พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเลิกกันแล้ว ต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วน แต่ค่าเสียหายจากการขยายเวลาไม่คืน
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยประสงค์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาซื้อขายเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่สามารถชำระราคาและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาได้ โจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาตกลงขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป โดยโจทก์ทั้งสองยอมเสียค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือรวม 14 ครั้ง รวมเวลานับจากกำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกถึง 8 ปีเศษ แม้ตามสัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่า หากโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาที่เหลือหรือค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยผู้ขายตามกำหนด สัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันทีหรือจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่ตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นเห็นได้ว่า โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่การชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ดังนั้น การที่จำเลยจะใช้สิทธิเลิกสัญญาจึงต้องเป็นไปตามมาตรา 387 หากจำเลยต้องการเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชำระราคาที่ดินที่เหลือภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าโจทก์ทั้งสองไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 387 ซึ่งตามหนังสือบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลย จำเลยหาได้บอกกล่าวกำหนดเวลาให้โจทก์ทั้งสองนำเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือมาชำระให้แก่จำเลยเสียก่อนไม่ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสอง แต่การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย หนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ทั้งสองส่งให้แก่จำเลยโดยมีผู้รับแทนในวันที่ 8 กรกฎาคม 2541 จึงถือว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเลิกสัญญากันในวันดังกล่าว
เมื่อสัญญาจะซื้อขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไปตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินรวมทั้งเงินมัดจำที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ส่วนเงินค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปซึ่งคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยเป็นรายเดือนเรื่อยมานั้น หากมีการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทุกฉบับโดยครบถ้วน โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวนี้คืนจากจำเลยแต่อย่างใด เงินค่าตอบแทนดังกล่าวมิใช่เงินค่าที่ดินเพิ่ม แต่ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นไปแล้วเพื่อเป็นการตอบแทนการที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวคืนจากจำเลย
เมื่อสัญญาจะซื้อขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไปตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินรวมทั้งเงินมัดจำที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ส่วนเงินค่าตอบแทนในการขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปซึ่งคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ที่โจทก์ทั้งสองชำระให้แก่จำเลยเป็นรายเดือนเรื่อยมานั้น หากมีการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาทุกฉบับโดยครบถ้วน โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวนี้คืนจากจำเลยแต่อย่างใด เงินค่าตอบแทนดังกล่าวมิใช่เงินค่าที่ดินเพิ่ม แต่ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นไปแล้วเพื่อเป็นการตอบแทนการที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองขยายระยะเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไป ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าตอบแทนดังกล่าวคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15187/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจล่วงหน้าและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเพิกถอนจำนอง
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้าไว้โดยมิได้มีการกรอกข้อความรายละเอียดลงไป แสดงว่าโจทก์รู้ดีและยอมรับอยู่แล้วว่าผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทจะสามารถนำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปกระทำการโอนขายต่อหรือจำนองหรือกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายหลังที่พ้นกำหนดข้อห้ามโอน 5 ปีนับแต่ออกเอกสาร น.ส.3 ก. แล้ว เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินโดยสุจริตจากผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทไปตามวิธีปฏิบัติดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้โจทก์มิต้องชำระหนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8311-8312/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากจากทรัพย์มรดก: สิทธิทายาท & การแบ่งทรัพย์สิน
ผู้ร้องทั้งสองไม่มีหลักฐานเอกสารแสดงการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย ถึงแม้ผู้ร้องที่ 1 จะได้โอนที่ดินพร้อมบ้านไม้สองชั้น 2 คูหา ให้ผู้ร้องที่ 2 ไปแล้วก็เป็นเพียงการโอนไปซึ่งทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ในทรัพย์มรดกอื่นกลับไม่ปรากฏว่าผู้ร้องที่ 1 ได้จัดการประการใดหรือโอนให้จำเลยไป ดังนี้ เมื่อเงินฝากในบัญชีเงินฝากกึ่งหนึ่งยังเป็นของผู้ตาย ย่อมตกทอดไปยังจำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย จำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในเงินฝากดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการอายัดเงินดังกล่าวของพนักงานบังคับคดี
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการโดยทนายความที่มิได้รับมอบอำนาจในชั้นอุทธรณ์ ผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา และการแก้ไขโดยศาล
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดย ส. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ด้วย เท่ากับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้อำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แก่ ส. กรณีจึงถือว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจรับชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้อง หรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ศาลชั้นต้นหาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ กลับรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไว้ดำเนินการต่อมาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบและไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ไม่ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้แต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความของตนให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกาแล้วจึงไม่จำต้องดำเนินการแก้ไขในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วน, การยึดทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้าง, และเบี้ยประกันภัยหลังวันฟ้อง
สัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่งมีระยะเวลาที่แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัดมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายกำหนดกันไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
ตามสัญญากู้เงิน ข้อ 5 กำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดการเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองโดยผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ และในกรณีผู้กู้มิได้จัดทำประกันภัย แต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดทำประกันภัยแทนผู้กู้ ผู้กู้ยินยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมและเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้น กรณีดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่ที่โจทก์ขอมาตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้อง ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคตและจะถือว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ยังไม่ได้ จึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว
