คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ เกียรติ์อนุพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8609/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะจำเลยและบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: สมาชิกสภาท้องถิ่น vs พนักงานองค์การ
จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกษม หาใช่พนักงานองค์การตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 100 ไม่ หากแต่จำเลยที่ 1 มีสถานะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น อันต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ แต่ยังคงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8572/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาการชำระค่าขึ้นศาล ส่งผลให้คำสั่งศาลถึงที่สุด แม้จะอ้างเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับลงลายมือชื่อไว้ในอุทธรณ์ว่าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นอุทธรณ์ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง แต่จำเลยที่ 2 ไม่เสียภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2545 แต่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ย่อมเป็นอันถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอวางเงิน ค่าขึ้นศาลเพิ่มเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ซึ่งพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แล้วก็ดี และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยที่ 2 จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มพร้อมกับสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยอ้างเหตุว่ามิได้จงใจที่จะไม่เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ดี ก็หามีผลลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดดังกล่าวแล้วไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ในครั้งหลังนี้ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และขอให้สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยค่ารักษาพยาบาล
จำเลยขับรถยนต์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ส. ผู้เยาว์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นเหตุให้ ส. ได้รับบาดเจ็บ ส. โดย ศ. มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ ส. จนเป็นที่พอใจตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วย่อมไม่ได้ และเมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 15,000 บาท ให้แก่ ส. ไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในฐานะผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8430/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: เริ่มนับเมื่อทราบสิทธิเรียกร้องและตัวผู้รับผิดชอบ แม้เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว
กรณีที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น หมายถึงกรณีที่เจ้าหนี้ทราบแล้วว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดก แม้อายุความตามสิทธิเรียกร้องนั้นยาวกว่า 1 ปี เจ้าหนี้ก็จะต้องฟ้องร้องภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ถ้าเจ้าหนี้ยังไม่ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกในขณะที่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก อายุความ 1 ปี ก็ยังไม่เริ่มนับ หนังสือสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่แจ้งไปยังโจทก์ระบุว่า พ. ถึงแก่ความตายแล้ว และตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือดังกล่าวมีมรณบัตรของ พ. เป็นหลักฐานด้วย ก็รับฟังได้แต่เพียงว่าโจทก์ได้รู้ถึงการตายของ พ. เจ้ามรดกตั้งแต่ปี 2535 แต่ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ทราบว่าบุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ทราบว่าจะฟ้องร้องบุคคลใดได้บ้าง ก็ยังไม่เริ่มนับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ต่อเมื่อโจทก์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและคณะกรรมการดังกล่าวทำการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าบุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ โดยเสนอความเห็นไปตามลำดับชั้นจนถึงรองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้ที่โจทก์จะพึงใช้สิทธิเรียกร้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน และเริ่มนับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากผิดสัญญาต่อเติมอาคารและเช่าช่วง สิทธิในการขับไล่และการสิ้นสุดของสัญญา
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าอันเนื่องมาจากจำเลยต่อเติมอาคารที่เช่าและให้บุคคลอื่นเช่าช่วงอาคารอันเป็นการผิดสัญญา โดยกำหนดให้จำเลยและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2543 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจำนวน 2 งวด ภายใน 15 วัน หากไม่ชำระให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นเพราะเหตุจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยการต่อเติมอาคารที่เช่าและนำอาคารที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ไม่ใช่เป็นเพราะจำเลยค้างชำระค่าเช่า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วสัญญาเช่าย่อมเป็นอันสิ้นผลผูกพัน จำเลยจึงต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารที่เช่าคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างหลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว แม้จำเลยจะได้ชำระค่าเช่าที่ค้างภายในกำหนดระยะเวลาตามหนังสือของโจทก์ ก็หามีผลทำให้สัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพันไปแล้วกลับมีผลผูกพันขึ้นมาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากผิดสัญญา และการฟ้องขับไล่ผู้เช่าหลังสัญญาสิ้นผลผูกพัน
การบอกเลิกสัญญาเช่าเพราะเหตุจำเลยต่อเติมอาคารที่เช่าและนำอาคารที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ทันทีตามสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้วสัญญาเช่าย่อมเป็นอันสิ้นผลผูกพัน จำเลยจึงต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารดังกล่าวคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลย ชำระค่าเช่าที่ค้างอีกภายหลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลย และจำเลยได้กระทำตามโดยได้ชำระค่าเช่า ที่ค้างภายในกำหนดเวลา หามีผลทำให้สัญญาเช่าซึ่งสิ้นผลผูกพันไปแล้วกลับมีผลผูกพันขึ้นมาใหม่ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุมัติรับฟ้องแย้งและผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องทางศาล
คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นให้ส่งสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา โดยมิได้งดการพิจารณา ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ทำคำสั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีเดิม ต่อมาศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาคดีเกี่ยวกับฟ้องแย้งโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อจำเลยฎีกา จึงไม่มีเหตุที่จะให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและรื้อฟื้นพิจารณาพิพากษาประเด็นตามฟ้องแย้งใหม่ หากจำเลยเห็นว่ามีสิทธิตามฟ้องแย้งก็ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้เพราะคำพิพากษาดังกล่าวไม่ตัดสิทธิของจำเลยที่จะเรียกร้องตามสิทธิของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะ โดยต่างคัดค้านซึ่งกันและกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เมื่อไต่สวนพยานของผู้ร้องเสร็จแล้ว ระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำร้องของผู้คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้คัดค้านและสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านดังกล่าว ย่อมทำให้คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านเสร็จไป ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาย่อมอุทธรณ์ได้ทันที เมื่อทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับการจำหน่ายคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านโดยอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะซึ่งทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเกี่ยวกับคู่ความแทนที่ผู้มรณะ: คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นคำสั่งที่อุทธรณ์ได้ทันที ส่วนคำสั่งอนุญาตให้เป็นคู่ความแทนที่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ป.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะโดยต่างคัดค้านซึ่งกันและกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีคุณสมบัติไม่ เหมาะสม เมื่อไต่สวนพยานของผู้ร้องเสร็จแล้ว ระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำร้องของผู้คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้คัดค้านและสั่งอนุญาตให้ ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมทำให้คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าเแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านเสร็จไป ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาย่อมอุทธรณ์ได้ทันที เมื่อทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับการจำหน่ายคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านโดยอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะซึ่งทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมนั้นก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
of 12