คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ เกียรติ์อนุพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองหนี้ในอนาคต: สัญญาจำนองยังผูกพันแม้มีการชำระหนี้บางส่วน
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยมีความหมายแจ้งชัดว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทนอกจากจะประกันหนี้เงินที่ ส. ได้กู้ไปจากจำเลยในขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังรวมถึงเป็นประกันหนี้ที่ ส. จะกู้ไปจากจำเลยต่อไปในอนาคตด้วย หากสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ โดยจำกัดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดทั้งสิ้นไม่เกิน 260,000 บาท ซึ่งจากบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสองและมาตรา 707 เมื่อสัญญาจำนองกำหนดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดไม่เกิน 260,000 บาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าว หลังจากทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทแล้ว ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 50,000 บาท ซึ่งยังไม่เต็มวงเงินจำนอง แม้จะได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้จำเลยครบถ้วนแล้วในวันที่ 3 มกราคม 2546 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงเลิกสัญญาจำนอง สัญญาจำนองที่ดินพิพาทยังมีผลผูกพันอยู่ไม่ระงับสิ้นไป ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2546 ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 130,000 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวนวงเงินที่โจทก์จะต้องรับผิดต้องถือว่าหนี้กู้เงินครั้งหลังเป็นหนี้ในอนาคต สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมครอบคลุมถึงหนี้กู้ยืมเงินครั้งหลังอันเป็นหนี้ประธานด้วย หาจำต้องไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันใหม่อีก เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทมีข้อความชัดเจนว่า เป็นการจำนองหนี้ในอนาคตด้วย หามีข้อสงสัยที่จะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 แต่อย่างใดไม่ การที่ ส. ค้างชำระหนี้เงินกู้ครั้งหลังที่มีอยู่แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองซึ่งประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวอยู่สัญญาจำนองยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: คดีขับไล่ที่ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเช่าออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากที่ดินของโจทก์ และส่งมอบที่ดินคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยกับให้จำเลยชำระเงิน 170,000 บาทแก่โจทก์ พร้อมค่าเสียหายเดือนละ 3,500 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และเมื่อคดีเดิมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ในชั้นบังคับคดีซึ่งเป็นคดีสาขาก็ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน ที่จำเลยฎีกาในชั้นบังคับคดีว่าที่ดินจำเลยครอบครองในปัจจุบันเป็นที่สาธารณะและอยู่นอกเขตที่ดินของโจทก์ การขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีนอกเหนือคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่รับฟังว่าจำเลยยังมิได้ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ vs. สัญญาเช่า: การพิจารณาข้อสัญญาและเจตนาของคู่สัญญาในการบังคับใช้สิทธิ
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะสำเนาหนังสือสัญญาเช่าเอกสารท้ายฟ้อง มีข้อความบางตอนบางส่วนขาดหายไปตารางต่อท้ายสัญญาเช่าไม่ชัดเจน ไม่อาจอ่านข้อความในสัญญาได้ทำให้ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง แต่ในชั้นฎีกา จำเลยกลับฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่า เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา แต่เป็นสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ โจทก์จึงต้องแนบสัญญาและข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่าในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์มิได้ปฏิบัติ เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมนั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อกำหนดตอนใดที่แสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่า และให้ถือเอาค่าเช่าที่ชำระเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์ที่เช่า รวมทั้งไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แบบหนึ่ง มิใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันด้วยความสมัครใจให้ข้อกำหนดของสัญญาบางข้อแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการรักษาสิทธิและประโยชน์ของตนที่ชอบในเชิงธุรกิจ แม้อาจมีข้อที่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันบ้างและแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ก็มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้ คู่สัญญาจึงต้องผูกพันตามข้อสัญญานั้น การที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามตามสัญญาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4266/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่อนุมัติและส่งมอบเงินกู้เป็นสถานที่เกิดมูลคดี ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ได้ดำเนินการเสนอคำขอสินเชื่อไปยังสำนักงานของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร และอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น (ศาลแขวงพระโขนง) เมื่อโจทก์พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้จำเลยที่สำนักงานโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของบัญชี กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยอันจะมีผลทำให้สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยบริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง ถือว่าสำนักงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พิจารณาอนุมัติเงินกู้และส่งมอบเงินกู้เป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อสำนักงานของโจทก์อยู่ในเขตศาลชั้นต้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ผ่านบัญชีธนาคาร: การนำสืบหลักฐานการชำระหนี้และการยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่น
การที่จำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมจากโจทก์เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารที่โจทก์มีบัญชีเงินฝากเพื่อให้โจทก์ได้รับเงินที่ชำระหนี้โดยไม่ได้นิติกรรมโดยตรงต่อโจทก์ ไม่อาจมีการกระทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตามมาตรา 321 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงนำสืบดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยวิธีการนำเงินฝากเข้าบัญชี: การนำสืบหลักฐานการชำระหนี้ และข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 321
