คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ เกียรติ์อนุพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาประกัน แม้ใช้ที่ดินของห้างหุ้นส่วนเป็นหลักประกัน โดยมีเจตนาทำสัญญาประกันในนามตนเอง
การขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันนั้นต้องประกอบด้วยผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวประการหนึ่งกับผู้ร้องขอประกันได้จัดหาหลักประกันมาอีกประการหนึ่งตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 106, 112, และมาตรา 114
จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอประกันและเป็นผู้ทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จากโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันมาตามมาตรา 114 เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยจัดหาหลักประกันเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน ส. และห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยินยอมให้นำโฉนดที่ดินมาวางต่อโจทก์ในการขอปล่อย ป. ผู้ต้องหาชั่วคราว โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการแทนนั้น หาได้แปลว่า จำเลยยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวในฐานะที่จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของห้างหุ้นส่วน ส. แต่อย่างใดไม่ แต่แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว ป.ผู้ต้องหาในนามของจำเลยเองด้วย หากจำเลยเป็นแต่เพียงผู้รับมอบอำนาจจากห้างหุ้นส่วน ส. ให้มาประกันตัวผู้ต้องหาจริงแล้ว จำเลยก็ควรระบุไว้ในคำร้องขอประกันและสัญญาประกันด้วยว่า ทำแทนหรือเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ดังนั้น สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญา
การที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดในวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกัน โจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาประกันได้โดยมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้แก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด อันจะทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัว ป. ผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนเพียงแต่มีบันทึกลงไว้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่าจะได้ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไปเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัวผู้ต้องหาแล้ว โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญาประกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม 2539 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้อันเป็นการเรียกให้ชำระหนี้เงินแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการจัดการมรดก: เริ่มนับเมื่อการจัดการมรดกสิ้นสุด
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งตามคำฟ้องและจากการตรวจสอบของโจทก์ทั้งสามว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 1 แปลง ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนให้แก่ตนเองเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2535 ไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์มรดกอื่นอีก ดังนี้ ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 (4) โดยไม่จำต้องทำการชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์จำเลยก่อน และการที่ทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินพิพาท 1 แปลง ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับมรดกตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2535 ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสามซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบโจทก์ทั้งสามก็ฟ้องภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คือภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8947/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่ทำสัญญาเป็นสถานที่มูลคดีเกิด แม้ที่ดินจะอยู่อีกจังหวัด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ได้ชำระไปแล้วคืนเพราะจำเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทำที่สำนักงานของจำเลยในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครจึงเป็นสถานที่มูลคดีเกิด ส่วนจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อจะขายกันถือไม่ได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อมูลคดีมิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ดินดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น
การที่โจทก์เสนอคำฟ้องโดยอ้างว่ามูลคดีเกิดในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าโจทก์มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาในเบื้องต้น เมื่อจำเลยยื่นคำให้การและยกเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย คดีจึงมีประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยโดยรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนที่โจทก์จำเลยนำสืบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามูลคดีเกิดในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความในชั้นตรวจคำฟ้อง หรือสั่งแก้ไขคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพื่อให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจก็ตาม การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงหาเป็นการไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้วก็ย่อมไม่มีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลคืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดเฉพาะกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีเท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลตัดสินแล้ว และประเด็นอายุความ ต้องไม่ขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการพิจารณาหนี้ตามสัญญา
เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำให้การจำเลยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยเฉพาะประเด็นอื่นที่ยังมิได้ดำเนินการเท่านั้น จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้เกิดประเด็นเรื่องอายุความขึ้นอีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอายุความแล้วหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งศาลที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8920/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นอายุความหลังศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ถือเป็นการไม่ชอบ
เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำให้การจำเลยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะประเด็นที่ยังไม่ได้ดำเนินการเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยที่ขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้เกิดประเด็นเรื่องอายุความขึ้นอีก แล้วหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: แยกพิจารณาตามลักษณะการเรียกร้อง – ค่าเสียหายระหว่างสัญญา vs. หลังบอกเลิกสัญญา
กำหนดอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 นั้นจะต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้บังคับอยู่ แต่คดีนี้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ออกให้เช่าการฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สำหรับกรณีที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแล้วนำรถยนต์ไปขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8778/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจซึ่งปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากรฯ มาตรา 118 จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่า ก. มอบอำนาจช่วงให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้จำเลยก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา: การเลือกใช้สิทธิ และผลของการอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยมิใช่คนยากจน หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวจำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนหรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอพิจารณาคำร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาหลังอุทธรณ์คำสั่งศาลแล้ว ถือเป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่งไปแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว จำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้าแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเรื่องค่าเสียหายเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องค่าเสียหายที่ยุติไปแล้ว
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้นตามที่โจทก์ฟ้องจำนวน 69,840 บาท ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในค่าขาดประโยชน์รถยนต์ 36,000 บาท ค่าขาดราคา 60,000 และค่าติดตามรถคืน 1,000 บาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เฉพาะค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา ส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ เท่ากับโจทก์เห็นด้วยกับค่าขาดประโยชน์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ค่าขาดประโยชน์ลดลงเหลือจำนวน 21,600 บาท โจทก์จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่าที่โจทก์ฟ้องจำนวน 69,840 บาทไม่ได้ โจทก์คงมีสิทธิฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ในส่วนค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 36,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์จึงมีเพียง 14,400 บาท การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้สูงขึ้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหาย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงมิใช่ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 31,600 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โดยมิได้พิพากษารวมค่าติดตามยึดรถคืนจำนวน 1,000 บาท เข้าไปด้วย ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โต้แย้ง ทำให้คำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ไร้ผล ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247
of 12