พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15187/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจล่วงหน้าและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเพิกถอนจำนอง
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้าไว้โดยมิได้มีการกรอกข้อความรายละเอียดลงไป แสดงว่าโจทก์รู้ดีและยอมรับอยู่แล้วว่าผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทจะสามารถนำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปกระทำการโอนขายต่อหรือจำนองหรือกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายหลังที่พ้นกำหนดข้อห้ามโอน 5 ปีนับแต่ออกเอกสาร น.ส.3 ก. แล้ว เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินโดยสุจริตจากผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทไปตามวิธีปฏิบัติดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้โจทก์มิต้องชำระหนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตสำคัญกว่าการปฏิบัติผิดระเบียบ การลักทรัพย์ต้องมีเจตนาเอาไปโดยทุจริต
องค์ประกอบเบื้องต้นในความผิดฐานลักทรัพย์ต้องได้ความว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบแต่เพียงว่า จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วม นำบัตรโทรศัพท์ของโจทก์ร่วมไปให้ ร. นำไปจำหน่ายตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 ถึงมีนาคม 2543 เป็นเงิน 1,240,000 บาท แล้วไม่นำเงินส่งคืนให้แก่โจทก์ร่วม โดยไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยนำบัตรโทรศัพท์ของโจทก์ร่วมไปให้ ร. จำหน่ายนั้นจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือสมคบกับ ร. กระทำการโดยทุจริตอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับผลประโยชน์อื่นใดจากการกระทำดังกล่าว จำเลยนำบัตรโทรศัพท์ของโจทก์ร่วมไปให้ใครจำหน่ายก็ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน เว้นแต่บัตรโทรศัพท์ที่นำไปจำหน่ายมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน อย่างไรก็ดี แม้จะฟังว่าการที่จำเลยนำบัตรโทรศัพท์ไปให้ ร. จำหน่ายโดยไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ร่วม จำเลยก็เพียงแต่ปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบที่โจทก์ร่วมวางไว้เท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต หากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยปฏิบัติงานไม่ถูกต้องหรือ ร. นำบัตรโทรศัพท์ไปจำหน่ายแล้วไม่ส่งเงินคืนโจทก์ร่วมก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมจะต้องว่ากล่าวในทางอื่นกับบุคคลทั้งสองต่อไป ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้โดยตัวแทนเชิดทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
ส. เป็นกรรมการซึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทจำเลยแล้วมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ แม้ ส. ไม่ได้ประทับตราของจำเลยในหนังสือที่ ส. มีไปถึงโจทก์ แต่หนังสือดังกล่าวมีชื่อจำเลยที่ด้านบนของกระดาษ ถือว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำของจำเลย ข้อความในหนังสือที่ว่าขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันการชำระค่าอุปกรณ์เป็นรายเดือนต่อไป จึงเป็นการกระทำการใดๆ ของจำเลยอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับตามสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยตัวแทนเชิดทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แม้ไม่มีตราบริษัท
ส. เป็นกรรมการมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยกระทำการแทนจำเลยได้ แม้ ส. ไม่ได้ประทับตราของจำเลย แต่หนังสือรับสภาพหนี้มีชื่อของจำเลยที่ด้านบนของกระดาษประกอบพฤติการณ์ของ ส. จึงถือว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย การที่ ส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ถึงโจทก์ ถือเป็นการกระทำของจำเลย หนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความตอนหนึ่งว่า "...ขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันชำระค่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นรายเดือนต่อไป" จึงเป็นการกระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่า ยอมรับตามสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ระบุในหนังสือรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องไม่เกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์ vs. แก้แค้นทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์: การพิจารณาความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะชิงทรัพย์ของผู้เสียหายมาแต่แรก แต่สาเหตุเนื่องจากผู้เสียหายกับจำเลยมีเรื่องวิวาทกันก่อน จำเลยสู้ไม่ได้จึงพาพรรคพวกคือ ส. และ ท. มารุมทำร้ายผู้เสียหายในภายหลัง ที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปน่าจะเป็นผลพลอยได้จากการที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บแล้วมากกว่า มิฉะนั้นจำเลยคงไม่พูดประโยคว่า "มึงทำกูเจ็บ ก็ต้องเอาของมึง" ซึ่งมีลักษณะเป็นการแก้แค้นจากการถูกผู้เสียหายทำร้ายมาก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่จอดรถส่วนบุคคลในอาคารชุด: การกระทำละเมิดและการชดใช้ค่าเสียหาย
ตามสัญญาขายห้องชุดระหว่างผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อระบุข้อความว่าขาย (ห้องชุด) พร้อมที่จอดรถ หมายเลข 538 - 540, 547 - 549 ของอาคารจอดรถจำนวน 5 คัน ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 10,014,333 บาท ถือได้ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดพร้อมที่จอดรถยนต์ตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 ซึ่งโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336
ที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดโดยสภาพย่อมถือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม จึงเป็นทรัพย์ส่วนกลางตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 แต่เมื่อสัญญาขายห้องชุดที่โจทก์ซื้อกรรมสิทธิ์มาระบุว่าขาย (ห้องชุด) พร้อมที่จอดรถ ที่จอดรถยนต์ตามที่ระบุไว้ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์พร้อมห้องชุดและไม่ถือเป็น "ทรัพย์ส่วนกลาง" ของอาคารชุดอีกต่อไป แต่ถือเป็น "ทรัพย์ส่วนบุคคล" ของโจทก์แล้ว จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่อาจออกระเบียบหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับที่จอดรถยนต์ดังกล่าวในภายหลังให้เป็นที่เสื่อมความสะดวกแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเกินกว่า 6 เดือน จำเลยก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก เมื่อจำเลยออกระเบียบห้ามมิให้โจทก์นำรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถยนต์ตามสัญญาขาย กระทั่งโจทก์ต้องนำรถยนต์ไปจอดในสถานที่อื่น จนต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น อันถือเป็นการขัดขวางสิทธิใช้สอยทรัพย์สินตามสัญญาขายห้องชุดของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 บัญญัติว่านิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว การที่จำเลยออกระเบียบกำหนดให้รถยนต์ที่จะเข้ามาจอดในอาคารจอดรถยนต์ของจำเลยจะต้องได้รับสติกเกอร์จากจำเลยเพื่อติดรถยนต์ก่อนอันเป็นการจัดการและดูแลทรัพย์สินส่วนกลางคือสถานที่จอดรถให้อยู่ในระเบียบเดียวกัน จำเลยย่อมสามารถกระทำได้ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการขอรับสติกเกอร์จอดรถยนต์ในอาคารจอดรถยนต์ ข้อ 1 แต่การที่จำเลยกำหนดในข้อ 2 ว่าเจ้าของร่วมผู้มีสิทธิในการขอรับสติกเกอร์ตามข้อ 1 จะต้องไม่ค้างชำระค่าส่วนกลางเกิน 6 เดือนนั้น ไม่สามารถกระทำได้ เพราะเรื่องการค้างชำระค่าส่วนกลางถือเป็นหนี้ที่จะต้องมีการฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย การออกระเบียบเช่นนี้ถือเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้สิทธิฟ้องร้องให้ถูกต้อง มีเจตนาที่จะบีบบังคับเอากับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยกำหนดจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ในการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้
ที่จอดรถยนต์ในอาคารชุดโดยสภาพย่อมถือเป็นทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม จึงเป็นทรัพย์ส่วนกลางตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 แต่เมื่อสัญญาขายห้องชุดที่โจทก์ซื้อกรรมสิทธิ์มาระบุว่าขาย (ห้องชุด) พร้อมที่จอดรถ ที่จอดรถยนต์ตามที่ระบุไว้ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์พร้อมห้องชุดและไม่ถือเป็น "ทรัพย์ส่วนกลาง" ของอาคารชุดอีกต่อไป แต่ถือเป็น "ทรัพย์ส่วนบุคคล" ของโจทก์แล้ว จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่อาจออกระเบียบหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับที่จอดรถยนต์ดังกล่าวในภายหลังให้เป็นที่เสื่อมความสะดวกแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเกินกว่า 6 เดือน จำเลยก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก เมื่อจำเลยออกระเบียบห้ามมิให้โจทก์นำรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถยนต์ตามสัญญาขาย กระทั่งโจทก์ต้องนำรถยนต์ไปจอดในสถานที่อื่น จนต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น อันถือเป็นการขัดขวางสิทธิใช้สอยทรัพย์สินตามสัญญาขายห้องชุดของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 บัญญัติว่านิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว การที่จำเลยออกระเบียบกำหนดให้รถยนต์ที่จะเข้ามาจอดในอาคารจอดรถยนต์ของจำเลยจะต้องได้รับสติกเกอร์จากจำเลยเพื่อติดรถยนต์ก่อนอันเป็นการจัดการและดูแลทรัพย์สินส่วนกลางคือสถานที่จอดรถให้อยู่ในระเบียบเดียวกัน จำเลยย่อมสามารถกระทำได้ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการขอรับสติกเกอร์จอดรถยนต์ในอาคารจอดรถยนต์ ข้อ 1 แต่การที่จำเลยกำหนดในข้อ 2 ว่าเจ้าของร่วมผู้มีสิทธิในการขอรับสติกเกอร์ตามข้อ 1 จะต้องไม่ค้างชำระค่าส่วนกลางเกิน 6 เดือนนั้น ไม่สามารถกระทำได้ เพราะเรื่องการค้างชำระค่าส่วนกลางถือเป็นหนี้ที่จะต้องมีการฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย การออกระเบียบเช่นนี้ถือเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้สิทธิฟ้องร้องให้ถูกต้อง มีเจตนาที่จะบีบบังคับเอากับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยกำหนดจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ในการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังว่าจำเลยเป็นผู้ลงมือ ศาลฎีกายกฟ้องทั้งคดีอาญาและข้อหาครอบครองอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืน ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นมาแม้จะต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่พอรับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและไม่ปรากฏว่ามีการยึดอาวุธปืนได้จากจำเลยเป็นของกลาง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกฟ้องในความผิดฐานนี้ได้ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ทั้งตามมาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยการงัดแงะและการคืนทรัพย์สินที่ผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 ให้จำเลยคืนแหวนทองคำ กำไลทองคำและสร้อยคำทองคำหรือใช้ราคา 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าได้รับเงิน 40,000 บาท จากจำเลยเพื่อใช้ค่าเสียหายและค่าทรัพย์สินที่ไม่ได้คืนแล้ว ผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (4) และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนเป็นเงิน 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากสูญหายจากความประมาทเลินเล่อของสหกรณ์ ถือเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ สหกรณ์ต้องชดใช้ดอกเบี้ย
ข้อบังคับและระเบียบสหกรณ์จำเลยว่าด้วยการรับเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ พ.ศ.2536 หมวด 3 ข้อ 11 ที่ว่ากรณีถอนเงินฝากประจำในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือน จำเลยจะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้ หมายถึงการฝากและถอนเงินในภาวะปกติ แต่กรณีของโจทก์เป็นเรื่องเงินฝากสูญหายไปจากบัญชีโดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ทั้งเป็นเรื่องการทุจริตภายในองค์ของจำเลย โดยความประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควรของจำเลยเอง เมื่อกรณีเป็นการฝากเงินที่ไม่ได้ตกลงกำหนดระยะเวลาคืนเงินกัน โจทก์ย่อมถอนเงินคืนเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยไม่คืนเงินฝากแก่โจทก์ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2544 จนถึงวันที่ 9 เมษายน 2544 จำเลยก็ยังไม่คืน ถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยให้ระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์จึงเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินฝากทั้งหมดเพื่อปิดบัญชี เพราะทราบว่าเงินฝากสูญหายไปจากบัญชีเงินฝาก ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญากับจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 แล้ว มีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และหากมีเงินอันจะต้องใช้คืนให้บวกดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามมาตรา 391 นอกจากจำเลยต้องคืนเงินฝากให้แก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5.25 ต่อปีนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7888/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา ฆ่าผู้อื่น - หลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้อง - ความผิดมีอาวุธปืน - มีอำนาจฟ้อง
ในกรณีการกระทำความผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน พนักงานสอบสวนหาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่เมื่อใดแจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีก พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ว่า ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไป และอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้จากที่บ้านของจำเลยที่ 2 อาวุธปืนดังกล่าวไม่มีเลขทะเบียนโดยถูกต้อง ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในข้อหานี้มาโดยตลอด เพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไปในทางสาธารณะนั้น จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีพยานคนใดยืนยันว่าจำเลยที่ 2 พาอาวุธของกลางดังกล่าวติดตัวไปในทางสาธารณะด้วยแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพข้อหานี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดในข้อหานี้
เจ้าพนักงานตำรวจยึดอาวุธปืนของกลางได้จากที่บ้านของจำเลยที่ 2 อาวุธปืนดังกล่าวไม่มีเลขทะเบียนโดยถูกต้อง ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในข้อหานี้มาโดยตลอด เพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไปในทางสาธารณะนั้น จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีพยานคนใดยืนยันว่าจำเลยที่ 2 พาอาวุธของกลางดังกล่าวติดตัวไปในทางสาธารณะด้วยแต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพข้อหานี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดในข้อหานี้