พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากข่มขืนเป็นกระทำชำเราตามกฎหมายอาญา ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดที่ปรากฏจากการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก โดยอ้างว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ ซึ่งไม่ใช่ภริยาจำเลย โดยใช้กำลังประทุษร้าย และผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย ได้ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีข่มขืน, ภาวะเสียเปรียบ, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่ปรากฏ
การกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2546 เป็นการร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ผู้เสียหายทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ในบ้านของจำเลยและถูกจำเลยข่มขู่ว่าหากไม่ยิมยอมให้จำเลยกระทำชำเราจะส่งตัวผู้เสียหายให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง ผู้เสียหายอยู่ในภาวะเสียเปรียบไม่อาจต่อสู้ขัดขืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของตนได้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้
ผู้เสียหายทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ในบ้านของจำเลยและถูกจำเลยข่มขู่ว่าหากไม่ยิมยอมให้จำเลยกระทำชำเราจะส่งตัวผู้เสียหายให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง ผู้เสียหายอยู่ในภาวะเสียเปรียบไม่อาจต่อสู้ขัดขืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของตนได้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา: การบรรยายลักษณะการกระทำในคำฟ้อง
ข้อความว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" หมายถึง การร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งไม่ใช่ภรรยาของตน การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของการข่มขืนกระทำชำเรา แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน: การคิดดอกเบี้ยเริ่มนับแต่วันที่ระบุในตั๋ว แม้ไม่มีการบอกกล่าว
ตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุวันออกตั๋วคือวันที่ 30 กันยายน 2540 วันถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 31 ตุลาคม 2540 กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ BBL MOR +1 ต่อปี เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ และมิได้ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968, 985 เมื่อถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามก่อนแต่อย่างใด เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ผู้รับโอนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมจึงมีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้จากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4538/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายองค์ประกอบความผิดฐานมียาเสพติดฯ ในฟ้อง – ปริมาณสารบริสุทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ
จำเลยกระทำความผิดก่อนกฎหมายแก้ไขใหม่ แม้โจทก์นำสืบว่า เมทแอมเฟตามีน 14,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 232.106 กรัม แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายในคำฟ้องว่า คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โจทก์ต้องบรรยายการกระทำทั้งหลายอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ทั้งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) บัญญัติว่า "ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม?" แสดงว่าปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษเป็นการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำความผิด ที่โจทก์ไม่บรรยายจึงถือว่า ไม่ปรากฏปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ จึงต้องห้ามพิพากษาให้ลงโทษฐานมียาเสพติดให้โทษที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ที่โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เพราะเกินคำขอและมิได้กล่าวในฟ้อง ทั้งยังเป็นการรับฟังอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยซึ่งไม่ชอบ จึงต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4538/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายองค์ประกอบความผิดในฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: ปริมาณสารบริสุทธิ์ต้องระบุในฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โจทก์ต้องบรรยายว่าการกระทำทั้งหลายอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ทั้งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) บัญญัติว่า "ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม" ซึ่งแสดงว่าปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษเป็นการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด กรณีที่โจทก์ไม่บรรยายจึงถือว่า ไม่ปรากฏปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ จึงต้องห้ามพิพากษาให้ลงโทษฐานมียาเสพติดให้โทษที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ที่โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เพราะเกินคำขอและมิได้กล่าวในฟ้อง ทั้งยังเป็นการรับฟังอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยซึ่งไม่ชอบ จึงต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้เดินทางไปเจรจาซื้อขายยาเสพติด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขับรถยนต์มายังที่เกิดเหตุเพื่อเจรจาซื้อขายเมทแอมเฟตามีน โดยมิได้นำเมทแอมเฟตามีนของกลางมากับรถยนต์ด้วย ดังนั้น รถยนต์จึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ไม่สามารถที่จะริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7714/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการค้ายาเสพติด: ความผิดฐานตัวการร่วม vs. ผู้สนับสนุน และการลงโทษที่เหมาะสม
วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปแจ้งดาบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ส่งมอบเมทแอมเฟตามีน และจำเลยที่ 3 ได้แนะนำว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนค้ายาเสพติดด้วย แต่ก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาตกลงซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับสายลับและดาบตำรวจ ส. แต่อย่างใด กลับได้ความจากคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวก ได้มาหาจำเลยที่ 1 เพื่อว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 คอยดูต้นทางบริเวณที่เกิดเหตุว่ามีตำรวจมาหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ได้ค่าจ้าง 100 บาท การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดฐานผู้สนับสนุนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6732/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวน: การแต่งตั้งพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมโดยผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชอบด้วยกฎหมาย
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นที่ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน ซึ่งอยู่ในเขตการสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอสูงเนินซึ่งมีพันตำรวจโท ข. เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 ส่วนที่มีพันตำรวจโท ว. เข้ามาเป็นพนักงานสอบสวนในเรื่องนี้ด้วยก็เป็นเรื่องที่พลตำรวจตรี ถ. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา แต่งตั้งเป็นพิเศษเกี่ยวกับการสอบสวนพยานหลักฐานในคดีนี้โดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ. 2523 ข้อ 2.3 ตามคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาที่ 310/2542 เรื่องแต่งตั้งพนักงานสอบสวนคดีอาญา ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 พันตำรวจโท ว. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน และมีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6546/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญเอาทรัพย์สินด้วยอาวุธ (ไม้เสียบลูกชิ้น) เข้าข่ายความผิดฐานขู่เข็ญเอาทรัพย์สิน (ป.อ.มาตรา 339)
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ผู้เสียหายกำลังขับรถแท็กซี่โดยมีจำเลยซึ่งเป็นผู้โดยสารและไม่เคยรู้จักกันมาก่อนนั่งอยู่ด้านหลัง ใช้วัตถุจี้ที่เอวผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่ามีสตางค์เท่าไหร่เอามาให้หมด ในขณะนั้นผู้เสียหายไม่อาจทราบได้ว่าวัตถุที่จำเลยใช้จี้เอวเป็นไม้เสียบลูกชิ้น แต่การที่ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บ ทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่าวัตถุที่จำเลยใช้จี้เป็นอาวุธที่มีลักษณะปลายแหลมสามารถใช้ประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหายได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ผู้เสียหายย่อมจะต้องเกิดความกลัวและไม่กล้าขัดขืน ยอมมอบเงินให้แก่จำเลยไป การกระทำดังกล่าวของจำเลยถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคแรก แล้ว