คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ปิติสันต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองต่างราย การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเดียวกัน และข้อจำกัดการยึดซ้ำ
โจทก์และผู้ร้องได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดีกัน แม้ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกัน บุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนในคดีอื่นได้จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุน เช่น การขอเฉลี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิ โดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาจากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทร่วมกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิจากบังคับคดีจำนอง: แม้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน ก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามวงเงินจำนอง
การที่โจทก์และผู้ร้องได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดีกัน แม้ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนในคดีอื่นได้จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุน เช่น การขอเฉลี่ยทรัพย์ หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิ โดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาจากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทร่วมกับโจทก์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ฟ้องขับไล่โดยไม่มีสิทธิ ไม่เกี่ยวพันกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารหอพัก โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่ต่อไป ให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ออกไปจากที่ดินและหอพัก พร้อมกับให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฟ้องแย้งว่าโจทก์ฟ้องโดยรู้อยู่ว่าไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการกล่าวอ้างในการใช้สิทธิทางศาลเนื่องมาจากโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยการฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อศาลโดยไม่สุจริต ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม และเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อมีคู่ความคัดค้าน เป็นการขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ แต่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำแก้อุทธรณ์แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อศาลฎีกาจึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อมีคัดค้าน - ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ แต่เมื่อจำเลยได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4111/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: ต้องส่งสำเนาคำร้องและคำฟ้องให้จำเลยเพื่อคัดค้าน
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า "สั่งในอุทธรณ์" และมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า "รับอุทธรณ์รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกาตามที่โจทก์ขอ" ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาไม่เป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไม่ขัดแย้งกับประกาศธนาคารและกฎหมาย แม้มีประกาศอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า
หนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ มีข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในหนังสือสัญญากู้เงินระบุ ความว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้และผู้กู้ ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร ฯ สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใด อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว การทำสัญญากู้ยืมเงินของโจทก์และจำเลยเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาและอยู่ในกรอบที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด จึงไม่ตกเป็นโมฆะ และแม้ขณะทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ก็ตาม ก็ได้ความว่าในทางปฏิบัติจริง โจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์ การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าเสียหายจากการปล้นทรัพย์: แก้ไขจำนวนยางพาราที่ยังไม่ได้คืนให้ถูกต้อง
ยางพาราแผ่นของผู้เสียหายที่ 1 ถูกคนร้ายปล้นเอาไป 9,500 กิโลกรัม ซึ่งตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืนและบัญชีของกลางคดีอาญาปรากฏว่า หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนยึดยางพาราแผ่นที่ถูกปล้นคืนมาได้รวม 3,169.5 กิโลกรัม มากกว่าจำนวน 2,987.5 กิโลกรัม ซึ่งเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 212,307.50 บาท โดยคำนวณจากจำนวนยางพาราแผ่นที่ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้คืนตามฟ้อง 6,512.5 กิโลกรัม จึงเกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่พิจารณาได้ความ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 โดยคำนวณราคายางพาราแผ่นตามฟ้องได้กิโลกรัมละ 32.63 บาท ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้รับยางพาราแผ่นคืน 6,330.5 กิโลกรัม จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนหรือใช้ราคายางพาราแผ่นที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายที่ 1 เพียง 206,564.22 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การโต้แย้งหนี้ตามบันทึกข้อตกลงด้วยข้อตกลงทางวาจาที่ไม่ได้รับการรับฟัง
ฎีกาของจำเลยที่บรรยายว่า ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยให้การรับว่าทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้แทนให้แก่โจทก์จริง แต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาให้จำเลยชำระหนี้น้อยกว่าที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง จำเลยจะมีพยานอื่นใดนำสืบเพราะเป็นการตกลงกันตัวต่อตัวระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่มีผู้ใดอยู่ร่วมรู้เห็นด้วย จำเลยยื่นคำให้การตามความเป็นจริงและปฏิบัติตามความเป็นจริงตามข้อตกลง เพราะเชื่อใจโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังคำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยบ้าง จำเลยจึงเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องฎีกา ขอศาลฎีกาได้โปรดบรรเทาและลดยอดหนี้ตามที่จำเลยยื่นคำให้การนั้น เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วไม่อาจเข้าใจได้ว่าจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใดด้วยเหตุผลอะไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคำขอเรียกทายาทเป็นคู่ความหลังจำเลยมรณะ และการพิจารณาเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีตาม ป.วิ.พ.
จำเลยมรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 43 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำขอของโจทก์จึงถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำแทนศาลฎีกาเท่านั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็หามีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเลื่อนการไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้รวลรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาก็ต้องถือว่าฎีกาของผู้คัดค้านเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคสอง มิใช่เป็นบทบังคับศาลให้ต้องจำหน่ายคดีเสมอไป และตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิขอให้เรียกบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่คู่ความมรณะได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีแล้วก็ตาม
of 21