกันและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60775 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันหนี้ที่บริษัท ร. จะต้องชำระแก่โจทก์ตามฟ้องและจำเลยจะต้องร่วมกับจำเลยอื่นในคดีก่อนรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยหรือไม่ กรณีจึงมิใช่เรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะต้องด้วยลักษณะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนอันถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้จำนองที่ดินต่างแปลงกัน แต่หากประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีก่อนร่วมกันรับผิดกับจำเลยอื่นในฐานที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินดังกล่าวและที่ดินจำนองของจำเลยอื่นออกขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามในคดีก่อนชำระจนครบถ้วนคดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองที่ดินอีกแปลงหนึ่งที่จำเลยจำนองเป็นประกันเพิ่มหลักทรพัยืให้แก่โจทก์ โดยมีคำขอบังคับว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้บังคับจำนองที่ดินในคดีนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีก่อน เมื่อที่ดินที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำนองเป็นคนละแปลงกัน แม้จำเลยจะจดทะเบียนจำนองเป็นการประกันหนี้รายเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดคดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแตกต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่มีการอุทธรณ์จากคู่ความ
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 (ก) ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 50 ฟ้องข้อ 2 (ข) ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 และ พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) ฟ้องข้อ 2 (ค) ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (3) โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตามกฎหมายและบทมาตราดังกล่าวด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทุกข้อหา แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 เท่านั้น จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาปรับบทลงโทษครบถ้วนและถูกต้องโดยมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง