คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ เกียรติ์อนุพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดผลเมื่อเปิดสัญญาณฯ แม้แจ้งจำเลยภายหลัง
การที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติคำขอ/สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ และเมื่ออนุมัติสัญญาแล้วพร้อมกันนั้นสำนักงานใหญ่ของโจทก์จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่สำนักงานใหญ่ และจะโทรศัพท์แจ้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์เพื่อแจ้งให้จำเลยผู้ขอใช้บริการทราบ จากนั้นจำเลยจึงจะสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมตามคำขอที่ยื่นไว้ได้เช่นนี้ กรณีย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยกรอกข้อความแล้วยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงคำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการวิทยุคมนาคม ส่วนการพิจารณาอนุมัติสัญญาและเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้นถือเป็นการอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ยื่นขอใช้บริการ แม้ถึงจะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอของจำเลยโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก ส่วนการที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์แจ้งให้สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์เพื่อแจ้งให้จำเลยทราบอีกครั้งหนึ่งก็เป็นการแจ้งให้ทราบภายหลังจากสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลังทำสัญญาถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่า โจทก์จะต้องก่อสร้างผนังด้านหลังชั้น 2 กว้าง 10 เมตร สูง 7 เมตร ทำระเบียงชั้น 2 ด้านหน้า พร้อมทั้งเสาหินอ่อน 2 ต้น ขนาดกว้าง 10 เมตร สูง 3 เมตร โดยไม่คิดค่าแรงเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือระบุให้โจทก์กระทำการดังกล่าว จึงเป็นการกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้นอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การที่โจทก์หยุดการทำงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความผิดพลาดของเสมียนทนาย ไม่ถือเป็นเหตุให้ศาลต้องเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี
การที่เสมียนทนายโจทก์ไปยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไม่ทันเป็นผลให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง แต่เสมียนทนายกลับบอกความเท็จแก่ทนายโจทก์ว่าได้เลื่อนคดีเรียบร้อยแล้วนั้น เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวกันระหว่างทนายโจทก์กับเสมียนทนายอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่เรื่องศาลดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบที่จะขอเพิกถอนได้ ทั้งการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์ไม่มาศาลดังกล่าวเท่ากับว่าเป็นการอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและประสงค์ให้ศาลชั้นต้นนำคดีกลับมาพิจารณาต่อไปถือได้ว่าคำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำขอให้พิจารณาใหม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการวางค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จำเลยต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 กรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนจึงจะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12487/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครองและการครบกำหนดอายุความ 10 ปี
ที่ดินของจำเลยและที่ดินของมารดาและยายจำเลยตั้งอยู่ในละแวกเดียวกันเป็นแปลงใหญ่ จำเลยทราบดีว่า ท. ยายจำเลยขายฝากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่และเป็นที่ดินที่จำเลยได้ครอบครองทำกินอยู่ด้วยไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยคงทำกินอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมา ภายหลังจำเลยทราบด้วยว่า ท. ไม่ไถ่คืน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยก็ยังทำกินอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ตราบใดที่จำเลยมิได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือโดยบอกกล่าวต่อโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป ดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ฐานะการครอบครอบที่ดินพิพาทของจำเลยก็คงมีตามเดิมไม่อาจจะถือได้ว่าจำเลยครอบครองเพื่อตนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จนเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาทและจำเลยคัดค้านการรังวัด อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2537 จึงจะพอถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่ดินพิพาทนั้นแล้ว แต่เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีผลบังคับใช้ของสัญญาเช่าซื้อแม้มีข้อผิดพลาดในการส่งเอกสาร และการผูกพันตามสัญญาจากการรับประโยชน์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวโจทก์เพียงแต่มีภาระการพิสูจน์โดยนำพยานหลักฐานมานำสืบให้พอรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงน่าจะเป็นไปดังที่โจทก์ฟ้องก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจว่า อ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ มอบอำนาจให้พยานเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ ส่วนจำเลยทั้งสองไม่ได้สืบพยานหลักฐานหักล้างข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงเพียงพอให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่ทนายความโจทก์ยื่นหนังสือรับรองที่ไม่ปรากฏว่า อ. ผู้มอบอำนาจมีชื่อเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์นั้น ก็เป็นเพราะหนังสือรับรองฉบับนี้สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้หลังวันทำสัญญาเช่าซื้อ กรณีจึงเป็นข้อผิดพลาดในการอ้างส่งเอกสาร เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัด ย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9200/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเกินกำหนด: ศาลชั้นต้นมีอำนาจปฏิเสธการส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์บางส่วน จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นอุทธรณ์อย่างหนึ่งซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์คำสั่งแก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการตรวจและมีคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 232 นั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9200/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลเรื่องค่าธรรมเนียมศาลต้องทำภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน จำเลยที่ 3 มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลา 7 วันแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและอุทธรณ์คำสั่งเป็นอุทธรณ์อย่างหนึ่งซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์คำสั่งแก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการตรวจและมีคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 232 คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางค่าธรรมเนียมศาล ส่งผลต่อสิทธิในการอุทธรณ์และการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์แล้ว จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หากจำเลยยังติดใจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งกรณีดังกล่าวจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาศาล หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายดังกล่าว คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะต้องสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้สั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท สิทธิฟ้องระงับ - ยาเสพติด - การใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
เมทแอมเฟตามีนจำนวน 90 เม็ด เป็นเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในการตรวจค้นคราวเดียวกันกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 928/2541 ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 90 เม็ด ที่ซุกซ่อนอยู่ในถังน้ำซึ่งใช้ใส่ถ่านหุงข้าวในครัวของบ้านพักของจำเลยทั้งสองและพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ที่ตัวจำเลยที่ 1 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รับเอาเมทแอมเฟตามีนจำนวน 90 เม็ดและจำนวน 2 เม็ดไว้คนละคราวกัน จึงต้องถือว่าเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันซึ่งแยกเก็บไว้ในที่ต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่ 1 ของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
of 12