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง การที่จำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมจากโจทก์เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารที่โจทก์มีบัญชีเงินฝากเพื่อให้โจทก์ได้รับเงินที่ชำระหนี้โดยไม่ได้ทำนิติกรรมโดยตรงต่อโจทก์ไม่อาจมีการกระทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยการนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ได้นั้น จำเลยจึงนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีส่วนได้เสียและผลกระทบโดยตรงจากการกระทำของจำเลย การอ้างเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ทำให้เกิดอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้อ้างหนังสือที่ ซ. ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยเป็นพยานต่อศาลโดยมิชอบเนื่องจากไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด การที่จำเลยใช้หนังสือดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานจนศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์เสียสิทธิในที่ดินไปโดยไม่ชอบ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าหนังสือยกให้เป็นโมฆะ และห้ามมิให้จำเลยใช้อ้างต่อโจทก์หรือบุคคลภายนอก แต่คำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในที่ดินที่ ซ. ยกให้จำเลยอย่างไร และการที่จำเลยใช้หนังสือเป็นพยานหลักฐานในคดีทำให้โจทก์เสียสิทธิในที่ดินแปลงนี้ไปเพราะเหตุใดซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิพ. มาตรา 55 การกระทำของจำเลยไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้ทำได้ และเมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะรับไว้พิจารณาและชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องวงแชร์ การไม่ระบุรายละเอียดการเล่นแชร์ไม่ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ทั้งห้ากับพวกเป็นลูกวงแชร์ซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์เป็นแชร์ชนิดดอกตาม 9 วง หุ้นละ 500 บาท 8 วง และหุ้นละ 300 บาท 1 วง กำหนดประมูลแชร์วันที่ 5, 15, 20, 25, 30 ของทุกเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2537 จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินจากลูกวงแชร์มาให้ผู้ประมูลได้ หากเรียกเก็บจากลูกวงแชร์คนใดไม่ได้ จำเลยต้องชำระเงินแทนไปก่อนแล้วเรียกเก็บเอาภายหลัง และหากจำเลยไม่มอบเงินกองกลางให้แก่ผู้ประมูลได้ ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต้องใช้เงินกองกลางทั้งหมดแก่ลูกวงแชร์ จำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนโดยได้รับเงินกองกลางวงแชร์งวดแรกไปใช้ประโยชน์ก่อนโดยไม่ต้องประมูล ต่อมาวงแชร์ล้มโดยที่โจทก์ทั้งห้ายังไม่ได้ประมูล จำเลยในฐานะนายวงแชร์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่างวดรวมทั้งดอกเบี้ยแชร์แก่โจทก์ทั้งห้า คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายให้เห็นถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยแล้วว่าเป็นอย่างไร และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งห้าเพราะเหตุใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์แต่ละคนร่วมเล่นแชร์วงที่เท่าใด เล่นคนละกี่มือ แชร์แต่ละวงที่ร่วมเล่นมีการประมูลไปแล้วกี่มือ ยังไม่ได้ประมูลกี่มือ โจทก์แต่ละคนส่งค่าแชร์ไปแล้วกี่งวดเป็นเงินเท่าใด และยังค้างส่งอีกกี่งวด นั้น แม้จะไม่บรรยายมาในคำฟ้องก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งห้าจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาและการบังคับจำนอง: ศาลต้องยึดตามข้อตกลงในสัญญาที่ชัดเจน และพิพากษาตามคำขอทุกข้อ
การตีความการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 นั้น หมายถึงกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือมีข้อความขัดแย้งกัน หรืออาจแปลความหมายได้เป็นหลายนัย แต่ถ้าข้อความในสัญญาชัดเจนแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความการแสดงเจตนาของคู่สัญญาอีก คดีนี้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และนำที่ดินมาทำสัญญาจำนองไว้กับโจทก์ และหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่า "ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้ของตนเองที่มีต่อผู้รับจำนอง และคู่สัญญาตกลงให้ถือสัญญาจำนองนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมด้วย เป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท โดยให้ดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินร้อยละ 15 ต่อปี ?" การที่ศาลชั้นต้นนำข้อความอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวมาใช้แปลเจตนาของคู่สัญญาในทำนองเป็นที่สงสัยว่าโจทก์ตกลงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยหรือไม่นั้น ไม่ต้องด้วยการตีความการแสดงเจตนาเพราะข้อความในสัญญาชัดแจ้งแล้ว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่า คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของต้นเงินกู้และการบังคับจำนองมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในส่วนนี้ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองนี้ไร้ผล ซึ่งการวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์แล้วแต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีพิพาทที่ดิน: การแจ้งเท็จเกี่ยวกับอาณาเขตไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยกับของโจทก์อยู่ติดกันโดยที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยได้ขอออกโฉนดที่ดินของจำเลยโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยและระบุรูปแผนที่ที่ดินของจำเลยว่าทางด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์ไม่สามารถขอออกโฉดที่ดินได้ แต่โจทก์มิได้บรรยายว่าเพราะเหตุใดการกระทำของจำเลยจึงเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ อีกทั้งการกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินในส่วนที่ดินของจำเลยโดยเฉพาะ ไม่มีผลโดยตรงต่อเนื้อที่ดินของโจทก์ กล่าวคือ มิได้ขอออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของโจทก์หรือเป็นการรบกวนการครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์มีอยู่อย่างไรก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่า การที่โจทก์จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานที่ดิน จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง มีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) กรณีมิใช่เรื่องสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
of 12