คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ปิติสันต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5619/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดที่นายทะเบียนจำแนกออกจากสารบบทะเบียน: ยังไม่สิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคล
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับรองระบุว่า นายทะเบียนได้จำแนกห้างหุ้นส่วนนี้ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุเชื่อว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว หาได้มีข้อความอันใดที่แสดงว่า ฐานะการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดหรือหมดสภาพไปแล้วในเวลาที่โจทก์ยื่นคำฟ้องนั้นไม่ ทั้งข้อเท็จจริงที่นายทะเบียนได้จำแนกจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบทะเบียนเพราะมีมูลเหตุที่เชื่อว่าไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานนั้น ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องสิ้นสภาพของการเป็นนิติบุคคลไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นอายุความหนี้ค่าไฟฟ้าที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าไฟฟ้าที่โจทก์ชำระแทนให้แก่จำเลยไป จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าหรือนับแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าเมื่อปี 2535 หรือพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือนับแต่วันที่จำเลยส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า หรือนับแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าเมื่อปี 2535 หรือเกินกำหนด 5 ปี ในการใช้สิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ คำให้การของจำเลยดังกล่าวมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องอายุความหนี้ค่าไฟฟ้า จึงไม่มีประเด็นในเรื่องอายุความหนี้ค่าไฟฟ้า การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยฎีกาต่อมาอีกก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5529/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทายาทจำกัดเฉพาะกองมรดก โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีกับทรัพย์สินส่วนตัวทายาท
โจทก์ฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. ผู้ตายให้รับผิดชำระค่าเสียหายจากการละเมิดของ พ. ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรกดของ พ. ความรับผิดของผู้ร้องตามคำฟ้องเป็นความรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ พ. มิใช่ในฐานะส่วนตัว แม้ผู้ร้องจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้ร้องต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องมิใช่ทรัพย์สินในกองมรดกของ พ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอากับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำเลยเกินคำฟ้องฐานใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมในฟ้องข้อ ข. ว่า "หลังจากจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำผิดดังกล่าวตามฟ้องข้อ ก. แล้ว จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้บังอาจนำเอกสารราชการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นดังกล่าว อ้างแสดงต่อองค์การบริหารส่วนตำบลกกโก เพื่อหลอกลวง..." คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินยึดเพื่อขายทอดตลาด เป็นเพียงราคาเริ่มต้น ผู้มีส่วนได้เสียสามารถสู้ราคาหรือคัดค้านได้
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประเมินราคาในชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีขายทอดตลาดเท่านั้น ซึ่งอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาได้ผูกมัดจำเลยหรือโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่ และหากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้นั้นต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองได้ ส่วนการที่คู่ความจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 และข้อ 4 ของตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย หาใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเช่นคดีนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีผลเพียงชั้นต้น ผู้มีส่วนได้เสียอาจคัดค้านได้ในการขายทอดตลาด
การประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประเมินราคาในชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีขายทอดตลาดเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาได้ผูกมัดจำเลยหรือโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่ และหากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้นั้นต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ได้
การที่คู่ความจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อการเรียกค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเอกสารเพื่อพิสูจน์ว่าสัญญากู้ไม่มีมูลหนี้เนื่องจากชำระค่าแชร์ครบถ้วน ไม่เป็นการนำสืบการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เป็นเรื่องการเล่นแชร์กัน การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์และจำเลยประมูลแชร์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ให้จำเลยทำสัญญากู้เงินเพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะส่งชำระค่าแชร์ในงวดที่เหลือต่อไป และต่อมาการเล่นแชร์สิ้นสุดลงโดยจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการนำสืบตามที่จำเลยให้การต่อสู้ และเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ เพราะจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเท่ากับเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินไม่
การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบการทำสัญญาเพื่อปฏิเสธหนี้จากการเล่นแชร์ และดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เป็นเรื่องการเล่นแชร์กัน การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์และจำเลยประมูลแชร์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ให้จำเลยทำสัญญากู้เงินเพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะส่งชำระค่าแชร์ในงวดที่เหลือต่อไป และต่อมาการเล่นแชร์สิ้นสุดลงโดยจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นการนำสืบตามที่จำเลยให้การต่อสู้ และเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ เพราะจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เท่ากับเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินไม่
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน แต่กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลเป็นพับซึ่งเป็นผลให้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นพับไปด้วย จึงไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเอกสารสัญญากู้เงินเพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีมูลหนี้ที่แท้จริง และอำนาจศาลในการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เป็นเรื่องการเล่นแชร์กัน การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์และจำเลยประมูลแชร์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ให้จำเลยทำสัญญากู้เงินเพื่อเป็นประกันว่าจะส่งชำระค่าแชร์ในงวดที่เหลือต่อไปและต่อมาการเล่นแชร์สิ้นสุดลงโดยจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เป็นการนำสืบตามที่จำเลยให้การต่อสู้ และเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ เพราะจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เท่ากับเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบได้มิใช่เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน แต่กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลเป็นพับซึ่งเป็นผลให้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นตกเป็นพับไปด้วย จึงไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาล ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้ไขในส่วนนี้เสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องทายาทได้ แม้ไม่ได้ร่วมโอน
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่า ย. เป็นหนี้ภาษีอากรแก่โจทก์ ก่อนตาย ย. โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 1 โดยเสน่หาเพื่อให้พ้นการยึด โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่าง ย. กับจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นความรับผิดส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับการให้แล้ว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของ ย. เป็นการบรรยายฟ้องแสดงถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทซึ่งกองมรดกของ ย. ตกทอดแก่บุคคลดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1600 เมื่อคดีร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ย. ได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเป็นความรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน จึงเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทซึ่งทายาทคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดอาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ ฟ้องโจทก์เท่านี้เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่แล้วว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะทายาทโดยธรรม มิใช่รับผิดในฐานะส่วนตัวอย่างจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้รับการให้โดยเสน่หา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แม้ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วย
of 21