ตามสัญญากู้เงิน ข้อ 5 กำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดการเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองโดยผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ และในกรณีผู้กู้มิได้จัดทำประกันภัย แต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดทำประกันภัยแทนผู้กู้ ผู้กู้ยินยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมและเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้น กรณีดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่ที่โจทก์ขอมาตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้อง ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคตและจะถือว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ยังไม่ได้ จึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5893/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงความผิดจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ พร้อมล้างมลทินโทษจำคุกเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เมื่อความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งมีการใช้กำลังประทุษร้ายรวมด้วยอย่างหนึ่ง และแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก
เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานปล้นทรัพย์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องความผิดฐานปล้นทรัพย์ไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 และพวกไม่มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวของผู้เสียหายไปตั้งแต่เริ่มแรก แต่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์สินดังกล่าวหลังจากร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วอันเป็นการกระทำต่างวาระ จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และลักทรัพย์ รวม 2 กรรม ซึ่งลงโทษได้ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเพราะจำเลยทั้งสองเคยได้รับโทษจำคุกในคดีอื่นมาก่อน และภายในเวลา ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้ซ้ำอีกนั้น ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งต้องคำพิพากษาดังกล่าว โดยให้ถือว่าจำเลยทั้งสองมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน กรณีไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานปล้นทรัพย์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องความผิดฐานปล้นทรัพย์ไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 และพวกไม่มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวของผู้เสียหายไปตั้งแต่เริ่มแรก แต่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์สินดังกล่าวหลังจากร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วอันเป็นการกระทำต่างวาระ จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และลักทรัพย์ รวม 2 กรรม ซึ่งลงโทษได้ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเพราะจำเลยทั้งสองเคยได้รับโทษจำคุกในคดีอื่นมาก่อน และภายในเวลา ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้ซ้ำอีกนั้น ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งต้องคำพิพากษาดังกล่าว โดยให้ถือว่าจำเลยทั้งสองมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน กรณีไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตสำคัญกว่าการปฏิบัติผิดระเบียบ การลักทรัพย์ต้องมีเจตนาเอาไปโดยทุจริต
องค์ประกอบเบื้องต้นในความผิดฐานลักทรัพย์ต้องได้ความว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบแต่เพียงว่า จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ร่วม นำบัตรโทรศัพท์ของโจทก์ร่วมไปให้ ร. นำไปจำหน่ายตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 ถึงมีนาคม 2543 เป็นเงิน 1,240,000 บาท แล้วไม่นำเงินส่งคืนให้แก่โจทก์ร่วม โดยไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยนำบัตรโทรศัพท์ของโจทก์ร่วมไปให้ ร. จำหน่ายนั้นจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือสมคบกับ ร. กระทำการโดยทุจริตอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับผลประโยชน์อื่นใดจากการกระทำดังกล่าว จำเลยนำบัตรโทรศัพท์ของโจทก์ร่วมไปให้ใครจำหน่ายก็ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน เว้นแต่บัตรโทรศัพท์ที่นำไปจำหน่ายมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน อย่างไรก็ดี แม้จะฟังว่าการที่จำเลยนำบัตรโทรศัพท์ไปให้ ร. จำหน่ายโดยไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ร่วม จำเลยก็เพียงแต่ปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบที่โจทก์ร่วมวางไว้เท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต หากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยปฏิบัติงานไม่ถูกต้องหรือ ร. นำบัตรโทรศัพท์ไปจำหน่ายแล้วไม่ส่งเงินคืนโจทก์ร่วมก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมจะต้องว่ากล่าวในทางอื่นกับบุคคลทั้งสองต่อไป ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยตัวแทนเชิดทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แม้ไม่มีตราบริษัท
ส. เป็นกรรมการมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยกระทำการแทนจำเลยได้ แม้ ส. ไม่ได้ประทับตราของจำเลย แต่หนังสือรับสภาพหนี้มีชื่อของจำเลยที่ด้านบนของกระดาษประกอบพฤติการณ์ของ ส. จึงถือว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย การที่ ส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ถึงโจทก์ ถือเป็นการกระทำของจำเลย หนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความตอนหนึ่งว่า "...ขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันชำระค่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นรายเดือนต่อไป" จึงเป็นการกระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่า ยอมรับตามสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการยอมรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ระบุในหนังสือรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องไม่เกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้โดยตัวแทนเชิดทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
ส. เป็นกรรมการซึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทจำเลยแล้วมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ แม้ ส. ไม่ได้ประทับตราของจำเลยในหนังสือที่ ส. มีไปถึงโจทก์ แต่หนังสือดังกล่าวมีชื่อจำเลยที่ด้านบนของกระดาษ ถือว่า ส. เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยจึงเป็นการกระทำของจำเลย ข้อความในหนังสือที่ว่าขอความกรุณาจากท่านช่วยลดราคาลงให้อีกบ้างตามควร พร้อมทั้งขอผ่อนผันการชำระค่าอุปกรณ์เป็นรายเดือนต่อไป จึงเป็นการกระทำการใดๆ ของจำเลยอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับตามสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์ vs. แก้แค้นทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์: การพิจารณาความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะชิงทรัพย์ของผู้เสียหายมาแต่แรก แต่สาเหตุเนื่องจากผู้เสียหายกับจำเลยมีเรื่องวิวาทกันก่อน จำเลยสู้ไม่ได้จึงพาพรรคพวกคือ ส. และ ท. มารุมทำร้ายผู้เสียหายในภายหลัง ที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปน่าจะเป็นผลพลอยได้จากการที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บแล้วมากกว่า มิฉะนั้นจำเลยคงไม่พูดประโยคว่า "มึงทำกูเจ็บ ก็ต้องเอาของมึง" ซึ่งมีลักษณะเป็นการแก้แค้นจากการถูกผู้เสียหายทำร้ายมาก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ของผู้เสียหาย