พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในชั้นบังคับคดี: ศาลมีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดินที่ต้องบังคับจำนองตามคำพิพากษาจากโฉนดเลขที่ 137814 เป็น 137818 เนื่องจากเจ้าหน้าที่โจทก์พิมพ์เลขโฉนดที่ดินดังกล่าวในสัญญาจำนองผิดพลาด เพราะหมายเลขโฉนดที่ดินเขียนด้วยเลขไทย ไม่สามารถอ่านได้ชัดเจนว่าเป็นโฉนดเลขที่ 137814 หรือ 137818 แต่ในสัญญาจำนองที่ดิน และหนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ระบุระวางของที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตรงกับโฉนดที่ดิน ซึ่งโจทก์ได้ถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าวแนบท้ายฟ้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจบังคับจำนองแก่ที่ดินตามโฉนดเลขที่ที่ถูกต้องได้ โดยไม่เป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาและไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นเพียงการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5810/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันการบังคับคดี: สมุดเงินฝากเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่การชำระหนี้โดยตรง สิทธิบังคับคดีอาจสูญเสียหากไม่ดำเนินการภายใน 10 ปี
ในวันที่ยื่นฎีกาโจทก์ได้ยื่นคำร้องลักษณะเดียวกันต่อศาลชั้นต้นด้วย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวชอบแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 โจทก์จะใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ได้เพราะเป็นการปฏิบัติผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาลไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำต่อศาลชั้นต้นจะยังมีผลบังคับอยู่ แต่สัญญาดังกล่าวก็ระบุว่าถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ก็ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำต่อศาลชั้นต้นจะยังมีผลบังคับอยู่ แต่สัญญาดังกล่าวก็ระบุว่าถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ก็ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5810/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันทุเลาการบังคับคดี สิทธิในการขอคืนเมื่อโจทก์ขาดการบังคับคดีเกิน 10 ปี
โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์ไม่ชอบ แต่ในวันที่ยื่นฎีกาโจทก์ได้ยื่นคำร้องลักษณะเดียวกันนี้ต่อศาลชั้นต้นด้วย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 โจทก์จะใช้สิทธิฎีกาคำสั่งดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ได้
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น สมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเมื่อชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ และจากสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อน ศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี โจทก์ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น สมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเมื่อชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ และจากสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อน ศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี โจทก์ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5702/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การอนุมัติและส่งมอบเงินกู้ในเขตศาลชั้นต้น ถือเป็นมูลคดีที่เกิดในเขตอำนาจศาล
การกู้เงินตามฟ้องจำเลยได้ดำเนินการโดยยื่นคำขอใช้วงเงินสินเชื่อต่อเจ้าหน้าที่การตลาดสินเชื่อรายย่อย ซึ่งในคำขอดังกล่าวระบุให้โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร ท. สาขาสุขาภิบาล 1 โดยให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้ถูกต้องนับตั้งแต่วันที่โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลย หลังจากเจ้าหน้าที่รับคำขอใช้วงเงินสินเชื่อของจำเลยแล้วก็ได้ส่งไปให้โจทก์พิจารณาที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โจทก์พิจารณาแล้วอนุมัติวงเงินกู้ให้แก่จำเลยและนำเงินกู้ไปฝากหรือโอนเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ระบุไว้โดยดำเนินการฝากหรือโอนที่ธนาคาร ท. สาขาสยามสแควร์ เห็นได้ว่า การอนุมัติวงเงินกู้ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้รายนี้ของโจทก์ได้กระทำในท้องที่เขตปทุมวันซึ่งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นคือศาลแขวงปทุมวัน ถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดในเขตศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1), 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5702/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การอนุมัติและส่งมอบเงินกู้ในเขตศาล ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี
ในการขอกู้เงินจากบริษัทเงินทุนโจทก์ จำเลยได้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่การตลาดสินเชื่อรายย่อยของโจทก์ ซึ่งระบุให้โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร โดยให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้ถูกต้องนับแต่วันที่โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลย หลังจากเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้วได้ส่งไปให้โจทก์พิจารณาที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยและนำเงินกู้ไปฝากหรือโอนเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ระบุไว้ การอนุมัติวงเงินกู้และโอนเงินกู้ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้ได้กระทำในท้องที่เขตปทุมวันซึ่งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นหรือศาลแขวงปทุมวัน ถือได้ว่ามูลคดีเกิดในเขตศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1),5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642-5644/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขอเฉลี่ยทรัพย์จากการอายัดเงิน: เริ่มเมื่อมีการจัดสรรเงินจริง ไม่ใช่วันที่ส่งเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งหมด 6 คดี รวมทั้งคดีของผู้ร้องทั้งสองและคดีของโจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีต่างขอให้ดำเนินการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีในแต่ละคดีจึงขออายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา โดยทำเป็นหนังสือแจ้งอายัดไป รวม 6 ฉบับ แต่เนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับมีเพียง 795,912.13 บาท องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่สามารถส่งเงินให้ตามจำนวนที่แจ้งอายัดได้ทุกคดี จึงส่งเงินทั้งหมดไปให้กรมบังคับคดีคราวเดียว แต่มิได้ระบุว่าส่งให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีใด ต้องถือว่าเงินที่แจ้งอายัดไว้มีการส่งเข้ามาในคดีนี้เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ระยะเวลาสิบสี่วันจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินที่อายัดไป ให้กรมบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642-5644/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์และการเฉลี่ยทรัพย์: ระยะเวลาการยื่นคำร้องเริ่มนับเมื่อมีการจัดสรรเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 6 คดี รวมทั้งคดีของผู้ร้องทั้งสองและคดีของโจทก์คือคดีนี้ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีต่างขอให้ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีในแต่ละคดีจึงขออายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยทำหนังสือแจ้งอายัดไปยังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยรวม 6 ฉบับ แต่เนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับมีเพียง 795,912.13 บาท องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่สามารถส่งเงินตามจำนวนที่แจ้งอายัดได้ทุกคดี จึงส่งเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับทั้งหมดไปให้กรมบังคับคดีคราวเดียวโดยชำระเป็นเช็คจำนวน 1 ฉบับ แต่มิได้ระบุว่าเงินจำนวนดังกล่าวส่งให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีใด ดังนั้น ในวันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินไปให้กรมบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจะมีการส่งเงินที่แจ้งอายัดเข้ามาในคดีใดบ้าง จำนวนเท่าใด และจะต้องไปขอเฉลี่ยเงินดังกล่าวในคดีอื่นหรือไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีหมายเลขแดงที่ ย.711/2544 และคดีของโจทก์คดีนี้แล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงทราบว่าคดีของผู้ร้องทั้งสองไม่มีการส่งเงินให้ตามที่แจ้งอายัดไว้ จึงต้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้ กรณีต้องถือว่าเงินที่แจ้งอายัดไว้ส่งเข้ามาในคดีนี้เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินจำนวน 474,087.25 บาท ให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว หาใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินที่อายัดไปให้บังคับคดีไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้เมื่อวันที่ 23 และ 30 กรกฎาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาคนละฉบับ จำเป็นต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาพร้อมกัน
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นรวม 2 ฉบับ โดยยื่นคนละคราวกัน สำหรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางพร้อมอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และหากจำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วครบถ้วนจำเลยก็ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมในส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาซ้ำอีก การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งย่อมเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาไว้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ฉบับนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นอุทธรณ์คนละฉบับและยื่นคนละคราวกันทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลชั้นต้นต้องรอสั่งอุทธรณ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวพร้อมกัน แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไปแล้ว ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยการวางค่าธรรมเนียมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นรวม 2 ฉบับ และยื่นคนละคราวกัน โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีก่อน ส่วนอุทธรณ์คำพิพากษายื่นในภายหลัง เนื่องจากจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้ สำหรับการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยนำพยานเข้าสืบแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีซึ่งทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปด้วย จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ดังนั้นเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อนอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางพร้อมอุทธรณ์คำสั่งให้ถูกต้องครบถ้วน และหากจำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วครบถ้วนจำเลยก็ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมส่วนนี้ซ้ำอีกเมื่อยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งย่อมเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาไว้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ฉบับนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นอุทธรณ์คนละฉบับและยื่นคนละคราวกัน ทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลชั้นต้นต้องรอสั่งอุทธรณ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวพร้อมกัน และแม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไปแล้ว ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองหนี้ในอนาคต: สัญญาจำนองยังผูกพันแม้มีการชำระหนี้บางส่วน
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยมีความหมายแจ้งชัดว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทนอกจากจะประกันหนี้เงินที่ ส. ได้กู้ไปจากจำเลยในขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังรวมถึงเป็นประกันหนี้ที่ ส. จะกู้ไปจากจำเลยต่อไปในอนาคตด้วย หากสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ โดยจำกัดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดทั้งสิ้นไม่เกิน 260,000 บาท ซึ่งจากบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสองและมาตรา 707 เมื่อสัญญาจำนองกำหนดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดไม่เกิน 260,000 บาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าว หลังจากทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทแล้ว ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 50,000 บาท ซึ่งยังไม่เต็มวงเงินจำนอง แม้จะได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้จำเลยครบถ้วนแล้วในวันที่ 3 มกราคม 2546 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงเลิกสัญญาจำนอง สัญญาจำนองที่ดินพิพาทยังมีผลผูกพันอยู่ไม่ระงับสิ้นไป ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2546 ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 130,000 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวนวงเงินที่โจทก์จะต้องรับผิดต้องถือว่าหนี้กู้เงินครั้งหลังเป็นหนี้ในอนาคต สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมครอบคลุมถึงหนี้กู้ยืมเงินครั้งหลังอันเป็นหนี้ประธานด้วย หาจำต้องไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันใหม่อีก เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทมีข้อความชัดเจนว่า เป็นการจำนองหนี้ในอนาคตด้วย หามีข้อสงสัยที่จะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 แต่อย่างใดไม่ การที่ ส. ค้างชำระหนี้เงินกู้ครั้งหลังที่มีอยู่แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองซึ่งประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวอยู่สัญญาจำนองยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้