พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีพิพาทที่ดิน: การแจ้งเท็จเกี่ยวกับอาณาเขตไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยกับของโจทก์อยู่ติดกันโดยที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยได้ขอออกโฉนดที่ดินของจำเลยโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยและระบุรูปแผนที่ที่ดินของจำเลยว่าทางด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์ไม่สามารถขอออกโฉดที่ดินได้ แต่โจทก์มิได้บรรยายว่าเพราะเหตุใดการกระทำของจำเลยจึงเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ อีกทั้งการกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินในส่วนที่ดินของจำเลยโดยเฉพาะ ไม่มีผลโดยตรงต่อเนื้อที่ดินของโจทก์ กล่าวคือ มิได้ขอออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของโจทก์หรือเป็นการรบกวนการครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์มีอยู่อย่างไรก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่า การที่โจทก์จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานที่ดิน จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง มีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) กรณีมิใช่เรื่องสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่า การที่โจทก์จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานที่ดิน จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง มีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) กรณีมิใช่เรื่องสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษา ทำให้คำพิพากษาถึงที่สุด และปัญหาการขอทุเลาการบังคับ
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่งดการอ่านคำพิพากษาเพื่อรอฟังผลอีกคดีหนึ่งพร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาย่อมมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น กรณีจึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ตามฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ศาลไม่รับฎีกาเนื่องจากโจทก์ไม่โต้แย้งค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และการขอให้รอฟังผลคดีอื่นเป็นดุลยพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ย่อมถือได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นที่ดินและบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นงดการอ่านคำพิพากษาจนกว่าคดีที่จำเลยร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินและบ้านพิพาทถึงที่สุดนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการสั่งไม่รอฟังผลคดีอื่นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหนี้ และการชำระหนี้แทนกัน สิทธิเรียกร้องระงับ
จำเลยมีความผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท กับรับผิดตามเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาท เพื่อค้ำประกันหนี้ของนาย ส. ต่อมามีการเจรจาตกลงกันให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เฉพาะตามสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 1,000,000 บาท ส่วนหนี้ตามเช็คพิพาทนั้นโจทก์จะไปเรียกร้องจากนาย ส. ตามสัญญากู้ยืมเงินเอง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 เพราะไม่ใช่สัญญาระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1,000,000 บาท มาชำระให้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทจึงระงับไป กรณีดังกล่าวนี้กฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเจรจาหนี้และการชำระหนี้แทนตั๋วเงิน: สิทธิเรียกร้องระงับเมื่อชำระหนี้ตามตกลง
เดิมจำเลยมีความผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 1,000,000 บาท กับรับผิดตามเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาท เพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. ต่อมามีการเจรจากันให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เฉพาะตามสัญญากู้ยืมเงิน ส่วนหนี้ตามเช็คพิพาทโจทก์จะไปเรียกร้องจาก ส. เอง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เพราะไม่ใช่สัญญาระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างผ่อนผันให้แก่กัน แต่ถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1,000,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คแล้ว สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทจึงระงับไป กรณีดังกล่าวกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีหรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีได้ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ถือว่าเป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สมรส: การยินยอมและสัตยาบันหนี้ของคู่สมรส ทำให้เป็นหนี้ร่วมกัน
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากัน หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยได้ก่อขึ้นในระหว่างสมรส แม้ตอนที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องจะมิได้ร่วมอยู่ด้วยและไม่ปรากฏว่าจำเลยนำเงินกู้มาใช้ในกิจการใดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องขับรถยนต์พาจำเลยไปที่บ้านโจทก์หลายครั้งและผู้ร้องขอผัดผ่อนการชำระหนี้เงินกู้รายนี้ เมื่อโจทก์ทวงถาม พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวเชื่อได้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นและยินยอมให้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวแล้ว หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดกับจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสได้ทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดบ้านดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุจำเป็นและดำเนินการโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอในการยื่นฎีกา ศาลไม่อนุญาตขยายเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2545 แต่วันครบกำหนดฎีกาตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2545 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นฎีกาในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2545 และแม้จำเลยยื่นคำแถลงขอถ่ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 และได้รับเอกสารที่ขอถ่ายในวันที่ 27 มิถุนายน 2545 ก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายจนถึงวันที่จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาแล้วปรากฏว่ายังมีเวลาเหลืออยู่อีก 18 วัน ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำคำฟ้องฎีกายื่นต่อศาลได้ทัน ที่จำเลยอ้างเหตุในการขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาว่า ทนายจำเลยได้ศึกษาข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์แล้วปรากฏว่ามีหลายประเด็นที่แตกต่างไปจากข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นซึ่งทนายจำเลยต้องทำรายงานเสนอคณะกรรมการบริษัทจำเลยพิจารณาอนุมัติยื่นฎีกา ระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอที่คณะกรรมการบริษัทจำเลยจะพิจารณาอนุมัติยื่นฎีกาและทนายจำเลยไม่สามารถจัดทำฎีกายื่นต่อศาลได้ทันนั้น ก็ไม่ปรากฏว่านับแต่วันที่จำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายจนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาคือวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 ทนายจำเลยได้ดำเนินการไปถึงไหน เรื่องอยู่ในขั้นตอนใด และมีข้อขัดข้องอย่างไรที่ทำให้ทนายจำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาภายในเวลาที่ยังเหลืออยู่อีก 6 วันได้ทัน ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์: การตัดสิทธิสมาชิกกรณีครอบครัวไม่ได้อยู่ด้วยกันและการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
ระเบียบข้อ 4 ของสมาคมจำเลยมีข้อกำหนดที่เป็นสาระสำคัญประกอบกันสองประการ คือ ต้องเป็นกรณีที่ครอบครัวสมาชิกมีการหย่าร้างกันและจะต้องไม่ได้อยู่ด้วยกัน โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น หากเข้าเงื่อนไขทั้งสองประการนี้สมาชิกจึงมีหน้าที่ต้องไปแจ้งให้คณะกรรมการของจำเลยทราบ หากไม่แจ้งและมิได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ จึงจะถือว่าขาดสิทธิจากการเป็นสมาชิก
โจทก์กับ ผ. สามีของโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนหย่า เพียงแต่ ผ. เจ็บป่วยจึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของ ผ. อีกแห่งหนึ่ง กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์กับ ผ. เป็นครอบครัวสมาชิกที่หย่าร้างกันและไม่ได้อยู่ด้วยกัน อันจะเข้าเงื่อนไขตามระเบียบของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะตัดชื่อ ผ. ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยและให้โจทก์ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยใหม่
โจทก์กับ ผ. สามีของโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนหย่า เพียงแต่ ผ. เจ็บป่วยจึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของ ผ. อีกแห่งหนึ่ง กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์กับ ผ. เป็นครอบครัวสมาชิกที่หย่าร้างกันและไม่ได้อยู่ด้วยกัน อันจะเข้าเงื่อนไขตามระเบียบของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะตัดชื่อ ผ. ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยและให้โจทก์ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และการพิจารณาค่าขึ้นศาลที่ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังมิได้วินิจฉัย จำเลยไม่อาจฎีกาโต้แย้งคัดค้านได้ แม้จำเลยฎีกาในปัญหานี้มาก็ถือว่าเป็นฎีกาที่เกินเลยมา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ที่ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ที่ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแทนศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังมิได้วินิจฉัย จำเลยไม่อาจฎีกาโต้แย้งคัดค้านได้ แม้จำเลยฎีกาในปัญหานี้มาก็ถือว่าเป็นฎีกาที่เกินเลยมา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้